บริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อป้องกันผลกระทบและผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้ รวมถึงมีระบบการติดตามคุณภาพ มลภาวะหรือของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต นอกเหนือไปจากนั้นยังมีเป้าหมายในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้ได้ครบถ้วนสมบูรณ์และมีคุณภาพที่ดีกว่าที่มาตรฐานกำหนด

บริษัทฯ ตระหนักดีว่า กระบวนการดำเนินกิจกรรมการผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นธุรกิจหลักสำคัญ จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมากและยังมีโอกาสและความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบพื้นที่โครงการ บริษัทฯ จึงจัดให้มีการกำกับดูแลระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อลดโอกาสและความเสี่ยงของผลกระทบให้เหลือน้อยที่สุด

สำหรับการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้ประยุกต์ใช้ข้อกำหนดของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงมาตรฐานสากลด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มาใช้วางกรอบปฏิบัติในจรรยาบรรณบริษัทฯ นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ซึ่งหลักปฏิบัติทั้งหมดเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดไปยังกิจการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินงานและกำหนดเป้าหมายขององค์กรให้สอดคล้องกับบริษัทฯ ต่อไป

โครงสร้างการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม

การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ

การจัดการก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (tCO2e) จากการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO)
โรงไฟฟ้า ทางตรง (ขอบเขตที่ 1)
  • การใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล
  • การใช้เชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
  • การใช้หินปูนในระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  • การรั่วไหลของก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และสารทำความเย็น
ทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2)
  • การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง
ทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3)
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต้นน้ำ
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งปลายน้ำ
ปี (ปีฐาน) 2563 2564 2565* (ปีฐาน) 2563 2564 2565* 2563 2564 2565*
ราชบุรี 7,128,375
(2558)
4,997,704 4,950,948 6,302,398 27,702
(2558)
18,837 28,131 22,270 - 2,413,616 2,729,674
ราชโคเจนฯ - 313,927 300,854 307,544 - 25 1,069 149 91,804 88,628 89,527
นวนคร - - 515,185 485,947 - - 50 31 - 159,912 153,777
สหโคเจน (ชลบุรี) - - - 525,399 - - - 16 - - 139,785
อาคาร ราช กรุ๊ป 73
(2561)
664 43 58 1,110
(2561)
888 813 846 - 36 46

หมายเหตุ: * ข้อมูลอยู่ระหว่างการทวนสอบ

การใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน

โรงไฟฟ้าที่อยู่ในอำนาจควบคุมการบริหารของบริษัทฯ จำนวน 6 แห่ง มีกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งหมด 4,089 เมกะวัตต์ คิดตามสัดส่วนรายได้คิดเป็นร้อยละ 83.81 ของรายได้รวมในปี 2565 โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ยกเว้นโรงไฟฟ้าราชบุรี ที่มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 3,645 เมกะวัตต์ (สัดส่วนรายได้คิดเป็นร้อยละ 72.25 ของรายได้รวมในปี 2565) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าหลักของบริษัทฯ ถูกออกแบบให้สามารถใช้เชื้อเพลิงได้ 2 ประเภท คือ ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และน้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง ซึ่งจะใช้ในกรณีที่แหล่งก๊าซธรรมชาติจากพม่าหยุดซ่อมบำรุงและเหตุจำเป็นอื่นๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ระบบไฟฟ้าของประเทศมีความมั่นคง

อย่างไรก็ดี การใช้เชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าราชบุรี จะเป็นไปตามคำสั่งของศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งในปี 2565 ได้สั่งการให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีเครื่องที่ 1 และ 2 ที่มีกำลังการผลิตเครื่องละ 735 เมกะวัตต์เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันเตา

ตัวชี้วัด หน่วย ปี 2565 ปี 2564 ปี 2563
ปริมาณก๊าซธรรมชาติ ล้าน ลบ.ฟุต 149,202 121,482 129,310
ปริมาณน้ำมันเตา ลิตร 290,691,483 161,121,423 0
ปริมาณน้ำมันดีเซล ลิตร 21,881,178 9,244,423 2,020,571
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้สุทธิ เมกะวัตต์-ชั่วโมง 18,488,776 14,625,418 14,933,403
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทน เมกะวัตต์-ชั่วโมง 13,860 2,858 0
หมายเหตุ:
- ปี (2565) รายงานผลรวมของโรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น โรงผลิตไฟฟ้านวนคร โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยองและโรงไฟฟ้า สหโคเจน (ชลบุรี)
- ปี 2563 และ 2564 ไม่รวมโรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) และโรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง
การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน

ในปี 2565 ผลการดำเนินงานเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการผลิตของทุกโรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ มีอำนาจในการควบคุมพบว่า ประสิทธิภาพการผลิตของโรงไฟฟ้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 47.65 ซื่งเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

โดยโรงไฟฟ้าภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ได้คิดค้นการปรับเทคนิควิธีการเดินเครื่องหรือปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆของโรงไฟฟ้า เพื่อมุ่งหวังที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน และยังก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมด้านเศรษฐกิจจากการลดต้นทุนการผลิต รวมถึงตอบสนองเป้าหมายของการบริโภคที่ยั่งยืน

การบริหารจัดการน้ำ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งวางแผนการใช้น้ำในกระบวนการผลิตด้วยหลักการลดการใช้น้ำ เพิ่มการใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้น้ำที่จะนำมาซึ่งของเสีย ตามหลักการ 3Rs เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้ทรัพยากรน้ำให้คุ้มค่า ลดการสูญเสีย ช่วยให้การใช้น้ำดิบลดลง ขณะเดียวกันยังเป็นการลดปริมาณน้ำทิ้งที่ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าอีกด้วย

ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ

โรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ ควบคุมการบริหารในประเทศไทยมีการใช้น้ำดิบสำหรับกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก 3 แหล่งที่สำคัญ คือ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำบางปะกง ซึ่งบริษัทฯ และโรงไฟฟ้ากลุ่มของบริษัทฯ ได้ติดตามและเฝ้าระวังสัดส่วนการระบายน้ำในลุ่มน้ำ และสัดส่วนการสูบน้ำดิบมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำและการแย่งชิงน้ำกับชุมชน รวมทั้งประเมินความตึงเครียดของน้ำ โดยใช้ข้อมูลของสถาบันทรัพยาการโลก (World Resources Institute: Aqueduct Water Risk Atlas and the Water Risk Filter) ผลการวิเคราะห์พบว่า ระดับความตึงเครียดของน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองจะมีค่าในระดับต่ำ ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำบางปะกงความตึงเครียดอยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินมาตราการจัดการความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะสำหรับโรงผลิตไฟฟ้านวนคร และโรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น ที่ใช้น้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และโรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) และโรงไฟฟ้า เน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง ที่ใช้น้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบในลุ่มน้ำบางปะกง ผ่านสัญญาซื้อขายน้ำประปาระยะยาว และได้บริหารจัดการความเสี่ยงด้วยการกำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำประปาต้องจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และแหล่งน้ำฉุกเฉินสำหรับรองรับกรณีที่เกิดภัยแล้งหรือขาดแคลนน้ำในแหล่งน้ำหลัก เพื่อให้โรงไฟฟ้ามีปริมาณน้ำดิบเพียงพอสำหรับใช้ในกระบวนการผลิต

การใช้น้ำในการผลิตไฟฟ้า ปี 2565
โรงไฟฟ้า แหล่งน้ำ ปริมาณน้ำดิบ (ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อหน่วยการผลิต (ลบ.ม./เมกะวัตต์-ชั่วโมง) น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต ปริมาณการใช้น้ำสุทธิ (น้ำดิบ-น้ำทิ้ง) (ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณ (ล้าน ลบ.ม.) เทียบกับน้ำดิบที่ใช้ (%) แหล่งรองรับ
ราชบุรี แม่น้ำแม่กลอง 16.67 1.13 1.60 9.59 คลองบางป่า 15.07
เบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น แม่น้ำแม่กลอง 0.89 1.49 0.27 29.98 แม่น้ำแม่กลอง 0.63
นวนครและส่วนขยาย น้ำประปาที่ผลิตจาก
แม่น้ำเจ้าพระยา
1.78 1.55 0.12 6.71 ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคม 1.66
ราช โคเจนเนอเรชั่น น้ำประปาที่ผลิตจาก
แม่น้ำเจ้าพระยา
0.97 1.36 0.11 11.21 ส่งให้องค์กรอื่นนำไปใช้ประโยชน์ 0.86
เน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง น้ำประปาที่ผลิตมาจากแม่น้ำบางปะกง 0.40 1.33 0.07 17.62 คลองช้างตาย 0.33
สหโคเจน (ชลบุรี) น้ำประปาที่ผลิตมาจากแม่น้ำบางปะกง 1.79 1.78 0.54 29.94 สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ 1.26

การเพิ่มรอบการใช้น้ำในระบบหล่อเย็น

โรงไฟฟ้าที่อยู่ในอำนาจบริหารของบริษัทฯ จำนวน 6 แห่งในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการใช้น้ำในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยการพยายามศึกษาและหาวิธีการลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการใช้น้ำในระบบหอหล่อเย็น ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการใช้น้ำในปริมาณสูง โดยการจัดการและควบคุมคุณภาพน้ำให้มีการหมุนเวียนน้ำหล่อเย็นที่ใช้ในระบบให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดปริมาณน้ำดิบที่เป็นวัตถุดิบขาเข้าระบบ พร้อมทั้งลดการเกิดน้ำเสียที่ออกจากระบบโดยไม่จำเป็น ผลการดำเนินงานในปี 2565 มีดังนี้

โครงการ จังหวัด เป้าหมายจำนวนรอบ
การใช้น้ำ (รอบ)
จำนวนรอบการใช้น้ำเฉลี่ย ปี 2565
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี ราชบุรี 4-6 2.6
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี 4-6 4.8
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น 5 3.7
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร ปทุมธานี 5 4.1
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น 6 7.3
โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง ระยอง 6 6.7
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) ชลบุรี 5-13 (ชุดที่ 1) 7.8
3-8 (ชุดที่ 2-3) 4.1
การจัดการของเสีย

โรงไฟฟ้าทุกแห่งที่อยู่ในอำนาจการบริหารของบริษัทฯ ได้ทุ่มเทความพยายามในการบริหารและจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมการดำเนินงานของที่โรงไฟฟ้า โดยที่โรงไฟฟ้าต่าง ๆ ได้เลือกนำหลักการ 3Rs มาใช้ในการจัดการของเสีย ซึ่งเน้นการใช้วัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำกลับมาใช้ซ้ำและลดการเกิดของเสีย และการซ่อมแซมของวัสดุที่ชำรุดมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพิ่มการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง และหลีกเลี่ยงวัสดุที่จะสร้างของเสีย ที่สำคัญโรงไฟฟ้ามีความมุ่งมั่นที่จะลดการกำจัดของเสียอันตรายด้วยวิธีการฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Hazardous Waste to Landfill) อีกด้วย

นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าที่อยู่ในประเทศไทย ยังได้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีการติดตามของเสียที่ผู้รับกำจัดนำออกไปดำเนินการ โดยใช้ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย (Manifest System) เพื่อกำกับดูแลตลอดกระบวนการตั้งแต่การขนส่งจนกระทั่งของเสียนั้นส่งถึงโรงงานรับกำจัดหรือบำบัด รวมไปถึงการติดตามการรายงานที่ผู้รับกำจัดได้รายงานข้อมูลการกำจัดของเสียนั้นไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

ปริมาณของเสียและวิธีการกำจัด

ของเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากกิจกรรมการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าในกลุ่มบริษัทฯ สามารถจำแนกจาก 2 แหล่งที่มาคือของเสียที่มาจากกระบวนการผลิต และของเสียที่เกิดขึ้นจากสำนักงานภายในโรงไฟฟ้า ซึ่งของเสียทั้งหมดจะถูกจำแนกออกเป็น ของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตราย เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการและเป้าหมายในการลดการฝังกลบของเสียอันตรายให้เป็นศูนย์ตามที่มุ่งหวัง

ผลการดำเนินงานปี 2565

ของเสียทั้งอันตรายและไม่อันตรายที่ได้รับการจัดการด้วยวิธีการต่างๆ สามารถแยกสัดส่วนการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recovery) เท่ากับร้อยละ 97.29 ในขณะที่การนำไปกำจัดด้วยวิธีการที่ใม่ใช่การฝังกลบเท่ากับร้อยละ 1.12

การจัดการ วิธีการ ปริมาณ (ตัน) ปริมาณรวม (ตัน) คิดเป็น
ร้อยละ
ของเสียไม่อันตราย ของเสียอันตราย
นำกลับไปใช้ใหม่ด้วย กระบวนการ (Recovery) ร้อยละ 97.29 นำกลับไปใช้ใหม่ (Reuse) 15.3 0 15.3 0.05
นำกลับไปรีไซเคิล (Recycle) 6,435.7 20.6 6,456.3 21.07
นำกลับไปใช้ใหม่ด้วยวิธีอื่น (Other Recovery) 23,335.2 11.9 23,347.1 76.17
นำไปกำจัด (Disposal) ร้อยละ 2.71 เผาแล้วได้พลังงานกลับมาใช้ (Incineration with Energy Recovery) 0 186.7 186.7 0.61
เผาทิ้งโดยไม่ได้พลังงานกลับมาใช้ (Incineration without Energy Recovery) 1.3 10.7 12 0.04
ฝังกลบ (Landfilling)/เก็บรวบรวม 459.4 34.7 494.1 1.61
กำจัดด้วยวิธีการอื่น (Other Disposal Operations) 0.9 137.0 137.9 0.45

การจัดการยิปซัมของโรงไฟฟ้าราชบุรี

เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี ได้รับคำสั่งจาก กฟผ. ให้เดินเครื่องด้วยน้ำเตามากขึ้นในปี 2565 ซึ่งต้องเดินเครื่องระบบดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ควบคู่ไปด้วย จึงทำให้มีปริมาณยิปซัมที่เป็นของเสียจากกระบวนการดักจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จำนวน 5,057.5 ตัน โดยยิปซัมนี้ถือเป็นของเสียที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 16.5 เมื่อเทียบกับปริมาณของเสียที่นำกลับมาใช้ใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าจะนำยิปซัมไปเก็บไว้ในบ่อฝังกลบยิปซัม เพื่อรอนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อไป

โรงไฟฟ้าราชบุรี ได้ทยอยนำยิปซัมที่เก็บไว้ไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผสมสำหรับการทำแผ่นยิปซัม และมอบให้ชุมชนใช้ประโยชน์ โดยในปีที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าได้นำยิปซัมไปใช้ประโยชน์รวม 5,057.5 ตัน และปริมาณยิปซัมสะสมที่นำไปใช้ประโยชน์ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบันมีจำนวน 45,758.5 ตัน สำหรับการผลิตแผ่นยิปซัม โรงไฟฟ้าราชบุรีได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก คือ บริษัท สยาม อุตสาหกรรมยิปซัม จำกัด และบริษัท คนอฟ ยิปซัม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มอบให้ชุมชนนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

การจัดการคุณภาพอากาศ

การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและความร้อนร่วมจำเป็นจะต้องมีการระบายอากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญและเข้มงวดในการควบคุมและจัดการมลสารสำคัญต่างๆ ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน และฝุ่นละอองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการระบายอากาศที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด

การตรวจวัดคุณภาพอากาศจากโรงไฟฟ้า

ในปี 2565 โรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ มีอำนาจควบคุมทั้งสิ้นจำนวน 6 แห่งซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรายได้ร้อยละ 83.81 ของรายได้รวมได้ดำเนินการตรวจวัดความเข้มข้นของมลสารจากปล่องระบายซึ่งมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี เครื่องที่ 1 และ 2 ในปีนี้ได้รับคำสั่งจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันเตา ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสำรองเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่มีราคาสูงขึ้น จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศของโรงไฟฟ้า พบว่า ยังมีค่ามาตรฐานเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด ซึ่งระบบการตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องระบายอากาศ ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากภายนอกด้วย

โรงไฟฟ้า ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของปริมาณมลสาร จากการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้า
NOX (ppm) SO2 (ppm) เชี้อเพลิงสำรอง
ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรี 25.95 102.28 0.43 192.43 น้ำมันเตา
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี 31.63 114.40 2.54 30.62 น้ำมันดีเซล
เป้าหมาย (ไม่เกินค่ามาตรฐานกำหนด)* 120 180 20 320 -
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น 26.15 - 0.25 - ไม่มี
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร 30.6 - 4.80 - ไม่มี
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น 44.5 - <1 - ไม่มี
โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง 44.7 - <2 - ไม่มี
เป้าหมาย (ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดใน EIA) 60 - 10 - -
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) หน่วยที่ HRSG#1 73.09 - 0.34 - ไม่มี
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) หน่วยที่ HRSG#2 75.13 - 0.29 - ไม่มี
เป้าหมาย (ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดใน EIA) 110 - 18 - -
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) หน่วยที่ HRSG#4 90.71 - 0.67 - ไม่มี
เป้าหมาย (ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดใน EIA) 108 - 18 - -
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) หน่วยที่ HRSG#5 22.83 - 0.54 - ไม่มี
เป้าหมาย (ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดใน EIA) 90 - 15 - -
หมายเหตุ :
- ค่าความเข้มข้นของมลสารวัดจากระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ (Continuous Emission Monitoring Systems)
* ค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. 2547

การตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าและชุมชน

นอกจากนี้ โรงไฟฟ้ายังมีการติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ในบริเวณใกล้เคียงโรงไฟฟ้าที่ถูกวิเคราะห์และประเมินว่ามีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของโรงไฟฟ้าตามที่ระบุไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าและชุมชนใกล้เคียงในปี 2565 นี้ พบว่า คุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ส่วนค่าโอโซนในชั้นบรรยากาศของโรงไฟฟ้าราชบุรี พบว่า ค่าตรวจวัดที่สถานีทิศเหนือลมและสถานีทิศท้ายลมจากพื้นที่โครงการมีค่าสูงกว่ามาตรฐาน และมักเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูแล้งของทุกปี

โรงไฟฟ้า ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ชั่วโมง
ฝุ่นละอองรวม (μg/m3) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (μg/m3) SO2 (ppb) SO2 (ppb) NO2 (ppb) O3 (ppb)
โรงไฟฟ้าราชบุรี 4-151 3-119 0-7 0-53 0-56 0-156*
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น 13-91 5-39 0.9-4.7 0.1-6.7 0.1-44.7 ไม่ตรวจวัด
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร 26-108 12-60 1-6.2 1-9 < 1-12.8 ไม่ตรวจวัด
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น 29-190 7-57 1.5-3.8 0.9-5.2 2-22.7 8.8-35.5
โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง 17-73 11-54 ไม่ตรวจวัด < 1-5 < 1-36 ไม่ตรวจวัด
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) 18-178 ไม่ตรวจวัด ไม่ตรวจวัด 1-39 1-40 ไม่ตรวจวัด
เป้าหมาย (ไม่เกินค่ามาตรฐาน) 330[1] 120[1] 120[1] 300[2] 170[3] 100[4]
หมายเหตุ : μg/m3 หมายถึง ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, ppb (part per billion) หมายถึง ส่วนในพันล้านส่วน
  • มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  • [1] ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2547) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป
  • [2] ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2544) เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศทั่วไปในเวลา 1 ชั่วโมง
  • [3] ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2552) เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป
  • [4] ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ ในบรรยากาศโดยทั่วไป
การจัดการมลภาวะทางเสียง

โรงไฟฟ้าของบริษัทฯ มีมาตรการในการเฝ้าระวังและควบคุมระดับเสียงจากกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ โดยแหล่งกำเนิดเสียงที่สำคัญจะมาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปั๊มสูบน้ำ และกิจกรรมการบำรุงรักษาของโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ดี โรงไฟฟ้าได้ดำเนินการและควบคุมให้เป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติงานและชุมชนโดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า

การควบคุมและป้องกันเสียง
  • ลดระดับเสียงจากแหล่งกำเนิด
  • ลดระดับเสียงที่ทางผ่านของเสียง
  • ป้องกันเสียงที่ผู้รับเสียง
  • สร้างห้องควบคุมบริเวณห้องเผาไหม้ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อลดปัญหาเรื่องเสียงจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
  • ติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับเสียง (Silencer) บริเวณที่มีการ Release Valve และบริเวณท่อต่อกับปั๊มสูบน้ำ
  • จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งให้ชุมชนทราบล่วงหน้า หากมีกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน
  • สร้างแนวป้องกันเสียง เช่น การปลูกต้นไม้รอบพื้นที่โรงไฟฟ้า
  • ติดตั้งสัญลักษณ์ ป้ายเตือน หรือ Safety Sign แสดงให้เห็นชัดเจนในพื้นที่ที่มีค่าเสียงดัง
  • กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง (PPE) ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานทุกครั้งและไม่ทำงานในพื้นที่ที่มีเสียงดังเกินมาตรฐานติดต่อกันเกินเวลาตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด
การตรวจวัดเสียง
  • ระดับเสียงจากแหล่งกำเนิด
  • ระดับเสียงในชุมชน/พื้นที่อ่อนไหว
  • ตรวจวัดระดับเสียงในพื้นที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐานสภาวะแวดล้อมในการทำงาน และจัดให้มีการตรวจวัดระดับเสียงทั่วไปบริเวณริมรั้วโรงไฟฟ้า และพื้นที่อ่อนไหวในชุมชน ปีละ 2 หรือ 4 ครั้ง
  • กำหนดให้มีการตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 ชั่วโมง) ระดับเสียงสูงสุด (Lmax) ระดับเสียงพื้นฐาน (L90) และระดับเสียงกลางวันและกลางคืน (Ldn) แบบ 5-7 วันต่อเนื่องครอบคลุมทั้งวันหยุดและวันทำการ

ผลการตรวจวัดระดับเสียงปี 2565

โรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ ควบคุมในประเทศไทยทั้งหมด จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนรายได้เท่ากับร้อยละ 83.81 ของรายได้รวมในปี 2565 สามารถควบคุมจัดการระดับเสียงให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด และที่สำคัญไม่มีข้อร้องเรียนเรื่องมลภาวะเสียงรบกวนจากพื้นที่ชุมชนโดยรอบในทุกโรงไฟฟ้า

หมายเหตุ: ค่ามาตรฐานระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 hr) และระดับเสียงสูงสุด (Lmax) อ้างอิงค่ามาตรฐานตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป
ทรัพยากรธรรมชาติ
ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและอัตราการใช้ความร้อน
ดาวน์โหลด
กำลังการผลิตไฟฟ้าตามชนิดเชื้อเพลิง
ดาวน์โหลด
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ดาวน์โหลด
การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
การติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพ
ดาวน์โหลด
โครงการ คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน
ดาวน์โหลด
ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม
ดาวน์โหลด
ข้อปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อม
รายงานด้านสิ่งแวดล้อม
ดาวน์โหลด