บริษัทฯ มีเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มุ่งสร้างการเติบโตขององค์กรทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจ คุณค่าร่วมทางสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสังคมในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ภายใต้นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรและนโยบายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มีการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม , นโยบายเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม , นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร
กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
บริษัทฯ ตระหนักดีว่าชุมชนและสังคมเป็นผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มหนึ่งในห่วงโซ่ธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งเป็นทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และสร้างผลกระทบให้กับบริษัทฯ ได้เช่นกัน ดังนั้น การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จึงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ที่ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การดูแลความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน การสร้างคุณค่าร่วมด้านต่างๆ ให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นและบริษัทฯ สามารถอยู่ร่วมกันกับชุมชนบนความไว้วางใจและเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
เนื่องจากลักษณะธุรกิจของบริษัทฯ เป็นโฮลดิ้งคัมปานี บริษัทฯ จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมเป็น 2 ลักษณะ โดยใช้กรอบและหลักปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นนำทางและกำหนดเป้าหมาย ดังนี้
การสื่อสารเพื่อการสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่น
โรงไฟฟ้าที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทฯ มีการสื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าผ่านช่องทางและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และยังมีช่องทางการแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือข้อร้องเรียนที่ชุมชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งกำหนดกระบวนการแก้ไขปัญหาและระยะเวลาการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยผนวกรวมอยู่ในระบบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าด้วย
โรงไฟฟ้าราชบุรี
กำลังการผลิต: |
3,645 เมกะวัตต์ |
กลุ่มเป้าหมาย: |
9 ตำบล ได้แก่ ตำบลพิกุลทอง ตำบลบ้านไร่ ตำบลบ้านสิงห์ ตำบลวัดแก้ว ตำบลดอนทราย ตำบลบางป่า ตำบลสามเรือน ตำบลท่าราบ และตำบลแพงพวย จังหวัดราชบุรี |
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ ปี 2564 |
1. การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย |
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในโรงไฟฟ้า/ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า จังหวัดราชบุรี เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และภาพลักษณ์ที่ดี
|
- ช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “บ้านเรา By โรงไฟฟ้าราชบุรี” เผยแพร่ข้อมูลของโรงไฟฟ้า สัปดาห์ละ 5 ครั้ง เช่น การให้ความรู้การป้องกันตัวจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เป็นต้น
- จัดทำสื่อ RG. Weekly News และ RG. Scoop News บนแอปพลิเคชัน LINE
|
- จำนวนผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจ “บ้านเรา By โรงไฟฟ้าราชบุรี” จำนวน 31,465 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2564) เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 28.69
- RG. Weekly News จำนวน 42 ฉบับ รวม 160 ข่าว
- RG. Scoop News จำนวน 34 ฉบับ
|
2. โครงการสื่อสารผสานความสัมพันธ์ |
- ให้ความรู้/ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม กับผู้นำชุมชนในพื้นที่ 9 ตำบลรอบโรงไฟฟ้า
- เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นในการดำเนินงาน
|
- ลงพื้นที่จัดกิจกรรมในชุมชน 9 ตำบล รวม 9 ครั้ง
- เป้าหมายผู้เข้าร่วมกิจกรรม 230 คน
|
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวม 187 คน คิดเป็นร้อยละ 81.30 ของจำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้
- ผลสำรวจความพึงพอใจหรือการรับรู้ข้อมูลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าเท่ากับร้อยละ 85.20
|
3. การแสดงผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมผ่านจอแสดงผลหน้าโครงการ |
- ชุมชนรับทราบข้อมูลของโรงไฟฟ้าโดยตรง
- แสดงความโปร่งใสในการเปิดเผยผลการดำเนินงาน
|
- ติดตั้งจอแสดงผลการวัดคุณภาพอากาศบริเวณทางเข้าโรงไฟฟ้า
|
- ชุมชนเข้าใจและรับทราบผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
|
4. การแจ้งข้อมูลผู้นำชุมชนและหน่วยงาน |
- แจ้งให้ชุมชนทราบกิจกรรมของโรงไฟฟ้าที่อาจจะส่งผลกระทบ/สร้างความวิตกกังวลให้แก่ชุมชนล่วงหน้า เช่น การแจ้งข้อมูลการเปลี่ยนเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าราชบุรี การขนส่งน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเตา ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำรองมายังโรงไฟฟ้า การขนส่งหินปูน หรือการขนส่งยิปซัมของโรงไฟฟ้า เป็นต้น
|
- ส่งจดหมายแจ้งกิจกรรมของโรงไฟฟ้าให้หน่วยงานราชการในจังหวัดราชบุรีจำนวน 28 เรื่อง
- เผยแพร่จดหมายในช่องทางแอปพลิเคชัน LINE ของแต่ละตำบล
|
- ชุมชนเข้าใจและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
5. การจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมประจำปี |
- แสดงความโปร่งใสด้วยการเผยแพร่การดำเนินงานจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดในรายงาน EIA และการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ น้ำ เสียง การจัดการของเสีย รวมทั้งกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ของโรงไฟฟ้า
|
- จัดทำรายงานประจำปี และนำส่งให้กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดราชบุรี จำนวน 790 หน่วยงาน
|
- กลุ่มเป้าหมาย/ชุมชนรับทราบผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร
กำลังการผลิต: |
199.11 เมกะวัตต์ |
กลุ่มเป้าหมาย: |
8 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองหนึ่ง ตำบลคลองสอง ตำบลบ้านปทุม ตำบลเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และตำบลบางกระสั้น ตำบลพยอม ตำบลเชียงรากน้อย ตำบลพระอินทราชา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ ปี 2564 |
1. การสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ |
- เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าให้แก่หน่วยงานราชการ / ผู้นำชุมชนและประชาชนรอบโรงไฟฟ้า เพื่อแสดงความโปร่งใสและสร้างความมั่นใจ
|
- ใช้สื่อสารผ่านแอปพลิเคชัน LINE เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของโรงไฟฟ้าให้แก่ชุมชน จำนวน 25 เรื่อง
|
- ชุมชนเข้าใจและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
2. โครงการสื่อสารผสานความสัมพันธ์ |
- ดำเนินการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ ผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของบริษัทฯ โดยให้ทางผู้นำชุมชน เทศบาล/อบต. ในพื้นที่และหน่วยงานราชการได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการของโรงไฟฟ้า
- เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นในการดำเนินงาน
|
- ลงพื้นที่ 16 ครั้ง โดยดำเนินการผ่านกิจกรรม / โครงการต่าง ๆ ของโรงไฟฟ้า โดยให้ทางผู้นำชุมชนเทศบาล / อบต. ในพื้นที่ และหน่วยงานราชการได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการของโรงไฟฟ้า
|
- ชุมชนเข้าใจและรับทราบการดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ และได้เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทางโรงไฟฟ้า รวมถึงชุมชนมีความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า
|
3. การจัดทำรายงานการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
- แสดงความโปร่งใสด้วยการเผยแพร่การดำเนินงานจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดในรายงาน EIA และการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ น้ำ เสียง การจัดการของเสีย รวมทั้งกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ของโรงไฟฟ้า
|
- จัดทำรายงาน จำนวน 5 ฉบับ และนำส่งให้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 หน่วยงาน
|
- กลุ่มเป้าหมาย / ชุมชนรับทราบผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น
กำลังการผลิต: |
119.15 เมกะวัตต์ |
กลุ่มเป้าหมาย: |
7 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองหนึ่ง ตำบลคลองสอง ตำบลบ้านปทุม ตำบลเชียงรากใหญ่ ตำบลเชียงรากน้อย ตำบลบางพูด จังหวัดปทุมธานี และตำบลเชียงรากน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ ปี 2564 |
1. การสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ |
- เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าให้แก่หน่วยงานราชการ / ผู้นำชุมชนและประชาชนรอบโรงไฟฟ้า เพื่อแสดงความโปร่งใสและสร้างความมั่นใจ
|
- สื่อผ่านแอปพลิเคชัน LINE และเสียงตามสายแจ้งความคืบหน้าตามช่วงระยะเวลา
- ดำเนินการติดประกาศเอกสารประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้า ให้แก่หน่วยงานราชการและประชาชนโดยรอบ จำนวน 2 เรื่อง
|
- ชุมชนเข้าใจและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
2. การจัดทำรายงานการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
- แสดงความโปร่งใสด้วยการเผยแพร่การดำเนินงานจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดในรายงาน EIAและการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านอากาศน้ำ เสียง การจัดการของเสีย รวมทั้งกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ของโรงไฟฟ้า
|
- จัดทำรายงานจำนวน 45 ฉบับ และนำส่งให้กลุ่มเป้าหมายจำนวน 16 หน่วยงานราชการ และ 29 ชุมชน ในรัศมีระยะ 3-5 กม. จากโรงไฟฟ้า
|
- กลุ่มเป้าหมาย / ชุมชนรับทราบผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
3. การแจ้งข้อมูลผู้นำชุมชนและหน่วยงาน |
- แจ้งให้ชุมชนทราบกิจกรรมของโรงไฟฟ้าที่อาจจะส่งผลกระทบ / สร้างความวิตกกังวลให้แก่ชุมชนล่วงหน้า เช่น การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ และการขนส่งเครื่องยนต์ Gas Engine Generators มายังโรงไฟฟ้า
|
- ใช้สื่อเสียงตามสายในชุมชน เอกสารประชาสัมพันธ์บริษัทฯ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสาร จำนวน 1 เรื่อง
|
- ชุมชนเข้าใจและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น
กำลังการผลิต: |
99.23 เมกะวัตต์ |
กลุ่มเป้าหมาย: |
ตำบลเบิกไพร ตำบลท่าผา เทศบาลเมืองบ้านโป่ง ตำบลลาดบัวขาว ตำบลปากแรต ตำบลสวนกล้วย ตำบลนครชุมน์ และตำบลคุ้งพะยอม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และตำบลดอนขมิ้น ตำบลลูกแก และตำบลท่าเสา ในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี |
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ ปี 2564 |
1. การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย |
- เผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าให้แก่หน่วยงานราชการ/ผู้นำชุมชนและประชาชนรอบโรงไฟฟ้า เพื่อแสดงความโปร่งใสและสร้างความมั่นใจ
|
- ใช้สื่อ เสียงตามสายในชุมชน ไลน์กลุ่มชุมชน เอกสารประชาสัมพันธ์ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของโรงไฟฟ้าให้แก่ชุมชน จำนวน 25 เรื่อง
|
- ชุมชนเข้าใจและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
2. การรับฟังความคิดเห็นชุมชน |
- ทีมงานชุมชนสัมพันธ์พบปะกับชุมชนเพื่อรับฟังข้อวิตกกังวล ข้อเสนอแนะของชุมชน
|
|
- ได้รับข้อเสนอแนะ 1 เรื่อง จากชุมชนตำบลสวนกล้วย โดยขอให้โรงไฟฟ้าสนับสนุนกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลาในพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2564
|
3. การจัดทำรายงานการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม |
- แสดงความโปร่งใสด้วยการเผยแพร่การดำเนินงานจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดในรายงาน EIA และการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ น้ำ เสียง การจัดการของเสีย รวมทั้งกิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ของโรงไฟฟ้า
|
- จัดทำรายงาน จำนวน 15 ฉบับ และนำส่งให้กลุ่มเป้าหมายใน จำนวน 8 หน่วยงาน (จัดทำปีละ 2 ครั้ง)
|
- กลุ่มเป้าหมาย / ชุมชนรับทราบผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชน
|
ช่องทางรับข้อร้องเรียนและกระบวนการแก้ไข
โรงไฟฟ้าแต่ละแห่ง เปิดโอกาสให้ชุมชนสามารถเสนอความคิดเห็นและข้อร้องเรียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถแจ้งมาที่หน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ และ/หรือ แจ้งผ่านผู้นำชุมชน คณะกรรมการไตรภาคี รวมทั้งช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ ได้แก่ โทรศัพท์ กล่องรับความคิดเห็น อีเมล จดหมาย แอปพลิเคชันไลน์ ข้อความสั้น (SMS) ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับกระบวนการรับข้อร้องเรียนและแก้ปัญหาของโรงไฟฟ้าได้พัฒนาขึ้นโดยอิงตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001
กระบวนการรับข้อร้องเรียนและแก้ไขปัญหา
ในปี 2564 โรงไฟฟ้าที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทฯ ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากชุมชน
การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชุมชน
โครงการพลังงานชุมชน
บริษัทฯ ดำเนินโครงการพลังงานชุุมชน ร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัด เพื่อส่งเสริมชุุมชมให้เกิดความตระหนักและมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการพลังงานและสามารถใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งสามารถลดรายจ่ายพลังงาน และสร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนได้ กิจกรรมดังกล่าวยังมุ่งหวังที่จะตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป้าหมายที่ 13 ในเป้าประสงค์การสร้างภูมิคุ้มกันกับชุมชนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยบริษัทฯ เริ่มดำเนินโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน สำหรับปี 2564 ราช กรุ๊ป ดำเนินการร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัด พื้นที่ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
กระบวนการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินการ ปี 2564
- จัดตั้งอาสาสมัครพลังงานชุมชน จำนวน 40 คน
- การเปลี่ยนมาใช้เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยจัดหาเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นำร่อง ขนาด 3,400 วัตต์ จำนวน 8 เครื่อง
- ศูนย์การเรียนรู้ในตำบลยางหัก จำนวน 2 แห่ง สำหรับถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ และมีการสาธิตการทำงานของเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่
- เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 3,400 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง
- แผงพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 340 วัตต์ จำนวน 20 แผง
- เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ขนาด 2,500 วัตต์ จำนวน 2 เครื่อง
การส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน
โรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทฯ มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่จัดทำขึ้นจากการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของชุมชนตั้งแต่เริ่มพัฒนาโครงการ เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมกับโรงไฟฟ้าและได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากกิจกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ ยังตอบสนองเป้าหมายของโรงไฟฟ้าที่ต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และอยู่ร่วมกับชุมชนในฐานะเพื่อนบ้านที่ดี
โรงไฟฟ้าทุกแห่งได้ดำเนินการจ้างงานคนในท้องถิ่นเป็นลำดับแรก เพื่อสร้างรายได้ในชุมชน สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นให้เติบโตไปพร้อมกับโครงการ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้ากลุ่มบริษัทฯ ยังดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามความต้องการของชุมชน
โรงไฟฟ้าราชบุรี
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ |
โครงการมอบทุนการศึกษาประจำปี 2564 |
- ส่งเสริมและสนับสนุนเยาวชนที่เป็นนักเรียนที่เรียนดี ประพฤติดี แต่มีทุนทรัพย์ในการศึกษาไม่เพียงพอ ให้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น
- ช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนได้อีกทางหนึ่ง
|
- มอบทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนจำนวน 27 แห่ง รวมเป็นเงิน 970,000 บาท แบ่งเป็น
- ระดับชั้นอนุบาล 93 ทุน
- ระดับชั้นประถมศึกษา 281 ทุน
- ระดับชั้นมัธยมศึกษา 105 ทุน
|
- เด็กนักเรียนมีโอกาสทางการศึกษาต่อเนื่อง
- ลดรายจ่ายของครอบครัว
|
โครงการเพื่อบ้านเรา (กลุ่มการศึกษา) |
- นำสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์เผยแพร่ให้แก่บุคลากรทางการศึกษา ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ อย่างแพร่หลายทั้งภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมให้บุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในศาสตร์การโค้ช และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการโค้ชได้
|
- จัดการอบรมให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายฯ จำนวน 27 แห่ง รวม 2 กิจกรรม
- อบรมตัดต่อวิดีโอ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ผ่านทางระบบออนไลน์
- อบรม “ทักษะการโค้ชสำหรับครูในช่วงเวลาแห่งความท้าทาย” ผ่านระบบออนไลน์
|
- ครูผู้สอนนำความรู้ไปพัฒนากระบวนการทำงานและนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างสร้างสรรค์ และมีผลงานคลิปวิดีโอสำหรับเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
- ครูผู้เข้าฝึกอบรมมีทักษะการโค้ชและสามารถนำศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการโค้ชทั้งตนเองและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาและนักเรียนได้อย่างแท้จริง
|
การจ้างแรงงานท้องถิ่น |
สนับสนุนการกระจายรายได้สู่ชุมชน |
กำหนดนโยบายการจ้างแรงงาน โดยให้พิจารณาสรรหาและจ้างคนภายในท้องถิ่นเป็นลำดับแรก |
ปี 2564 โรงไฟฟ้าราชบุรี มีการจ้างแรงงานท้องถิ่น รวม 368 คน คิดเป็นร้อยละ 72.58 ของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด (แบ่งเป็นพนักงาน40 คน และผู้รับเหมา 328 คน) |
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มพัฒนา |
เสริมสร้างกลุ่มพัฒนาฯ ให้เข้มแข็งและสามารถดำเนินการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน |
สนับสนุนการจัดทำโครงการพัฒนาชุมชนจำนวน 10 กลุ่ม กลุ่มละ 10,000 บาท |
กลุ่มพัฒนาชุมชน มีการบริหารการจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น และมีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น |
ความช่วยเหลือชุมชนป้องกันการแพร่ระบาดการติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 |
- เตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคโควิด-19 ก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2564
- ลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษา
- ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 9 ตำบลรอบโรงไฟฟ้า
- จัดตั้งโรงพยาบาลสนามเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและควบคุมการระบาดของโรค และช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นขณะรอเตียงรักษาให้สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างปลอดภัย และลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักหรือเสียชีวิต
|
- มอบแอลกอฮอล์ชนิดน้ำ หน้ากากอนามัยน้ำยาฆ่าเชื่อ และชุดตรวจ ATK ให้โรงเรียนในกลุ่มเครือข่าย จำนวน 27 แห่ง
- มอบเครื่องกดเจลล้างมือแบบเท้าเหยียบเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิชนิดไม่สัมผัส และอุปกรณ์ป้องกันให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ให้แก่ รพ.สต. จำนวน 16 แห่ง
- มอบชุดปันสุขให้แก่ผู้ที่กักตัวอยู่ที่บ้าน และผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ 9 ตำบลรอบโรงไฟฟ้า
- มอบเครื่องอุปโภค-บริโภค และอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้แก่โรงพยาบาลสนามในจังหวัดราชบุรี
- มอบกล่องบรรจุยาและเวชภัณฑ์เบื้องต้นสำหรับติดตามอาการผู้ติดเชื้อให้แก่ รพ.สต. เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่รอเตียงจำนวน 700 กล่อง
|
- โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหา/จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- รพ.สต. ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าราชบุรีนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- โรงพยาบาลสนามมีสิ่งของและอุปกรณ์ใช้ที่เป็นมาตรฐาน และถูกต้องตามหลักวิชาการและควบคุมการระบาดของโรค
- จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ 9 ตำบลรอบโรงไฟฟ้าราชบุรีมีจำนวนลดลงและลดการเสียชีวิต
|
โครงการเพื่อนบ้านเรา 2 อำเภอ |
นำกระบวนการการมีส่วนร่วมมาใช้เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างและยกระดับความสัมพันธ์และความเชื่อมั่นระหว่างโรงไฟฟ้าราชบุรีกับชุมชน |
สนับสนุนงบประมาณ พร้อมร่วมจัดกิจกรรมให้ 2 อำเภอ ดังนี้
- อำเภอเมือง ทำโครงการจัดซื้อห้องสุขาสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดตรวจ / จุดสกัด
- อำเภอโพธาราม จัดโครงการปลูกผักกินเอง ลดเสี่ยง เลี่ยงโควิด เพื่อให้ประชาชนสามารถปลูกผักปลอดภัยไว้บริโภคเองภายในครัวเรือน ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง
|
สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในจังหวัดราชบุรีในลักษณะ “เป็นส่วนหนึ่งของ ชุมชนและเป็นเพื่อนบ้านที่ดี” |
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ |
กิจกรรมมอบทุนการศึกษา |
- สร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และมีความประพฤติดีได้มีโอกาสด้านการศึกษา
- ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบในหน้าที่ และนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์
|
- มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลน และประพฤติดี ในระดับอนุบาล-มัธยมศึกษาตอนปลายที่อาศัยอยู่ใกล้โรงไฟฟ้า จำนวน 7 ทุน รวมมูลค่า 21,000 บาท
|
- เด็กนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์มีโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- ลดรายจ่ายของครอบครัว
- นักเรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่และนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาตนเองครอบครัว และสังคม
|
โครงการคืนชีวิตสู่สายธาร ครั้งที่ 6 ประจำปี 2564 |
ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีปริมาณและความหลากหลายเพิ่มขึ้น |
สนับสนุนพันธุ์ปลา จำนวน 15,000 ตัว ให้แก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ปฏิบัติงานชุมชน และอาจารย์โรงเรียนวัดพืชนิมิต รวม 57 คน ร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาลงสู่คลองเชียงรากน้อย |
เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำของชุมชน |
กิจกรรมเพื่อช่วยเหลือชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 |
- สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานสาธารณสุข/รพ.สต. พื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
- สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ
- รณรงค์ให้ชุมชนได้เกิดความตระหนักในการป้องกันตัวเอง
- ชุมชน / ผู้ที่กักตัว สามารถติดตามตรวจวัดค่าออกซิเจน อัตราการเต้นของหัวใจได้ด้วยตนเอง
- ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
|
- มอบชุดอาหารให้บุคลากรทางการแพทย์รพ.สต. จำนวน 8 แห่ง และหน่วยงานสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง
- มอบสเปรย์แอลกอฮอล์ให้โรงเรียนจำนวน 2 โรงเรียน และวัด จำนวน 2 แห่ง
- มอบหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือแอลกอฮอล์แก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าจำนวน 14 แห่ง
- สนับสนุนเครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ ให้แก่ชุมชนวัดพืชนิมิต จำนวน 25 เครื่อง
- มอบชุดข้าวสารและอาหารแห้งให้แก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ใน 4 ตำบล รวมทั้งสิ้น 230 ชุด
|
- ชุมชนและนักเรียนเกิดความตระหนักในการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโค-19 เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนโรงเรียน และวัด
- ชุมชนสามารถดำรงชีพได้ในสภาวะการแพร่ระบาดของโรค
|
โครงการมอบถุงยังชีพและน้ำดื่มในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม |
ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม |
มอบชุดข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่มให้แก่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า จำนวน 4 ตำบล (อบต.บ้านปทุม และ อบต.เชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี และ อบต.พยอม ชุมชนเชียงรากน้อย และเทศบาลตำบลบางกระสั้น จ.พระนครศรีอยุธยา)
- ชุดข้าวสาร อาหารแห้ง จำนวน 150 ชุด
- น้ำดื่ม จำนวน 710 ห่อ
|
ชุมชนได้รับความช่วยเหลือในการดำรงชีพในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม |
การสนับสนุนการสร้างโรงอาหาร โรงเรียนวัดพืชนิมิต (คำสวัสดิ์ราษฎร์บำรุง) |
เป็นการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ให้แก่ชุมชนและสังคม |
ร่วมสนับสนุนทุนสร้างโรงอาหารโรงเรียนวัดพืชนิมิต จำนวน 10,000 บาท |
โรงไฟฟ้าได้เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคม และสาธารณประโยชน์แก่โรงเรียน |
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ |
กิจกรรมวันเด็ก |
- สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน กลุ่มผู้นำท้องที่ ชุมชนต่าง ๆ และส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน
- ส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออก กล้าคิด กล้าทำในทางสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามความสามารถและความสนใจ
|
สนับสนุนชุดเครื่องเขียนเพื่อเป็นของขวัญจัดกิจกรรมวันเด็ก จำนวน 2,000 ชุด ให้แก่ชุมชนจำนวน 16 แห่ง |
- เด็กนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาการในด้านต่าง ๆ
- เด็กนักเรียนได้แสดงออก กล้าคิด กล้าทำมากขึ้น
|
โครงการมอบทุนการศึกษาประจำปี 2564 |
- ส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนที่เรียนดีประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้มีโอกาสทางการศึกษามากขึ้น
- ช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่มีฐานะยากจนได้อีกทางหนึ่ง
|
มอบทุนการศึกษาให้แก่โรงเรียนจารุศร จำนวน 10,000 บาท |
- เด็กนักเรียนมีโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- ลดรายจ่ายของครอบครัว
|
การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน |
- เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้อาคารเรียนต่าง ๆ
- เพื่อเอื้อบรรยากาศในการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่นักเรียน
|
สนับสนุนเงินซ่อมแซมอาคารสถานที่ โรงเรียนธรรมศาสตร์ คลองหลวง จำนวน 10,000 บาท |
- อาคารเรียนของโรงเรียนมีความปลอดภัยพร้อมสำหรับการใช้งาน
- บรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนดีมากขึ้น นักเรียนและคณะครูในโรงเรียนใช้อาคารเรียนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
|
กิจกรรมวันสงกรานต์ |
- เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย
- เพื่อสร้างความสุขให้ผู้สูงอายุและแสดงความกตัญญูกตเวที
|
สนับสนุนผ้าห่มนาโนให้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 1,000 ผืน รวม 12 ชุมชน |
- ประชาชนได้ร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
- ประชาชนได้สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุได้มีความสุข
|
โครงการราชโคเจน ร่วมใจ สู้ภัย “โควิด-19” |
- เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน
- เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ยากไร้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
- เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชน
|
- สนับสนุน PPE ชุด CPE หน้ากากอนามัย หมวกคลุมผม ถุงมือ ให้แก่เจ้าหน้าที่ อสม. ปฏิบัติงานชุมชนบ้านเอื้ออาทร กม.44
- สนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์แก่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 1,000,000 บาท
- สนับสนุนอาหารเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 แก่โรงพยาบาลการุญเวชนวนคร
- สนับสนุนเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย และอาหารให้แก่ชุมชนจำนวน 8 ชุมชน
- สนันสนุนข้าวสารอาหารแห้งเพื่อผู้ป่วยสูงอายุให้แก่ อบต.บ้านปทุม และ อบต.บางพูด
|
- ชุมชนได้รับการบริการและตอบสนองต่อความต้องการ
- ชุมชนได้รับการช่วยเหลือมีขวัญและกำลังใจและบรรเทาความเดือดร้อนในด้านการดำรงชีพ
|
โครงการราชโคเจน ร่วมใจ สู้ภัย “น้ำท่วม” |
ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม |
มอบข้าวสาร อาหารแห้ง ให้แก่ อบต.บ้านปทุม |
ชุมชนได้รับความช่วยเหลือในการดำรงชีพในช่วงสถานการณ์น้ำท่วม |
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น
เป้าประสงค์ |
การดำเนินงาน |
ผลที่ได้รับ |
โครงการอบรมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ตำบลสวนกล้วย |
ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองของชุมชนให้มีทิศทางที่สอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยศักยภาพและบริบทของชุมชน |
- สนับสนุนและให้ความรู้การดำเนินโครงการด้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน จำนวน 13 หมู่บ้าน ในตำบลสวนกล้วย รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 100 คน
- ติดตามและประเมินผลการทำกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
|
- หมู่บ้านมีกิจกรรมการพัฒนาตนเองและชุมชนอย่างมีทิศทางที่สอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในชุมชน จำนวน 1 ศูนย์การเรียนรู้
- ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 83.5
|
โครงการปล่อยพันธุ์ปลา อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เทศบาลตำบลเบิกไพร และ อบต.สวนกล้วย |
อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ และเพิ่มความหลากหลายในแม่น้ำแม่กลอง |
เทศบาลตำบลเบิกไพร
- สนับสนุนพันธุ์ปลา จำนวน 10,000 ตัว
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน
อบต.สวนกล้วย
- สนับสนุนพันธุ์ปลา จำนวน 10,000 ตัว
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 30 คน
|
- เพิ่มปริมาณของพันธุ์ปลา และความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำของชุมชน
- ผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- เทศบาลตำบลเบิกไพร ร้อยละ 91.75
- อบต.สวนกล้วย ร้อยละ 98.5
|
โครงการอาหารกลางวันเพื่อน้อง |
สนับสนุนอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเพียงพอต่อตามความต้องการของนักเรียนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า |
สนับสนุนอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนในโรงเรียน 4 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนวัดลาดบัวขาว
- โรงเรียนวัดหุบกระทิง
- โรงเรียนอนุบาลวัดปลักแรต
- ศูนย์เด็กเล็กลาดบัวขาว
|
- โรงเรียนทั้ง 4 แห่ง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณอาหารกลางวันอย่างทั่วถึง รวมเป็นเงิน 30,000 บาท และผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 81.53
|
กิจกรรมสนับสนุนเครื่องเอกซเรย์ชนิดเคลื่อนที่แก่โรงพยาบาลบ้านโป่ง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 |
- สนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์
- สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์
|
สมทบเงินจำนวน 10,000 บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องเอกซเรย์ชนิดเคลื่อนที่ให้แก่โรงพยาบาลบ้านโป่ง สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษา |
สร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มอุปกรณ์สำหรับตรวจรักษาในโรงพยาบาล |
ราช กรุ๊ป
โครงการการศึกษาเสริมทักษะสร้างอาชีพ (Education for Career Empowerment Project) สปป.ลาว
สปป. ลาว ถือเป็นฐานการดำเนินธุรกิจที่สำคัญของบริษัทฯ และได้ริเริ่มโครงการนี้เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ โดยได้ประสานความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป. ลาว ดำเนินโครงการฯ นับตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน
โครงการนี้สนับสนุนการพัฒนาทักษะวิชาชีพด้านเทคนิคของนักเรียนระดับอาชีวศึกษา ที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาและการสร้างแรงงานฝีมือของ สปป. ลาว นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวยังมุ่งหวังที่จะตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education) เป้าประสงค์ที่ 4.4 การเพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดี และการเป็นผู้ประกอบการด้วย
กลุ่มเป้าหมาย |
สาขาวิชาเป้าหมาย |
เป้าหมาย |
นักเรียนและครู
ระดับอาชีวศึกษา |
- ไฟฟ้าควบคุม PLC
- เชื่อมโลหะ
- เครื่องกล
- พลังงานทดแทน
- ซ่อมทั่วไป
|
นักเรียนที่จบการศึกษา
ได้รับการจ้างงาน |
ผลการดำเนินงานปี 2554-2564
การพัฒนา ห้องฝึกปฏิบัติการ |
ปรับปรุงและซ่อมแซมอุปกรณ์ห้องฝึกปฏิบัติการ 8 ห้อง ใน 7 วิทยาลัย |
การอบรมครู |
อบรมครูสาขาวิชาเป้าหมายจำนวน 100 คน |
การอบรมนักเรียน |
รวม 1,154 คน แบ่งเป็น
- สาขาช่างเชื่อมโลหะ จำนวน 502 คน
- สาขาช่างไฟฟ้าควบคุม จำนวน 226 คน
- สาขาช่างซ่อมทั่วไป จำนวน 376 คน
- สาขาติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 50 คน
|
อัตราการจ้างงานนักเรียนที่จบการศึกษา |
ผลการติดตามการจ้างงานและการประกอบอาชีพภายหลังจบการศึกษาของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่ปี 2554-2564 จำนวน 658 คน คิดเป็นร้อยละ 57 ของผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด พบว่า นักเรียนจำนวน 589 คน คิดเป็นร้อยละ 90 มีการจ้างงานและศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป |
โครงการกล้าดี
บริษัทฯ สนับสนุนนักเรียนในพื้นที่จังหวัดน่าน ในการพัฒนาโครงงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ก่อประโยชน์ต่อชุมชน จำนวน 4 โครงงาน ดังนี้
โครงการกล้าดีออกป่าไม่เผาก็ดำสร้างรายได้ |
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ่อเกลือ |
ผลการดำเนินงาน ปี 2564
- ประสบความสำเร็จในการทดลองเปลี่ยนสีหญ้าสามเหลี่ยมให้เป็นสีดำ ด้วยการรดน้ำขี้เถ้าจากฟืน โดยไม่ต้องเผา
- ขยายผลด้วยการถ่ายทอดวิธีการปลูกหญ้าสามเหลี่ยมด้วยน้ำขี้เถ้าไปยังกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งมีสมาชิก 10 ครัวเรือน
|
โครงการ BROWN BALL GREEN FOREST |
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านหลวง |
ผลการดำเนินงาน ปี 2564
- ประสบผลสำเร็จในการทดลองผลิตกระดาษเพาะเมล็ดพันธุ์พืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ ใยกล้วย กาบมะพร้าว กระดาษแผงไข่ น้ำหมักชีวภาพ และฟางข้าว
- ประสบความสำเร็จในการทดลองผลิตลูกบอลเพาะเมล็ดพันธุ์จากซังข้าวโพด และสามารถผลิตได้ 500 ลูก ซึ่งได้นำแจกจ่ายให้ชุมชน
|
โครงการมหัศจรรย์เพาะพันธุ์จากกระดาษ |
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสา |
ผลการดำเนินงาน ปี 2564
- ประสบความสำเร็จในการทดลองเพาะเมล็ดพันธุ์ไม้แดง และพันธุ์พญาเสือโคร่ง ด้วยการนำเศษซังข้าวโพด เปลือกข้าวโพดที่เหลือทิ้งมาผสมดิน ขุยมะพร้าว แกลบ มูลสัตว์ มาทำเป็นลูกบอลหุ้มเมล็ดพันธุ์ และห่อด้วยกระดาษรีไซเคิลผสมกระดาษแผงไข่
- อัตราการรอดตายร้อยละ 85
- นำต้นกล้าที่ได้จากการทดลอง 250 ต้น มอบให้ชุมชน เพื่อปลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน
- จัดทำสื่อคลิปวิดีโอสั้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ และในกลุ่มแอปพลิเคชัน LINE ของชุมชน
|
โครงการวัฒนธรรมชาติ |
กลุ่มเยาวชนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดก้อ |
ผลการดำเนินงาน ปี 2564
- จัดตั้งจุดคัดแยกขยะในชุมชน จำนวน 5 จุด และรอบชุมชนบ้านก้อ
- จัดทำฝายแม้ว จำนวน 2 แห่ง ในพื้นที่ป่าของชุนชนบ้านก้อ
|
โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน
เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2551 มุ่งหวังให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผืนป่า ในรูปแบบป่ายั่งยืน ชุมชนได้ประโยชน์และเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Sink) พร้อมทั้งสนองตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าประสงค์ที่ 13.3 พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัว การลดผลกระทบ และการเตือนภัยล่วงหน้า
ภายใต้โครงการดังกล่าว บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมประกวดป่าชุมชน โดยคัดเลือกชุมชนทุกภูมิภาคของประเทศที่มีการบริหารจัดการป่าตามหลักการ "ป่ายั่งยืน ชุมชนได้ประโยชน์" อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อมอบเงินรางวัลให้แก่ชุมชนนําไปใช้ในการพัฒนา ดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าชุมชนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
กิจกรรมประกวดป่าชุมชนตัวอย่าง |
วัตถุประสงค์ |
- ตอบสนองนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนของบริษัทฯ ในมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ผลักดันและขยายผลให้จำนวนป่าชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศ และเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
- ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่ชุมชนสามารถพึ่งพิงได้อย่างยั่งยืน
- ชุมชนสามารถนำเงินรางวัลไปใช้ในการพัฒนา ดูแลและฟื้นฟูป่าชุมชนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
|
กลุ่มเป้าหมาย |
ป่าชุมชนทั่วประเทศ |
เป้าประสงค์ |
ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศด้วยการเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน |
ผลการดำเนินงาน
|
ผลการดำเนินงาน
ปี 2564 |
ผลการดำเนินงานสะสม
ปี 2551-2564 |
ป่าชุมชนที่เข้าร่วมประกวด (แห่ง) |
1,362 |
15,868 |
ป่าชุมชนที่ได้รับรางวัล (แห่ง) |
146 |
1,974 |
พื้นที่ (ไร่) |
123,979 |
1,276,389 |
ศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (ตันคาร์บอนต่อปี) |
781,068 |
8,041,252 |
เงินรางวัล (บาท) |
3,155,000 |
43,020,000 |
หมายเหตุ : ค่าเฉลี่ยอัตราการกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้ เท่ากับ 6.3 ตัน/ไร่