บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการทรัพยากรบุคคล และกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทนของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ตามรายชื่อข้างท้ายนี้ โดยมีนายนวพล ดิษเสถียร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร ทำหน้าที่เลขานุการ

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
11 กรกฎาคม 2563
คุณวุฒิทางการศึกษา
- เนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ 33 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP 47/2021)
- หลักสูตร Ethical Leadership Program (ELP 23/2021)
- หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP 66/2007)
ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ
- หลักสูตรวุฒิบัตร การกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกำกับดูแล (Regulator) รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 21 สถาบันพระปกเกล้า
ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) และ/หรือ ตำแหน่งสำคัญ
- 2562 - 2564 กรรมการธนาคาร กรรมการบริหาร ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME)
- 2561 - 2562 กรรมการอิสระ และกรรมการการตรวจสอบ บริษัท พรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน)
- 2560 - 2562 อนุกรรมการกฎหมาย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- 2559 - 2562 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME)
การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน
- 2564 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท แปซิฟิก ไพพ์ จำกัด (มหาชน)
- 2550 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระ และประธานกรรมการการสรรหาค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล บริษัท แปซิฟิก ไพพ์ จำกัด (มหาชน)
การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน
- 2564 - ปัจจุบัน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารหนี้ NPLs ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME)
- 2562 - ปัจจุบัน อนุกรรมการกฎหมาย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- 2561 - ปัจจุบัน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- 2544 - ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิฆเณศทนายความ จำกัด

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
18 กุมภาพันธ์ 2562
คุณวุฒิทางการศึกษา
- Master of Arts, Urban Studies, Long Island University สหรัฐอเมริกา
- ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- หลักสูตร Risk Management Program for Corporate Leaders (RCL 26/2022)
- หลักสูตร Board Nomination and Compensation Program (BNCP 13/2022)
- หลักสูตร Director Certification Program (DCP 248/2017)
ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 61 ปี 2561 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 7 ปี 2558 สถาบันวิทยาการพลังงาน
- หลักสูตรวุฒิบัตร การกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกำกับดูแล (Regulator) รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 10 ปี 2555 สถาบันพระปกเกล้า
- หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-GEP) รุ่นที่ 2 ปี 2553 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
- หลักสูตรสร้างความเข้มแข็งผู้ตรวจราชการกระทรวง ปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
- หลักสูตรนักบริหารระดับสูง: ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1) รุ่นที่ 66 ปี 2552 สำนักงาน ก.พ.
ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) และ/หรือ ตำแหน่งสำคัญ
- 2563 - 18 มี.ค. 2565 อนุกรรมการกำหนดเกณฑ์และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ กฟผ.
- 26 ก.พ. - 4 ธ.ค. 2563 ประธานกรรมการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ.
- 2560 - 2561 รองปลัดกระทรวงพลังงาน
- 2552 - 2560 ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน
การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน
- ไม่มี
การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน
- 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ กฟผ.
- 2562 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม กฟผ.
- 2562 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการสรรหารองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.
- 2562 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ.
- 2561 - ปัจจุบัน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
หมายเหตุ: กฟผ. ย่อมาจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
27 เมษายน 2565
คุณวุฒิทางการศึกษา
- Master of Engineering, Applied Electronics, Tokyo Institute of Technology, ประเทศญี่ปุ่น
- Bachelor of Engineering, Electronical Engineering, Tokyo Institute of Technology, ประเทศญี่ปุ่น
ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- ไม่มี
ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ
- หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 24 ปี 2563 สถาบันพระปกเกล้า
- หลักสูตรผู้บริหารงานด้านกฎหมายภาครัฐระดับสูง รุ่นที่ 8 ปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ปี 2560 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) และ/หรือ ตำแหน่งสำคัญ
- 2561 - 2562 ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
- 2560 - 2561 รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อก.
- 2555 - 2560 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อก.
การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน
- ไม่มี
การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน
- 2564 - ปัจจุบัน ประธานคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Center of Robotic Excellence: CoRE), อก.
รองประธานคณะกรรมการนโยบายอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัติโนมัติ (Steering Committee), อก.
กรรมการคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย กระทรวงมหาดไทย
ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy), อก.
ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy), อก. - 2563 - ปัจจุบัน รองประธานคณะกรรมการบริหารการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จากภาคอุตสาหกรรม อก.
รองประธานคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหากากอุตสาหกรรม อก.
กรรมการคณะกรรมการกำกับดูแลและคณะกรรมการบริหารสัญญา (โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1) สำนักนายกรัฐมนตรี - 2562 - ปัจจุบัน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อก.
ประธานคณะกรรมการแร่ อก.
ประธานคณะอนุกรรมการของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ อก.
ประธานคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ อก.
รองประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านต่างประเทศ อก.
รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว อก.
กรรมการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กระทรวงพาณิชย์
กรรมการบริษัทฝ่ายราชการ บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด - 2561 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย
ที่ปรึกษากลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทนรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรง และมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรบุคคลและค่าตอบแทนสำหรับคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และผู้บริหารระดับสูง (หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่) ของกลุ่มบริษัทฯ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน
- กำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรบุคคล และแผนพัฒนาผู้บริหารของกลุ่มบริษัทฯ
- ดูแลให้คณะกรรมการของกลุ่มบริษัทฯ มีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึงให้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
- กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการที่ชัดเจน โปร่งใส เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ในการสรรหา ถอดถอน หรือเลิกจ้าง กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการของกลุ่มบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ เพื่อให้กลุ่มบริษัทฯ มีคณะผู้บริหารที่มีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถที่เหมาะสม และประสบการณ์ในการดำเนินกิจการของกลุ่มบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ
- คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทฯ โดยให้เชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านร่วมในกระบวนการสรรหาตามความจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ
- จัดให้มีแผนสืบทอดตำแหน่งบริหารที่สำคัญ และให้มีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ โดยประเมินความสำคัญของตำแหน่ง สรรหา และพัฒนา เพื่อให้มีผู้สืบทอดตำแหน่งบริหารที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และคุณสมบัติอื่นที่ตรงตามความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เพื่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการเติบโตของกลุ่มบริษัทฯ
- กำหนดนโยบายและกลยุทธ์การจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งได้แก่ เงินเดือน เบี้ยประชุม เบี้ยเลี้ยง โบนัส หรือผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะอื่นๆ รวมถึงจำนวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ให้แก่กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการของกลุ่มบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โปร่งใส และเหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบ และอิงกับผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถชักนำ รักษาไว้ และจูงใจบุคลากรที่มีศักยภาพสูงและคุณสมบัติตามที่ต้องการ
- กำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ และกระบวนการที่มีประสิทธิผลในการประเมินผลงานของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทฯ โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายประจำปีที่เกี่ยวโยงกับแผนธุรกิจที่ร่วมกันกำหนดไว้ เพื่อพิจารณาปรับผลตอบแทนประจำปี โดยจะต้องคำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มของส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาวประกอบการพิจารณาประเมินผลด้วย
- เปิดเผยนโยบายเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งจำนวนค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ