การติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์
กลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ บริษัทฯ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น ได้ติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ข้อกำหนดการคำนวณและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยเพิ่มการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกประเภทที่ 3 และจะปรับใช้ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนี้เป็นปีฐาน เนื่องจากข้อมูลครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น ๆ ทั้งในฝั่งต้นน้ำ (Upstream) และปลายน้ำ (Downstream) นอกเหนือจากการปล่อยทางตรงจากการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มบริษัทฯ ด้วย
ทั้งนี้ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ปี 2562 และ 2563 ของโรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น และอาคารราชกรุ๊ป ได้รับการรับรองจาก อบก. แล้ว สำหรับข้อมูลปี 2564 จะยื่นขอการรับรองจาก อบก. ในปี 2565
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (tCO2e ) |
การประเมินคาร์บอน ฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO) |
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (ขอบเขตที่ 1)
- การใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
- การใช้เชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
- การใช้หินปูนในระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
- การรั่วไหลของก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และสารหล่อเย็น
|
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2)
- การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง
|
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ขอบเขตที่ 3)
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต้นน้ำ
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งปลายน้ำ
|
ปี |
(ปีฐาน) |
2562 |
2563 |
2564* |
(ปีฐาน) |
2562 |
2563 |
2564* |
2563 |
2564 |
โรงไฟฟ้าราชบุรี |
7,128,375 (2558) |
5,201,346 |
4,997,704 |
4,950,948 |
27,702 (2558) |
24,090 |
18,837 |
28,131 |
- |
1,769,980 |
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น |
- |
- |
313,927 |
300,110 |
- |
- |
25 |
1,069 |
3,131 |
88,841 |
อาคาร RATCH Group |
73
(2561) |
69 |
664 |
43 |
1,110 (2561) |
1,084 |
888 |
813 |
- |
36 |
หมายเหตุ: * ข้อมูลอยู่ระหว่างการทวนสอบ
สำหรับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงไฟฟ้าราชบุรีในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี ได้รับคำสั่งให้เดินเครื่องด้วยน้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงเป็นจำนวน 161 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 และร้อยละ 76 เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมาและปีฐาน 2558 ตามลำดับ
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 ต่อปริมาณพลังงานไฟฟ้าสุทธิของโรงไฟฟ้าราชบุรีในปีนี้มีค่าเท่ากับ 0.4122 ขณะที่ปีฐานมีค่าเท่ากับ 0.4567 tCO2e ต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง และเมื่อเปรียบเทียบกับปีฐานพบว่า มีค่าต่ำกว่า คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 2,177,373 tCO2e
สำหรับข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ดังกล่าวนี้ จะนำไปใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์และจัดทำแผนที่นำทางและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัทในภาพรวม ซึ่งจะดำเนินการในปี 2565
การลดก๊าซเรือนกระจกด้วยพลังงานทดแทน
ในปี 2564 บริษัทฯ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าสุทธิจากแหล่งพลังงานทดแทนได้รวม 7,247,621 เมกะวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4,268,513 tCO2e หรือร้อยละ 24 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แหล่งพลังงานทดแทน |
ปริมาณพลังงานไฟฟ้าสุทธิ (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) |
คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (tCO2e) |
ทั้งหมด |
ตามสัดส่วนการถือหุ้น |
ทั้งหมด |
ตามสัดส่วนการถือหุ้น |
1. พลังงานแสงอาทิตย์ |
181,886.20 |
128,753.76 |
116,829.82 |
90,268.91 |
2. พลังงานลม |
2,160,931.29 |
1,641,677.99 |
1,516,408.62 |
1,216,304.53 |
3. พลังงานน้ำ |
4,833,786.52 |
1,229,590.99 |
2,599,773.11 |
663,369.95 |
4. พลังงานชีวมวล |
71,016.70 |
28,406.68 |
35,501.25 |
14,200.50 |
สัดส่วนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการพลังงานทดแทน ปี 2564
(หน่วย : ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก
ในปี 2564 โรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง ด้วยการจัดการอัตราการใช้ความร้อนเชื้อเพลิงได้รวม 140,804 ล้านบีทียู และพลังงานไฟฟ้าได้รวม 23,717 เมกะวัตต์-ชั่วโมง สามารถประเมินปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ราว 21,573 tCO2e ซึ่งยังคงรักษามาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ประมาณ 54,992,579 บาท ดังนี้
โครงการ / กิจกรรม |
เป้าหมายการลดใช้พลังงาน ในปี 2564 |
ลดการใช้พลังงานความร้อน (ล้านบีทียู /ปี) |
ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์- ชั่วโมง/ปี) |
ลดค่าใช้จ่าย (บาท/ปี) |
เงินลงทุน (บาท) |
ระยะเวลาคืนทุน (ปี) |
ลดการปล่อย GHG (tCO2e) |
โรงไฟฟ้าราชบุรี |
- โครงการหยุดการใช้งาน Auxiliary Cooling Water Pump กรณีที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (เครื่องกังหันแก๊ส) หยุดเดินเครื่องทั้งชุด
|
พลังงานไฟฟ้า 228,000 kWh |
- |
972,782 |
2,937,800 |
- |
- |
486.29 |
- โครงการหยุดการใช้งาน Control Air Compressor ในช่วง Preserved โดยใช้งาน Station Air Compressor 1 เครื่อง
|
- |
493,776 |
1,491,204 |
- |
- |
246.84 |
- โครงการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการปรับมุม Auxiliary Cooling Tower Fan Blade
|
- |
66,946 |
202,178 |
- |
- |
33.47 |
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร |
- โครงการเพิ่มอุณหภูมิของไอน้ำเข้า HP Steam จาก 505 เป็น 510 องศาเซลเซียส เพื่อเพิ่มพลังงานในระบบ Steam Turbine
|
พลังงานไฟฟ้า 75,603 kWh และพลังงาน ความร้อน 27,058 MMBTU |
18,305 |
- |
4,194,044 |
- |
- |
2,681.82 |
- โครงการลดการจ่ายพลังงานไฟฟ้าส่วนเกิน (Excess Energy) ช่วงเพิ่ม/ลด พลังไฟฟ้า (Load) เพื่อให้รับกับช่วงการใช้ไฟสูงสุด Peak ของ กฟผ. ให้มีความสูญเสียน้อยที่สุด
|
4,420 |
- |
372,579 |
- |
- |
647.51 |
- โครงการลดใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบ Lighting Cooling Tower (ส่วนขยาย) และห้องควบคุมโรงไฟฟ้าหลัก (CCR) โดยเปลี่ยนเป็นหลอด LED และปิดการใช้งานในส่วนที่ไม่ได้เดินเครื่อง
|
- |
47,136 |
116,186 |
- |
- |
23.56 |
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น |
- โครงการเปลี่ยน Final Filter ของ Gas Turbine เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการเผาไหม้ และลดการสูญเสียพลังงานความร้อน
|
42,241.61 MMBTU |
43,598 |
- |
9,659,054 |
1,614,000 |
0.17 |
6,387.32 |
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ราช โคเจนเนอเรชั่น |
- โครงการติดตั้ง VSD พัดลม หอหล่อเย็น (เครื่องที่ 2) และปั๊มน้ำเย็นระบบ Heat Loop (เครื่องกังหันก๊าซที่ 2)
|
74,480.05 MMBTU |
3,787 |
1,109,769 |
3,683,118 |
1,152,861 |
0.31 |
554.77 |
- โครงการลดชั่วโมงการทำงานของระบบทำน้ำเย็นของเครื่องกังหันก๊าซ (Chiller)
|
16,506 |
4,837,076 |
16,053,367 |
- |
0.00 |
2,418.05 |
- โครงการใช้เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง (Air Compressor)
|
943 |
276,307 |
917,013 |
1,166,667 |
1.27 |
138.13 |
- โครงการทำความสะอาดใบ Blade Compressor ของเครื่องกังหันก๊าซ (Offline Compressor Wash)
|
53,245 |
15,603,640 |
14,164,112 |
214,999 |
0.22 |
7,800.26 |
อาคารสำนักงาน RATCH Group |
- โครงการ ปิด-ปรับ-ปลด-เปลี่ยน เพื่อลดใช้พลังงาน
|
ลดลงร้อยละ 1 (เทียบกับ ค่าเฉลี่ยปี 2560-2562) |
- |
309,333 |
1,201,923 |
- |
- |
154.64 |
รวม |
140,804 |
23,716,765 |
54,992,579 |
4,148,527 |
- |
21,573 |
การรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยกลไก T-VER
ใน 2564 โรงไฟฟ้าราชบุรีได้ขอรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐาน ของประเทศไทย (T-VER) รวม 2 โครงการ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme: ETS) ของประเทศในอนาคต
ลำดับที่ขึ้นทะเบียน |
โครงการ |
ประเภทโครงการ |
สถานะ |
ปีที่คิดเครดิต |
ปริมาณคาร์บอนเครดิต (tCO2e) |
แผนการขอรับรอง เครดิตในครั้งถัดไป |
ขึ้นทะเบียน |
รับรองเครดิต |
คาดการณ์ตลอดโครงการ |
ที่ได้รับการรับรองแล้ว |
105 |
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ด้วยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างเป็นหลอด LED โดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด |
เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (EE) |
✓ |
✓ |
7 ปี |
5,397 |
3,064
(4 ปี) |
ปี 2567 |
131 |
โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนผิวน้ำ โดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด |
พลังงานทดแทน (RE) |
✓ |
✓ |
7 ปี |
12,418 |
1,513
(1 ปี) |
ปี 2566 |
185 |
โครงการปลูกป่าอย่างยั่งยืนโรงไฟฟ้าราชบุรี โดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด |
ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว (FOR) |
✓ |
ปี 2565 |
20 ปี |
1,140 |
- |
ปี 2565 |
ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายนอกองค์กร
โครงการพลังงานชุมชนระยะที่ 3 (ปี 2563-2565) ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
โครงการพลังงานชุมชนได้ส่งเสริมชุมชนใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โดยบริษัทฯ ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำดังกล่าวให้แก่ชุมชน จำนวน 8 เครื่อง เพื่อนำไปใช้ในการทำการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของตำบลยางหัก จำนวน 2 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในอุปกรณ์/เครื่องมือต่าง ๆ ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และสาธิตการทำงานและการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การประเมินผลกระทบของกิจกรรม
กิจกรรม |
มิติสังคม |
มิติสิ่งแวดล้อม |
มิติเศรษฐกิจ |
การใช้ประโยชน์เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 8 เครื่อง |
การรวมกลุ่มใช้ประโยชน์ของชุมชน รวม 100 ครัวเรือน
- การรวมกลุ่มใช้ประโยชน์ของชุมชน รวม 100 ครัวเรือน
- เพื่อการอุปโภคบริโภค 17 ครัวเรือน
|
- ลดการใช้และเผาไหม้น้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำแบบเดิม 17,280 ลิตร/ปี
- ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้น้ำมันเบนซิน 37,836.29 kgCO2e* (37.8 tCO2e)/ปี
|
- ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องสูบน้ำเพื่อใช้งานในครัวเรือน
- ลดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง 518,400 บาท (คิดค่าเฉลี่ย ราคาน้ำมัน 30 บาท/ลิตร)
|
* คำนวณจากระเบียบวิธีของ อบก. - ปริมาณการเผาไหม้น้ำมันเบนซินในเครื่องยนต์ไม่เคลื่อนที่จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณลิตรละ 2.1896 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)
โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS: Low Emission Support Scheme)
บริษัทฯ ได้นำกิจกรรมการส่งเสริมชุมชนลดการใช้พลังงาน 2 โครงการ เข้าขอรับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ภายใต้โครงการประเภทการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เท่ากับ 4.86 tCO2e/ปี
ชื่อโครงการ |
ระยะเวลาการรับรองโครงการ LESS |
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (tCO2e) |
โครงการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ ชุมชนหย่อมบ้านหัวฮะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
(การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และไม่เชื่อมต่อกับสายส่ง (Off-Grid)) |
1 กรกฎาคม 2563 - 15 มิถุนายน 2564 |
2.987 |
โครงการพลังงานชุมชน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
(การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ ทดแทนการซื้อไฟฟ้าจากระบบสายส่ง) |
16 ธันวาคม 2563 - 15 มิถุนายน 2564 |
1.874 |
รวม |
4.861 |
การสร้างแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯ ได้สนับสนุนป่าชุมชนทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ด้วยการจัดประกวดและสนับสนุนเงินรางวัลให้แก่ป่าชุมชนที่มีการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน ทั้งการดูแล รักษา ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากป่า โครงการดังกล่าวดำเนินการร่วมกับกรมป่าไม้ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบัน
สรุปผลกิจกรรมการประกวดป่าชุมชนปี 2551-2564
ตัวชี้วัด |
ผลที่ได้รับ |
ป่าชุมชนที่เข้าร่วมการประกวด |
15,868 แห่ง |
ป่าชุมชนที่ได้รับรางวัล (ข้อมูลก่อน พ.ร.บ. ป่าชุมชน 2562) |
1,974 แห่ง |
ป่าชุมชนที่ได้รับรางวัล (ข้อมูลหลัง พ.ร.บ. ป่าชุมชน 2562) |
1,395 แห่ง |
จำนวนพื้นที่ป่าชุมชนที่ได้รับรางวัล |
1,276,389.24 ไร่ |
เงินรางวัลสนับสนุนชุมชน |
43,020,000 บาท |
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมประกวดป่าชุมชน |
ความสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (เฉลี่ย 6.3 ตัน/ไร่) |
8,041,252.21 ตันคาร์บอน |
กักเก็บน้ำในดินและการปล่อยน้ำท่า (≈ 686 ลบ.ม./ไร่) |
875,603,019 ลบ.ม. |
มูลค่าการให้บริการระบบนิเวศของป่า (≈ 89,737 บาท/ไร่) |
114,539 ล้านบาท |
ในปี 2564 บริษัทฯ ยังได้จัดทำแผนการปลูกป่า (ปี 2565-2568) เพื่อสร้างแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และจะพัฒนา และขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย ประเภทป่าไม้และพื้นที่สีเขียวขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) รวมพื้นที่ประมาณ 50,100 ไร่ โดยตั้งเป้าหมายการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกประมาณ รวม 670,000 tCO2e ตลอดระยะเวลาการขอรับรองคาร์บอนเครดิตเบื้องต้น 10 ปี แผนงานดังกล่าว เป็นแนวทางภายใต้กลยุทธ์การเพิ่มแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
การเปิดเผยข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
วิธีการเปิดเผย |
กลุ่มเป้าหมาย |
รายงานความยั่งยืนปี 2563 ตามมาตรฐาน GRI |
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้สนใจทั่วไป |
การเข้าร่วมประเมินความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้สนใจทั่วไป |
การเข้าร่วมตอบแบบสอบถาม Carbon Disclosure Project |
นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย |
การเข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืนของ S&P ESG Indices |
นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย |
บริษัทฯ ได้รับรางวัลเกียรติคุณ "Sustainability Disclosure Award" จากสถาบันไทยพัฒน์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ตามเกณฑ์การพิจารณาอ้างอิงจาก Ceres-ACCA ในด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) และด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) เนื้อหาของรายงานความยั่งยืนที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ