พลังงานไฟฟ้าถือเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าตามสัญญาซื้อขายที่ได้ตกลงระหว่างกัน รวมทั้งยังรักษาประสิทธิภาพการผลิตให้การใช้พลังงานเกิดประโยชน์สูงสุด และจัดการผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างดีที่สุด เพื่อให้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตและจำหน่ายให้แก่ลูกค้ามีคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทฯ ได้มีการกำหนดแนวปฎิบัติต่อลูกค้าไว้ในจรรยาบรรณบริษัทฯ ดังนี้
แนวปฎิบัติต่อลูกค้าตามจรรยาบรรณบริษัทฯ |
- ผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและความรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยมุ่งมั่นจะยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- จัดให้มีระบบและกระบวนการเพื่อให้ลูกค้าสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้แจ้งลูกค้าเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
- ผลิตสินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
- รักษาความลับของลูกค้า และไม่นำความลับของลูกค้าไปใช้ประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
- เปิดเผยข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
- ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับลูกค้า
|
แนวทางการดำเนินงาน |
- หารือแนวทางและแผนงานการผลิตพลังงาน รวมทั้งความต้องการของลูกค้าเป็นประจำและต่อเนื่อง
- ดูแลความพร้อมจ่ายและความเชื่อถือได้ของโรงไฟฟ้า รวมถึงอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ให้ได้ตามสัญญา
- เตรียมความพร้อมของโรงไฟฟ้าด้วยการบำรุงรักษาที่มีคุณภาพตามแผนงาน เพื่อให้ผลิตพลังงานให้ได้ตามที่ลูกค้าสั่งการ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
- ผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยกระบวนการที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรการ EIA รวมทั้งจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกเพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และจัดทำเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก
- ดำเนินธุรกิจร่วมกับลูกค้า ด้วยการรักษาความลับ ไม่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์กรณีจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลหรือดำเนินการตามข้อกฎหมาย จะแจ้งและขออนุญาตจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
- จัดให้มีการสื่อสารและช่องทางที่เปิดโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ แจ้งให้ทราบประเด็นปัญหา รวมทั้งร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
- สำรวจระดับความพึงพอใจของลูกค้า และนำข้อเสนอแนะไปดำเนินการปรับปรุงให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงาน
|
เป้าหมาย |
ผลการดำเนินงานปี 2564 |
ด้านเศรษฐกิจ |
- การส่งมอบไฟฟ้าให้ลูกค้าครบถ้วนตามเงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
- ค่าความพร้อมจ่าย (EAF) และอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ของโรงไฟฟ้าตามข้อกำหนดของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
- กำหนดเพดานค่าปรับกรณีไม่สามารถส่งมอบไฟฟ้าได้ตามสัญญา
|
- โรงไฟฟ้าสามารถส่งมอบพลังงานไฟฟ้าให้ลูกค้าได้ครบถ้วนตามจำนวนชั่วโมงความพร้อมจ่ายที่กำหนดไว้ในสัญญา (Contracted Availability Hour: CAH)
- ค่าความพร้อมจ่าย (EAF) และอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ของโรงไฟฟ้าดีกว่าเป้าหมายที่กำหนด
- อัตราค่าปรับเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าราชบุรีดีกว่าเป้าหมายรายปีที่กำหนดไว้
|
ด้านสิ่งแวดล้อม |
- ค่าการปล่อยมลสารจากการผลิตเป็นไปตามเป้าหมาย คือ อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
|
- ปริมาณการปล่อยมลสารจากกระบวนการผลิตมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกฎหมายและข้อกำหนดของ EIA ทั้งหมด
|
ด้านสังคม |
- ไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชนเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนของการผลิตไฟฟ้า
- ไม่เกิดข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดข้อตกลงการรักษาข้อมูลความลับ
|
- ไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากชุมชนโดยรอบโครงการ
- ไม่มีข้อร้องเรียนการละเมิดข้อตกลงการรักษาข้อมูลความลับจากลูกค้า
|
แนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า
การบริหารงานก่อสร้างโครงการ
บริษัทฯ มีสายงานพัฒนาโครงการทำหน้าที่บริหารและติดตามโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีการกำกับดูแลและติดตามความก้าวหน้าของงานเทียบกับแผนงาน การบริหารงบประมาณ การประเมินความเสี่ยง เงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อบริหารงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จ รวมทั้งทดสอบส่งมอบเครื่องจักรอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าให้ได้ตามที่ออกแบบไว้ เพื่อเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ส่งมอบพลังงาน (สินค้า) ให้แก่ลูกค้าได้ทันตามกำหนดเวลาสัญญา ในปี 2564 มีโรงไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างรวม 1,003.06 เมกะวัตต์
การบริหารสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าทุกแห่งของบริษัทฯ มุ่งเน้นการบริหารสัญญาซื้อขายเพื่อส่งมอบสินค้าทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ลูกค้าโดย กฟผ. ถือเป็นลูกค้ารับซื้อไฟฟ้ารายใหญ่ มีสัดส่วนไฟฟ้าถึงร้อยละ 78 ของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจำหน่ายทั้งหมด โครงสร้างรายได้ของพลังงานที่จำหน่ายให้แก่ กฟผ. แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
- ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Availability Payment) ด้วยการเตรียมโรงไฟฟ้าให้มีความพร้อมในการผลิตให้ได้ตามคำสั่งการ
- ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment) ด้วยการดูแลประสิทธิภาพการผลิตให้ใช้เชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้ความร้อนได้ตามเงื่อนไขของสัญญา
ประเด็นการติดตามประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า
ความพร้อมจ่าย
(Availability) |
ความเชื่อถือได้ของโรงไฟฟ้า
(Reliability) |
อัตราการใช้ความร้อน
(Heat Rate) |
- เป็นประเด็นสำคัญต่อความพึงพอใจของลูกค้า
- กำหนดเป้าหมายความพร้อมจ่าย (Target Availability) ให้สอดคล้องกับจำนวนชั่วโมงความพร้อมจ่ายที่กำหนดไว้ในสัญญา (Contracted Availability Hour: CAH)
- หากไม่สามารถดำรงความพร้อมจ่ายได้ตามสัญญา โรงไฟฟ้าจะต้องถูกปรับจากลูกค้า
|
- กำหนดค่าความเชื่อถือได้ของโรงไฟฟ้าคือ จำนวนชั่วโมงที่โรงไฟฟ้าพร้อมเดินเครื่องกับชั่วโมงที่โรงไฟฟ้าหยุดซ่อมนอกแผน
- สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจะระบุชั่วโมงการหยุดนอกแผน (Unplanned Outage Hour) ของโรงไฟฟ้าไว้ร้อยละ 3-5 ของจำนวนชั่วโมงความพร้อมจ่าย
- ชั่วโมงการหยุดนอกแผน (ตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้า)
|
- อัตราการใช้ความร้อนเป็นการสะท้อนต้นทุนค่าไฟฟ้าของลูกค้า
- กำหนดอัตราการใช้ความร้อน (ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้) ไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
- อัตราการใช้ความร้อนต่ำ แสดงว่าประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้านั้นดี
- ดูแลประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ใช้เชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่า
|
การจัดการบทปรับ
ค่าปรับ สะท้อนถึงความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งจะบ่งบอกถึงการบริหารจัดการและควบคุมประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าไม่ให้มีชั่วโมงการหยุดเดินเครื่องนอกแผนการซ่อมบำรุงมากกว่าที่สัญญาระบุไว้ หรือส่งผลต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหรือการผลิตของลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดบทปรับ
บทปรับในกรณีที่โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ไม่สามารถผลิตและส่งมอบไฟฟ้าได้ตามเงื่อนไข มาจาก 3 เหตุปัจจัยคือ
- ความพร้อมจ่ายลดลง
- ลดความพร้อมจ่ายโดยไม่แจ้งให้ลูกค้าทราบ
- เกิดความล้มเหลวในการจ่ายพลังงานไฟฟ้า (หยุดเดินเครื่องกะทันหัน)
ในปี 2564 โรงไฟฟ้าราชบุรีได้ประเมินประสิทธิภาพการผลิตของโรงไฟฟ้าราชบุรี โดยพิจารณาจากสมรรถนะของเครื่องจักรและอุปกรณ์สำคัญในการผลิตตามอายุการใช้งาน และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของความพร้อมจ่ายสูงสุดของโรงไฟฟ้า จึงได้กำหนดเพดานของบทปรับจำกัดไว้ไม่เกินร้อยละ 0.64 ของค่าความพร้อมจ่ายคาดหมายประจำปี
การดำเนินงานในปี 2564 สามารถบริหารประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าให้ดำรงความพร้อมจ่ายไว้ได้ตามเป้าหมาย ทำให้ค่าปรับอยู่ในวงจำกัดตามเป้าหมาย
การสื่อสารและการมีส่วนร่วมของลูกค้า
กลุ่มโรงไฟฟ้าของบริษัทฯ กำหนดให้มีการประชุมกับลูกค้าเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความเห็น รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีต่อการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของลูกค้า รวมทั้งทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างทันท่วงที กรณีเป็นการปรับปรุงแก้ไขการทำงานในระยะยาวจะร่วมกันหาข้อสรุปและกำหนดแนวทางเป็นวิธีปฏิบัติสำหรับการเดินเครื่องในกรณีต่าง ๆ ให้ตรงความคาดหวังของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
วิธี / รูปแบบ |
ลูกค้า / ผู้มีส่วนได้เสีย |
ความถี่ |
ประเด็นสำคัญปี 2564 / เป้าหมาย |
โรงไฟฟ้าราชบุรี |
ประชุม |
ระดับบริหารของ กฟผ. |
ปีละ 6 ครั้ง ขึ้นไป (ขึ้นกับ ประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี) |
ปรึกษาหารือประเด็นในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และแนวทางการสั่งเดินเครื่องให้มีความชัดเจน รวมถึงมีความเข้าใจตรงกัน |
ลูกค้าระดับปฏิบัติการ |
ปีละ 6 ครั้ง ขึ้นไป (ขึ้นกับประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี) |
การสัมมนา |
ลูกค้าและคู่ค้า |
งดจัดกิจกรรม เนื่องด้วยสถานการณ์
โควิด-19 |
แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร และการวางแผนการผลิต |
กิจกรรมสังคม |
ลูกค้าระดับบริหารและปฏิบัติการ |
เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีและเสริมสร้างความใกล้ชิดของทีมงานผ่านกิจกรรมนอกการทำงาน |
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร |
ประชุม |
ระดับบริหารของ กฟผ. |
ปีละ 1 ครั้ง ขึ้นไป (ขึ้นกับ ประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี) |
ปรึกษาหารือประเด็นปัญหาด้านสัญญา และแนวทางปรับปรุงพัฒนาการผลิตให้ดียิ่งขึ้น |
ระดับบริหารของลูกค้าอุตสาหกรรม |
ปีละ 2 ครั้ง ขึ้นไป (ขึ้นกับ ประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี) |
ปรึกษาหารือประเด็นปัญหาและรับทราบความต้องการเพื่อหาแนวทางปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น |
ประชุม |
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. |
เดือนละ 1 ครั้ง ขึ้นไป (ขึ้นกับ ประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี) |
ปรึกษาหารือเพื่อทำความเข้าใจข้อตกลงในการปฏิบัติตามสัญญา |
ระดับปฏิบัติการของลูกค้าอุตสาหกรรม |
ปีละ 4 ครั้ง ขึ้นไป (ขึ้นกับ ประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี) |
ปรึกษาหารือเพื่อทำความเข้าใจข้อตกลงในการปฏิบัติตามสัญญา |
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น |
ประชุม |
ระดับบริหารของ กฟผ. |
ปีละ 1 ครั้ง |
หารือเกี่ยวกับแผนการผลิตและส่งไฟฟ้าปี 2564 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำไปใช้วางแผนและปฏิบัติการด้านการผลิตและส่งไฟฟ้า |
ระดับบริหารของลูกค้าอุตสาหกรรม |
หารือเกี่ยวกับมาตรการจ่ายไฟฟ้าและไอน้ำ |
ประชุม |
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. |
ประชุมมาตรการลดแรงดันไฟฟ้าในระบบส่งในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ 2565 |
ระดับปฏิบัติการของลูกค้าอุตสาหกรรม |
หารือถึงแผนซื้อขายไฟฟ้าและไอน้ำและแผนการหยุดซ่อมของลูกค้า |
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น |
ประชุม |
ระดับบริหารของ กฟผ. |
ประชุม |
ปรึกษาหารือประเด็นปัญหาต่าง ๆ และแนวทางปรับปรุงพัฒนาการผลิตให้ดียิ่งขึ้น |
ระดับบริหารของลูกค้าอุตสาหกรรม |
เดือนละ 1 ครั้ง |
ปรึกษาหารือประเด็นปัญหาต่าง ๆ และแนวทางปรับปรุงพัฒนาการผลิตให้ดียิ่งขึ้น |
ประชุม |
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. |
ปีละ 2 ครั้ง |
ปรึกษาหารือเพื่อทำความเข้าใจข้อตกลง ในการปฏิบัติตามสัญญา |
ระดับปฏิบัติการของลูกค้าอุตสาหกรรม |
เดือนละ 1 ครั้ง |
ปรึกษาหารือเพื่อทำความเข้าใจข้อตกลง ในการปฏิบัติตามสัญญา |