โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

การดำเนินงาน

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

บริษัทฯ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าร่วมสนองพระราชดำริตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ตามกรอบดำเนินงานแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หกและดำเนินงาน " โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สนองพระราชดำริ โดย บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) " ปัจจุบัน บริษัทฯ ยังคงดำเนินงานสนองพระราชดำริอย่างต่อเนื่องตามกรอบแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด เพื่อร่วมสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

บริษัทฯ ได้ร่วมดำเนินงาน อพ.สธ. ภายใต้กรอบการสร้างจิตสำนึก ในกิจกรรมที่ 8 ว่าด้วยกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร ด้านการอบรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และการอบรมงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

  • เพื่อร่วมสืบสานพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
  • เพื่อร่วมสนองพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีในการจัดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของประเทศและท้องถิ่น
  • เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานของโครงการ อพ.สธ. เห็นความสำคัญและประโยชน์ของพันธุกรรมพืชและเกิดความหวงแหน ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ รู้จักการนำไปใช้ประโยชน์ ร่วมกัน อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

คณาจารย์จากมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่หน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมการสนองพระราชดำริกับโครงการ อพ.สธ. มีความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้อง และ สามารถนำไปสื่อสารเผยแพร่ให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติของประเทศร่วมกัน

การดำเนินกิจกรรม

การดำเนินงานสนองพระราชดำริโครงการ อพ.สธ. เป็นไปตามแผนแม่บทโครงการ โดยเริ่มดำเนินงานในแผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2564) ต่อเนื่องถึง แผนแม่บท อพ.สธ. ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2569) ตามกรอบแนวคิดทิศทางการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริในการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศ ไม่เฉพาะทรัพยากรพันธุกรรมพืชอย่างเดียว แต่หมายถึงทรัพยากร 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และมีแนวทางการดำเนินงาน โดยสรุป ประกอบด้วย 3 กรอบการดำเนินงาน 8 กิจกรรมดังนี้

กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร

1. กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร

2. กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร

3. กิจกรรมปกปักทรัพยากร

กรอบการใช้ประโยชน์

4. กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร

5. กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร

6. กิจกรรมวางแผนพัฒนาทรัพยากร

กรอบการสร้างจิตสำนึก

7. กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร

8. กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร

ผลการดำเนินงาน

ตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายใต้โครงการ อพ.สธ. บริษัทฯ ได้ส่งเสริมองค์ความรู้การดำเนินงาน ภายใต้กรอบการสร้างจิตสำนึก อพ.สธ. ผ่านการอบรม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนและขยายผลการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรของหน่วยงานนั้นๆ ใน 2 การดำเนินงานหลักของ อพ.สธ. ดังนี้

จัดอบรมปีละ 2 รุ่น
จำนวนรุ่นละ 50-80 คน

ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการและการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการสร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรของหน่วยงานนั้นๆ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมเป็นกลุ่มคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศูนย์แม่ข่ายประสานงาน/ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. และบุคคลที่สนใจจากทั่วประเทศ เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้คณะครู/อาจารย์ ในโรงเรียนต่างๆต่อไป ตลอดการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2567 ได้ดำเนินการจัดแล้วทั้งสิ้น จำนวน 11 รุ่น รวมผู้เข้าร่วมอบรม 754 คน

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
กิจกรรมอบรม เนื้อหาการอบรม สถานที่จัดอบรม จำนวนผู้เข้าอบรม (คน)
      2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 รวม(คน)
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับวิทยากรผู้ช่วย
  • ความรู้ภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการครอบคลุมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามแนวทางของ อพ.สธ. การบริหารและจัดการองค์ความรู้การพัฒนางานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนสู่การบูรณาการและการจัดการการเรียนรู้
  • ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
48         405
  • ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
  68        
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
    61      
  • ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
     
ระงับการจัดกิจกรรม
ระงับการจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
   
  • ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
        57  
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
79
  • เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเพื่อใช้ในการอนุรักษ์ และพัฒนาสู่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางการดำเนินงาน นโยบาย ทิศทาง และเป้าหมายของของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯรวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรของหน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ อพ.สธ. เพื่อเป็นวิทยกรประจำศูนย์ฝึกอบรม
  • หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
92
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (5 องค์ประกอบ)
  • ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดเก็บข้อมูล พันธุกรรมพืชและแนวทางการดำเนินงานตามรูปแบบของ อพ.สธ. ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยลงมือเก็บข้อมูลจริงในพื้นที่จำลองกระบวนการเก็บพันธุกรรมพืช และกรอกรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  • ศูนย์ประสานงานสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนภาคเหนือตอนบน โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
84         185
  • ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
    101      
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
     
ระงับการจัดกิจกรรม
ระงับการจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
   
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับวิทยากรผู้ช่วยเตรียมสอบ
  • ความรู้เกี่ยวกับหลักการดำเนินงานและแนวทางการสอบเพื่อเป็นวิทยากรผู้ช่วย โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและจัดทำสื่อวิดีทัศน์เสมือนเป็นวิทยากรจริง
  • ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
  44       44
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (3 สาระ)
  • ความรู้และหลักการในการออกแบบ การจัดการการเรียนรู้ ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงจากการศึกษาชีพลักษณ์ ความเกี่ยวข้องของสรรพชีวิต จนถึงการตระหนักถึงคุณค่า และการใช้ประโยชน์ทรัพยากร สำหรับนำไปถ่ายทอดได้อย่างถูกต้อง
  • ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
        60 60
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน (การสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น 9 ใบงาน)
  • ความรู้และวิธีการการสำรวจและจัดทำทรัพยากรในท้องถิ่น ด้วยการใช้ 9 ใบงาน (การเก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น ในท้องถิ่น การเก็บข้อมูลแหล่งทรัพยากรและโบราณคดีในท้องถิ่น
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
68 68
รวมจำนวนผู้เข้าร่วมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนแต่ละปี 132 112 162 - 117 144 92 759
จัดอบรมปีละ 2 รุ่น
จำนวนรุ่นละ 50-80 คน

ให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการและการสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาสร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรของหน่วยงานนั้นๆ โดยมีผู้เข้ารับการอบรม เป็นกลุ่มคณาจารย์ จากมหาวิทยาลัยศูนย์แม่ข่ายประสานงาน/ศูนย์ประสานงาน อพ.สร. และบุคคลที่สนใจจากทั่วประเทศ เพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้คณะครู/อาจารย์ ในโรงเรียนต่าง ๆ ต่อไป ตลอดการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ.2561-2566 ได้ดำเนินการจัดแล้วทั้งสิ้น จำนวน 11 รุ่นรวมผู้เข้าร่วมอบรม 726 คน

งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
กิจกรรมอบรม เนื้อหาการอบรม สถานที่จัดอบรม จำนวนผู้เข้าอบรม (คน)
      2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567 รวม(คน)
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น (6 งาน)
  • ความรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติครอบคลุม แนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทาง อพ.สธ. งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น งาน ปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น และงานสนับสนุนการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
  • ศูนย์ฝึกอบรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
80         331
  • ศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    115      
  • ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
     
ระงับการจัดกิจกรรม
ระงับการจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
75  
  • ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
61
  • การฝึกอบรมงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น สำหรับวิทยากรผู้ช่วย
  • ความรู้ภาคทฤษฎีและการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ปฏิบัติการภาคสนาม ครอบคลุมแนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของ อพ.สธ.
  • สวนสัตว์อุบลราชธานี ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
40         276
  • ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  64        
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
    53      
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ม.ราชภัฏอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
     
ระงับการจัดกิจกรรม
ระงับการจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
   
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
        50  
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
        69  
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น สำหรับวิทยากรผู้ช่วยเตรียมสอบ
  • ความรู้วิชาการตามหลักการตอบสนองงานพระราชดำริของโครงการและภาคปฏิบัติ โดยลงพื้นที่ในบริเวณสถานที่ฝึกอบรม เพื่อใช้สิ่งแวดล้อมรอบตัวมาเป็นข้อมูลและจัดทำสื่อวิดีทัศน์ นำเสนอในฐานะวิทยากร เนื้อหาการอบรมส่วนใหญ่เน้นแนวทางข้อสอบที่ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเจอในการเป็นวิทยากรผู้ช่วย
  • ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันออก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
  55       55
  • กิจกรรมอบรมปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น สำหรับ วิทยากรผู้ช่วย เครื่องมือ 7 มือ เพื่อการจัดการข้อมูลชุมชน
  • เรียนรู้ความรู้ภาคทฤษฎีและการลงปฏิบัติการภาคสนามจากแหล่งเรียนรู้(ชุมชน) โดยการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการเก็บ บันทึก และวิเคราะห์ชุมชน เพื่อให้ ครอบคลุมแนวทางและเชื่อมโยงกับการดำเนินงานงานฐานข้อมูลฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของ อพ.สธ.
  • ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. ม.ราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
        64 64
รวมจำนวนผู้เข้าร่วมงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นแต่ละปี 120 119 168 - 125 125 69 726

ข่าวสารกิจกรรม

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)

เอกสารโครงการ

กรอบแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่หก

pdf
88 KB

กรอบแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่เจ็ด

pdf
88 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2568

pdf
61 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2567

pdf
59 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2566

pdf
62 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2565

pdf
55 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2564

pdf
53 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2563

pdf
55 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2562

pdf
55 KB

แผนการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2561

pdf
55 KB

ผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2566

pdf
2.10 MB

ผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2565

pdf
2.72 MB

ผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2564

pdf
322 KB

ผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2563

pdf
4.76 MB

ผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2562

pdf
3.51 MB

ผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปี 2561

pdf
1.92 MB