บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ตามรายชื่อข้างท้ายนี้ โดยมีนายไพโรจน์ จันทร์จุงจิตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบ ทำหน้าที่เลขานุการ

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
18 กุมภาพันธ์ 2562
คุณวุฒิทางการศึกษา
- Master of Arts, Urban Studies, Long Island University สหรัฐอเมริกา
- ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- หลักสูตร Risk Management Program for Corporate Leaders (RCL 26/2022)
- หลักสูตร Board Nomination and Compensation Program (BNCP 13/2022)
- หลักสูตร Director Certification Program (DCP 248/2017)
ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ
- หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 61 ปี 2561 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
- หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 7 ปี 2558 สถาบันวิทยาการพลังงาน
- หลักสูตรวุฒิบัตร การกำกับดูแลกิจการสำหรับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงขององค์กรกำกับดูแล (Regulator) รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน รุ่นที่ 10 ปี 2555 สถาบันพระปกเกล้า
- หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-GEP) รุ่นที่ 2 ปี 2553 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
- หลักสูตรสร้างความเข้มแข็งผู้ตรวจราชการกระทรวง ปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
- หลักสูตรนักบริหารระดับสูง: ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.1) รุ่นที่ 66 ปี 2552 สำนักงาน ก.พ.
ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี (2560-2564) และ/หรือ ตำแหน่งสำคัญ
- 2563 - 18 มี.ค. 2565 อนุกรรมการกำหนดเกณฑ์และประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ กฟผ.
- 26 ก.พ. - 4 ธ.ค. 2563 ประธานกรรมการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ.
- 2560 - 2561 รองปลัดกระทรวงพลังงาน
- 2552 - 2560 ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน
การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน
- ไม่มี
การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน
- 2562 - ปัจจุบัน กรรมการ กฟผ.
- 2562 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม กฟผ.
- 2562 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการสรรหารองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ.
- 2562 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ.
- 2561 - ปัจจุบัน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
หมายเหตุ: กฟผ. ย่อมาจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

วันที่เริ่มดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
6 เมษายน 2564
คุณวุฒิทางการศึกษา
- วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (นิวเคลียร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโลหการ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- หลักสูตร Successful Formulation & Execution of Strategy (SFE 38/2022)
- หลักสูตร Risk Management Program for Corporate Leaders (RCL 16/2019)
- หลักสูตร Director Certification Program (DCP 186/2014)
ประวัติการอบรม/สัมมนาที่สำคัญอื่นๆ
- หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน ปี 2556 สถาบันพระปกเกล้า
- หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข ปี 2554 สถาบันพระปกเกล้า
- หลักสูตร Senior Executive Development Program-2 มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
- หลักสูตร Masterful Coaching Workshop, Hay Group
- EGAT Newly-Promoted Executive Orientation Program (ENOP)
- EGAT Senior Executive Program (ESEP)
- EGAT Director Development Program (EDDP)
- EGAT Successor Development Program (ESDP)
ประสบการณ์การทำงานย้อนหลัง 5 ปี และ / หรือ ตำแหน่งสำคัญ
- 2561 - 2563 กรรมการอิสระ กรรมการกลั่นกรองการลงทุน และกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- 2560 - 2562 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล กระทรวงพลังงาน
- 2556 - 2559 รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ.
- 2553 - 2556 ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมโรงไฟฟ้า กฟผ.
การดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นในปัจจุบัน
- ไม่มี
การดำรงตำแหน่งในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียนในปัจจุบัน
- ไม่มี
หมายเหตุ: กฟผ. ย่อมาจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กรรมการบริหารความเสี่ยงมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการบริหารความเสี่ยงซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรง และมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
- พิจารณากลั่นกรองนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของบริษัทฯ ซึ่งครอบคลุมถึงความเสี่ยงประเภทต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านการลงทุน และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ เป็นต้น เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความเห็นชอบ
- กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง โดยสามารถประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ดูแลและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงภายใต้แนวทางและนโยบายที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ
- กำหนดเกณฑ์วัดความเสี่ยงและเพดานความเสี่ยงที่บริษัทฯ จะยอมรับได้
- กำหนดมาตรการที่จะใช้ในการจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมต่อสภาวการณ์
- ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยง โดยรวมถึงความมีประสิทธิผลของระบบและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด
- รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการบริหาร การดำเนินงาน และสถานะความเสี่ยงของบริษัทฯ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่กำหนด
- จัดให้มีคณะทำงานบริหารความเสี่ยงตามความจำเป็น
- สนับสนุนคณะทำงานบริหารความเสี่ยงในด้านบุคลากร งบประมาณ และทรัพยากรอื่นที่จำเป็น ให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบ