การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นประเด็นที่สำคัญของภาคธุรกิจพลังงานและไฟฟ้า ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียมีความต้องการและคาดหวังให้ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจนี้ดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้น และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการจัดทำกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งหมายที่จะไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้เห็นชอบและให้ดำเนินการศึกษาแนวทางและวิธีการที่มีความเป็นไปได้ในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization Roadmap) และกำหนดเป้าหมายที่มีความเป็นไปได้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทย

นอกจากนี้ กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังจะใช้เป็นแนวทางดำเนินงานเพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Consumption & Production) และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ด้วย

การกำกับดูแลงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หน่วยงาน บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คณะกรรมการบริษัทฯ
  • บูรณาการประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ามาอยู่ในการกำกับดูแล โดยนำมารวมไว้ในระบบการบริหารความเสี่ยงองค์กร ระบบการควบคุมภายใน กลยุทธ์ธุรกิจและเป้าหมาย
  • กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ทิศทาง และกลยุทธ์การดำเนินงานที่จะทำให้บริษัทฯ สามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และขับเคลื่อนไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ
  • กำกับดูแลและชี้แนะแนวทางกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน และกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนปฏิบัติการ และเป้าหมายของบริษัทฯ พร้อมทั้งกำกับติดตามการนำกลยุทธ์และแผนงานไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
  • ให้ความเห็นชอบกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งตัวชี้วัดและเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทของบริษัทฯ
  • ติดตามความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการ
บริหารความเสี่ยง
  • บูรณาการประเด็นโอกาสและความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ามารวมในการบริหารความเสี่ยงองค์กรและกระบวนการประเมินความเสี่ยง
  • กำกับดูแลและติดตามประสิทธิภาพของระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบควบคุมภายใน รวมทั้งความสอดคล้องของกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คณะกรรมการ
ธรรมาภิบาล
และความยั่งยืน
  • กำกับดูแลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ความยั่งยืน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสในระดับองค์กร
  • ให้ความเห็นชอบและชี้แนะแนวทางกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายที่เกี่ยวข้องตลอดจนแผนงานและเป้าหมายที่ตอบสนองต่อกลยุทธ์ พร้อมทั้งนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นชอบ
คณะกรรมการ
ตรวจสอบ
  • ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ พร้อมให้ข้อเสนอแนะ
คณะกรรมการ
กลั่นกรองการลงทุน
  • กำกับดูแลการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการพิจารณาการลงทุนโครงการ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสในระดับโครงการและองค์กร
กรรมการผู้จัดการใหญ่
  • ถ่ายทอดแนวทางชี้แนะของคณะกรรมการบริษัทฯ มาสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ติดตามประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามแผนงานเทียบกับเป้าหมายที่คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติไว้
รองกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่
พัฒนาธุรกิจ
  • บูรณาการประเด็นความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไปในกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ (Feasibility) และการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและประเมินทรัพย์สิน (Due Diligence) เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจลงทุน
รองกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่
พัฒนาโครงการ
  • ติดตามการดำเนินงานและการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อกำหนด EIA และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงของการก่อสร้างโครงการ
  • พิจารณาความเสี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นสำหรับประเมินความเหมาะสมของโครงการใหม่
รองกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่
บริหารสินทรัพย์
  • ควบคุมดูแลประสิทธิภาพของระบบการบริหารความเสี่ยงองค์กร การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทร่วม
  • ติดตามผลการดำเนินงานของสินทรัพย์ต่างๆ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงไฟฟ้า/โครงการ
  • ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในโรงไฟฟ้า/สินทรัพย์ต่างๆ
รองกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่
การเงิน
  • ดำเนินการจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนา/ลงทุนโครงการสีเขียวหรือโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทฯ
  • ติดตามผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของเจ้าหนี้ มาตรฐานทางบัญชี และการรายงานการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้ช่วยกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่
บริหารองค์กร
  • ดำเนินการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน และกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการปฏิบัติตามแผนที่นำทางและเป้าหมายของบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการ (Operational Control)
  • ติดตามการดำเนินงาน ความก้าวหน้าของแผนงานและเป้าหมาย พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
การประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในปี 2565 กิจการที่ดำเนินงานในประเทศไทย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม จำนวน 22 โครงการ ได้ทำการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกรอบมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD: Task Force on Climate-Related Financial Disclosures) โดยแบ่งเป็นความเสี่ยงด้านกายภาพ (Physical Risks) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั้งแบบฉับพลัน (Acute) และแบบสะสม/ค่อยเป็นค่อยไป (Chronic) และความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risks) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของชุดความคิดของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย นโยบาย กฎหมายหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเทคโนโลยี

การประเมินความเสี่ยงด้านกายภาพและการบริหารจัดการผลกระทบ
ความเสี่ยงด้านกายภาพ
แบบฉับพลัน (Acute) แบบสะสมหรือค่อยเป็นค่อยไป (Chronic)
เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง เช่น พายุ น้ำท่วม เป็นต้น
  • น้ำท่วมเป็นสาเหตุให้เกิดการทับถมของตะกอนดินภายในเขื่อนที่อาจทำให้เกิดอันตรายหรือความเสียหายต่อเครื่องกังหันน้ำที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า
  • ภาระความตึงเครียดของน้ำ หรือน้ำแล้งที่ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำหรือไม่มีน้ำใช้ในการเดินเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้า
  • การเกิดฟ้าผ่าที่ทำให้โครงการต้องหยุดเดินเครื่องและสร้างความเสียหายต่อระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้า
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสภาพภูมิอากาศในระยะยาว เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น ที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น หรือการเกิดคลื่นความร้อน เป็นต้น
  • คลื่นความร้อนอาจส่งผลหรือลดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานและประสิทธิภาพของการผลิตพลังงานไฟฟ้า
การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านกายภาพ

บริษัทฯ ประยุกต์ใช้ฉากทัศน์ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านกายภาพของบริษัทฯ และกลุ่มกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารในประเทศไทย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็น 2 แนวทาง คือ

  • RCP 2.6 ประเมินการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่ 1.6 องศาเซลเซียส ในปี 2593 (ค.ศ. 2050)
  • RCP 8.5 ประเมินการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่ 4.3 องศาเซลเซียส ในปี 2593 (ค.ศ. 2050)

การประเมินความเสี่ยงได้พิจารณาถึงผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อกลยุทธ์ของบริษัทฯ ใน 6 ด้าน ได้แก่

  1. การเงิน
  2. สุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
  3. พันธมิตร/ลูกค้า
  4. กฎระเบียบต่าง ๆ
  5. ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และสังคม
  6. เป้าหมาย/ความสำเร็จ

โดยแบ่งช่วงเวลาของผลกระทบออกเป็นระยะสั้น (ภายใน 2 ปี) ระยะกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (6-10 ปี) ผลสรุปมีดังนี้

ปัจจัยความเสี่ยงด้านกายภาพ: ภัยแล้ง
การคาดการณ์ผลกระทบ
  • การขาดแคลนน้ำและปริมาณน้ำใช้ที่มีจำกัด
  • ปริมาณน้ำใช้ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อด้านการผลิตและรายได้
ระยะเวลาเกิดผลกระทบ ระยะสั้น-ระยะกลาง
ผลที่ได้จากการประเมิน จำนวนวันที่เกิดภาวะแห้งแล้งติดต่อกันมากที่สุดในออสเตรเลียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากที่สุด ภายใต้ฉากทัศน์ RCP 2.6 (8%) ทั้งในปี ค.ศ. 2030 และ 2050 เช่นเดียวกับฉากทัศน์ RCP 8.5
ตัวอย่างผลกระทบทางการเงิน
  1. เงินลงทุนการสร้างอ่างเก็บน้ำดิบ 0.6 ล้านบาทของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
  2. เงินลงทุนระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ 12 ล้านบาทของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
การเปลี่ยนแปลงของจำนวนวันสูงสุดที่จะเกิดปัญหาภัยแล้ง (เทียบกับปีฐาน ในช่วงปี ค.ศ. 1995-2014)
มาตรการจัดการ เพิ่มการลงทุนเพื่อหาแหล่งน้ำสำรอง
ปัจจัยความเสี่ยงด้านกายภาพ: น้ำท่วม
การคาดการณ์ผลกระทบ
  • สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน อุปกรณ์เครื่องจักรที่มีมูลค่าสูง ซึ่งมูลค่าความเสียหายจะสูงกว่าค่าซ่อมแซม
  • การเกิดน้ำท่วมรุนแรงอาจสร้างความเสียหายต่อระบบสายส่ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในระบบไฟฟ้า และชิ้นส่วนอะไหล่ที่สำคัญของคู่ค้า
ระยะเวลาเกิดผลกระทบ ระยะสั้น-ระยะกลาง
ผลที่ได้จากการประเมิน จำนวนวันสูงสุดที่เกิดฝนตกหนักในประเทศไทย เวียดนาม และอินโดนีเซียที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมากที่สุด ภายใต้ฉากทัศน์ RCP 8.5 ในปี ค.ศ. 2050
ตัวอย่างผลกระทบทางการเงิน การก่อสร้างฐานรากเพื่อป้องกันน้ำท่วม เป็นเงิน 50 ล้านบาทของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
การเปลี่ยนแปลงของจำนวนวันสูงสุดที่จะเกิดฝนตกหนัก (เทียบกับปีฐานในช่วงปี ค.ศ. 1995-2014)
มาตรการจัดการ
  • เชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อติดตามสถานการณ์ระดับน้ำ
  • สร้างอ่างเก็บน้ำฝนและระบบกักเก็บน้ำ เพื่อบริหารจัดการในช่วงที่ฝนตกชุกหรือน้ำท่วม (รวมถึงประยุกต์ใช้ในกรณีน้ำขาดแคลนด้วย)
ปัจจัยความเสี่ยงด้านกายภาพ: สภาพอากาศสุดขั้ว
การคาดการณ์ผลกระทบ
  • สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักรและอุปกรณ์
  • ทำให้เกิดการบาดเจ็บของผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากวัสดุตกใส่
  • การเกิดฟ้าผ่าที่สร้างความเสียหายต่อระบบส่งไฟฟ้า และพายุลูกเห็บที่สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน
แต่ผลการประเมิน พบว่า ความเสี่ยงนี้ยังไม่ส่งกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ
ระยะเวลาเกิดผลกระทบ ระยะยาว
ผลที่ได้จากการประเมิน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะความเร็วลมในประเทศไทย เวียดนามและอินโดนีเซีย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุดภายใต้ฉากทัศน์ RCP 8.5 ในปี 2050
ตัวอย่างผลกระทบทางการเงิน ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ
การเปลี่ยนแปลงความเร็วลม
(เทียบกับปีฐานในช่วงปี ค.ศ. 1995-2014)
มาตรการจัดการ ไม่มีผลกระทบต่อกลุ่มบริษัทฯ
การประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risks) และการบริหารจัดการผลกระทบ

การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน

บริษัทฯ ใช้ฉากทัศน์ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน ที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลยุทธ์ใน 6 ด้าน ได้แก่

  1. การเงิน
  2. สุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
  3. พันธมิตร/ลูกค้า
  4. กฎระเบียบ
  5. ชื่อเสียงและภาพลักษณ์
  6. เป้าหมาย/ความสำเร็จ

โดยแบ่งช่วงเวลาของผลกระทบออกเป็นระยะสั้น (ภายใน 2 ปี) ระยะกลาง (3-5 ปี) และระยะยาว (6-10 ปี)

ฉากทัศน์ที่ใช้วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน
ฉากทัศน์ คำอธิบาย ปีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ในปี ค.ศ.2100
นโยบายภาครัฐ (State Policy Scenario)
  • นโยบายของภาครัฐ และเป้าหมาย NDC ภายใต้ข้อตกลงปารีส
  • การประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลไทย ในปี ค.ศ. 2015 หลังการประชุม COP21
  • ระยะสั้น : ลดการปล่อย GHG 20% ในปี ค.ศ.2030 เทียบกับปีฐาน ค.ศ.2020 (คิดเป็น 0.8% ต่อปี)
  • ระยะยาว : ยังไม่ประกาศเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission: NZE)
มากกว่า 2°C
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Scenario)
  • ความมุ่งมั่นเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สำเร็จในอนาคตอันใกล้นี้ โดยประเทศพัฒนาแล้วตั้งเป้าหมาย ปี ค.ศ. 2050 จีนตั้งเป้าหมายปี ค.ศ. 2060 และประเทศอื่นๆ ภายในปี ค.ศ. 2070 เป็นอย่างช้า
  • ประเทศไทยประกาศนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกเมื่อปี ค.ศ. 2021 หลังการประชุม COP26
  • ระยะสั้น : ลดการปล่อย GHG 36.9% ในปี ค.ศ. 2030 เทียบกับปีฐาน ค.ศ. 2020
  • ระยะยาว : การประกาศความมุ่งมั่นสู่ NZE ในปี ค.ศ. 2065
  • อ้างถึงการกำหนดเป้าหมายScience Based Targets initiative (SBTi) เพื่อคงรักษาอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5-2°C
1.5-1.7°C
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (NZE) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานในเป้าหมาย SDG ขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะการเข้าถึงการบริการด้านพลังงานสมัยใหม่ ภายในปี ค.ศ. 2030 และการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ
  • ระยะสั้น : ลดการปล่อย GHG 42% ในปี ค.ศ. 2030 เทียบกับปีฐาน ค.ศ. 2020
  • ระยะยาว : การประกาศความมุ่งมั่นสู่ NZE ในปี ค.ศ. 2050
  • อ้างถึงการกำหนดเป้าหมาย SBTi เพื่อคงรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5°C
คงไว้ที่ 1.5°C
สรุปผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนผ่าน
ความเสี่ยง ระยะเวลา ความเสี่ยงและผลกระทบ ทางด้านการเงิน มาตรการจัดการ
การบังคับใช้ ภาษีคาร์บอน ระยะกลาง (3-5 ปี)
  • นโยบายและกฎหมายในการควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้มีการนำมาตรการภาษีคาร์บอนมาบังคับใช้
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • การลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ/กักเก็บคาร์บอนสำหรับโรงไฟฟ้าเดิมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เพื่อกำจัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต
  • การเข้าซื้อสินทรัพย์ใหม่ที่ใช้พลังงานทดแทนหรือโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีการใช้เทคโนโลยีในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกอยู่แล้ว
  • การหลีกเลี่ยง/ยกเลิกการลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหิน
การวิเคราะห์โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทฯ ได้ประเมินโอกาสที่ได้จากการเปลี่ยนผ่านทั้งในด้านการตลาด เทคโนโลยี กฎหมายและข้อกำหนด ไว้พร้อมด้วยโดยพบว่า จะมีโอกาสในการขยายธุรกิจนอกภาคพลังงานเกิดขึ้น เช่น การลงทุนด้านพลังงานไฮโดรเจน และการพัฒนาพลังงานทดแทน รวมถึงการให้บริการติดตั้ง การผลิตและการบำรุงรักษาโครงการพลังงานทดแทนด้วย

โอกาส ประเภทโอกาส ระยะเวลา โอกาสและผลกระทบ ทางด้านการเงิน แนวทางการบริหารจัดการ
การขยายธุรกิจนอกภาคพลังงาน การตลาด ระยะกลาง บริษัทฯ วางแผนการใช้พลังงานไฮโดรเจน และศึกษาการพัฒนาเทคโนโลยีในต่างประเทศ
  • ลงทุนการผลิต Green Hydrogen รวมถึงเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
  • ลงทุนในการวิจัย และพัฒนาร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ
การเปลี่ยนไปสู่พลังงานทดแทน แหล่งพลังงาน ระยะกลาง บริษัทฯ วางแผนจะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกและประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายกำลังการผลิตพลังงานทดแทนไว้ที่ 25% และ 40% เทียบกับกำลังการผลิตรวม 10,000 เมกะวัตต์ในปี 2568 และ 2578 ตามลำดับ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในทุกรูปแบบ (Solar Panel, Solar Rooftop และ Solar Floating)รวมถึงธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในด้านการให้บริการติดตั้งการผลิต และการบำรุงรักษา
กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลจากการประเมินความเสี่ยงข้างต้นได้นำมาสู่การพัฒนากลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานในการลดผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและรองรับการปรับตัวของบริษัทฯ สำหรับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ ดังนี้

1) การลดก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่

2) การประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก ได้แก่

เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ
กลยุทธ์ เป้าหมายปี 2568 เป้าหมายปี 2578
1. การกำหนดสัดส่วนเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้า
  • กำลังการผลิตรวม 10,000 เมกะวัตต์
  • สัดส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิล ร้อยละ 75
  • สัดส่วนพลังงานทดแทน ร้อยละ 25
  • กำลังการผลิตรวม 10,000 เมกะวัตต์
  • สัดส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิล ร้อยละ 60
  • สัดส่วนพลังงานทดแทน ร้อยละ 40
2. การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 6,000,000 tCO2e คิดเป็น 70% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ลดลง 15% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ 10,000,000 tCO2e คิดเป็น 100% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ ลดลง 25% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558
3. การเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บได้ 83,000 tCO2e
  • ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บได้ 280,000 tCO2e
4. การพัฒนาความรู้และสร้างความตระหนัก
  • พนักงานเข้ารับการอบรมร้อยละ 80
  • การลดการใช้เชื้อเพลิงของชุมชนผ่านโครงการพลังงานชุมชน โดยมีเป้าหมายชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 80
  • พนักงานเข้ารับการอบรมร้อยละ 90
  • การลดการใช้เชื้อเพลิงของชุมชนผ่านโครงการพลังงานชุมชน โดยมีเป้าหมายชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 90
5. การเปิดเผยข้อมูล
  • รายงานความยั่งยืน ตามมาตรฐาน GRI
  • 56-1 One Report
  • Carbon Disclosure Project (CDP)
  • การเข้าร่วมประเมินความยั่งยืนขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ
  • รายงานความยั่งยืน ตามมาตรฐาน GRI หรือที่เกี่ยวข้อง
  • 56-1 One Report
  • Carbon Disclosure Project (CDP)
  • การเข้าร่วมประเมินความยั่งยืนขององค์กรทั้งในและต่างประเทศ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ดาวน์โหลด
การเปิดเผยข้อมูลตามกรอบ TCFD
ดาวน์โหลด