บริษัทฯ มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาลและ หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่บริษัทจดทะเบียนพึงปฏิบัติทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมทั้งการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ โดยคณะกรรมการบริษัท ได้กำหนด นโยบายต่างๆและจรรยาบรรณ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน ทำหน้าที่ในการพิจารณา ทบทวน ส่งเสริมกำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ โดยมีคณะทำงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารจากทุกสายงาน ทำหน้าที่และมีบทบาทในการศึกษา พิจารณา ติดตาม ทบทวน และประเมินผลการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อทำการปรับปรุง พัฒนา และยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับสากลและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (Corporate Governance Code for Listed Companies 2017:CG Code 2017) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“ก.ล.ต.”) หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามเกณฑ์โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies: CGR) ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามเกณฑ์ ASEAN Corporate Governance Scorecard: ASEAN CG Scorecard และแนวปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลท.”) รวมทั้งมาตรฐานสากล กฎหมาย หลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ข้อเสนอแนะ และ/หรือข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โครงสร้างการกำกับกิจการ

การสรรหากรรมการ

บริษัทฯ ได้กำหนดคุณลักษณะของกรรมการไว้อย่างชัดเจน โดยจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ข้อบังคับบริษัทฯ และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี พร้อมทั้งพิจารณาประกอบกับความหลากหลายทางทักษะความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามที่กำหนดไว้ใน Board Skills Matrix ของบริษัทฯ ซึ่งคณะกรรมการจะช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้ กระบวนการสรรหากรรมการจะดำเนินการผ่านการเลือกตั้ง โดยดำเนินการเป็นประจำทุกปี

กระบวนการสรรหากรรมการ

คุณสมบัติของกรรมการ

ในกระบวนการสรรหากรรมการนอกจากจะพิจารณาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกรรมการแล้ว บริษัทฯ ยังพิจารณาคุณสมบัติของกรรมการโดยใช้ Competency Matrix ในการพิจารณาความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของกรรมการซึ่งแบ่งเกณฑ์การพิจารณาออกเป็น ทักษะ/สมรรถนะที่จำเป็น (Core Skills Required) และทักษะ/สมรรถนะที่เป็นทางเลือก (Alternative Skills)

ทั้งนี้ คณะกรรมการได้กำหนดสัดส่วนให้มีกรรมการที่มีประสบการณ์ในธุรกิจไฟฟ้า พลังงาน และ/หรือธุรกิจสาธารณูปโภคอื่น อย่างน้อย 3 คน และกรรมการที่มีคุณวุฒิ ทักษะ และ/หรือ ประสบการณ์ด้านบัญชี/การเงิน และด้านกฎหมาย อย่างน้อยด้านละ 1 คน

ส่วนคุณวุฒิ ทักษะ และ/หรือ ประสบการณ์ด้านอื่นๆ คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริษัทฯ จะพิจารณาตามความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้องกับพันธกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ

การประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการ

บริษัทฯ กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยเป็นประจำทุกปีโดยเป็นการประเมินในภาพรวม “ทั้งคณะ” และ “รายบุคคล” ซึ่งมีเกณฑ์การประเมินดังนี้

การจัดทำเอกสารความเสี่ยงด้านทุจริต

สำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต บริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต โดยจัดทำเอกสารด้านการทุจริตขององค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงแผนภูมิความเสี่ยงด้านการทุจริต (Fraud Risk Profile) และทะเบียนความเสี่ยงด้านการทุจริต (Fraud Risk Register) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

  1. การเตรียมการเพื่อกำหนดเกณฑ์การวัดความเสี่ยงในด้านผลกระทบ (Impact) และโอกาสที่จะเกิด (Likelihood of Occurrence) รวมทั้งกำหนดระดับความเสี่ยงที่บริษัทยอมรับได้ (Risk Appetite)
  2. การระบุความเสี่ยงด้านการทุจริต สาเหตุหลักของความเสี่ยง และผลกระทบของความเสี่ยงตลอดจน การวิเคราะห์ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงก่อนพิจารณาถึงมาตรการควบคุมภายในที่มีอยู่
  3. การประเมินระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ในปัจจุบัน การวิเคราะห์ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงหลังจากมีมาตรการควบคุมภายในปัจจุบัน
  4. การจัดหามาตรการเพื่อลดความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่บริษัทยอมรับได้ หากมาตรการควบคุมภายในที่ดำเนินงานอยู่ปัจจุบัน ไม่เพียงพอต่อการป้องกันความเสี่ยงด้านการทุจริต

ทั้งนี้ การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและแผนการจัดการความเสี่ยงจะมีการติดตามและทบทวนเพื่อนำเสนอ ผู้บริหาร และ คณะกรรมการของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุุรกิจด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทุุกกลุ่มตามหลักบรรษัทภิบาลที่่ดีและจรรยาบรรณทางธุุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรููปแบบ

บริษัทฯ ได้เข้าร่วมในโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: “CAC”)” ตั้งแต่ ปี 2559 โดยการรับรองดังกล่าวจะมีอายุุ 3 ปี นับจากวันที่มีมติให้การรับรอง โดยต่อมาบริษัทฯ ได้ยื่นขอต่ออายุุการรับรอง (Re- certification) เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการดำเนินธุุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และจะไม่เกี่่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันในทุุกรููปแบบ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุุรกิจกับภาครัฐหรือภาคเอกชน และห้ามบุุคลากรทุุกคนของบริษัทฯ ตั้้งแต่คณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงาน เรียกรับ ดำเนินการหรือยอมรับการทุุจริตและคอร์รัปชัันในทุกรูปแบบ โดย บริษัทฯ ได้รับการต่ออายุการรับรองเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่่องเป็นครั้งที่่ 1 เมื่่อวันที่ 4 กุุมภาพันธ์ 2562 และได้รับต่ออายุุการรับรอง ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565

ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายกรอบการดำเนินการต่อต้านการทุุจริต และการบริหารความเสี่ยงด้านการทุุจริต และระบบการควบคุุมภายใน รวมทั้งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการป้องกันการทุุจริตและคอร์รัปชันในทุุกกิจกรรมทางธุุรกิจ เพื่่อนำพาองค์กรไปสู่การพัฒนาและดำเนินธุุรกิจอย่างยั่งยืน

นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต

หลักการสำคัญในการป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชัน

บริษัทฯ มีความตระหนักและให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจที่จะไม่ข้องเกี่ยวกับการทุจริตและคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจกับภาครัฐหรือภาคเอกชน ซึ่งบริษัทฯ ห้ามบุคลากรทุกคนไม่ให้เรียกร้องดำเนินการ หรือยอมรับการทุจริตและคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อน และคนรู้จัก

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นดังกล่าว บริษัทฯ ได้กำหนดเป็นนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยมีหลักการสำคัญดังนี้

  1. ส่งเสริมวัฒนธรรมการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันเพื่อสร้างความตระหนัก และความรับผิดชอบร่วมกันในการไม่เข้าไปข้องเกี่ยวกับการทุจริตทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การให้และรับของขวัญ การให้เงินสนับสนุน การบริจาคเพื่อสาธารณกุศล การช่วยเหลือและสนับสนุนทางการเมือง การเลี้ยงรับรองและการใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ
  2. กำหนดหลักการ กระบวนการ ตลอดจนแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินธุรกิจ เพื่อป้องกัน ความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยมุ่งหมายให้ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตภายใต้นโยบายเดียวกัน ตลอดจนสื่อสารและอบรมให้พนักงานทุกคน รวมถึงบุคคลภายนอกและผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจให้ทราบเกี่ยวกับนโยบายและหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
  3. จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่คำนึงถึงความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชัน
  4. กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบและการกำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้อย่างเหมาะสม
  5. กำหนดให้มีระเบียบปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานถือปฏิบัติ อันเป็นการควบคุมความเสี่ยงด้านการทุจริตและคอร์รัปชันจากการดำเนินงาน

ส่งเสริมนวัตกรรมการป้องความเสี่ยงด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างรัดกุม และมีการบริหารความเสี่ยงทั้งด้านบุคลากร กระบวนการ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมที่จะรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และสามารถรักษาธุรกิจให้ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยกำหนดแนวปฏิบัติในการปกป้องคอมพิวเตอร์ เครือข่าย ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน ระบบที่สำคัญ และข้อมูล จากภัยคุกคามทางดิจิทัล ที่สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎระเบียบและมาตรฐาน การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับการยอมรับ อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้พัฒนาระบบป้องกันความเสียหายต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อุบัติการณ์ด้านความปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์ การตอบสนองกรณีเกิดเหตุการณ์ และการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยประเมินจากอุบัติการณ์ที่เคยเกิดขึ้นภายในกลุ่มบริษัทฯ และภายนอก เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการปฏิบัติงานและผลกระทบทางการเงิน รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียไว้ด้วย

บริษัทฯ ได้มีการประกาศใช้นโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ(Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (Integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (Availability) ของสารสนเทศ รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่ ความถูกต้องแท้จริง (Authenticity) ความรับผิดชอบ (Accountability) การห้ามปฏิเสธความรับผิดชอบ (Non-Repudiation) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) นอกจากนี้ ยังมีนโยบายการใช้งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ที่กำหนดข้อปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ ทั้งสองนโยบายเป็นเครื่องมือที่บริษัทฯ ใช้เป็นกรอบในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ ซึ่งจะช่วยปกป้ององค์กรให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างราบรื่นและมั่นคง โดยนโยบายดังกล่าวจะมีการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ

ขั้นตอนการจัดการอุบัติการณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นโยบายการใช้งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์

บริษัทปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับธุรกิจ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป สรุปได้ดังนี้

บริษัทฯ ปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน การปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน เช่น สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น การเสนอระเบียบวาระ และ/หรือ เสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการในการประชุมผู้ถือหุ้น การแสดงความคิดเห็นและซักถามในการประชุมผู้ถือหุ้น การมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน การได้รับเงินปันผล การเลือกตั้งถอดถอน และกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ การแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี การออกเสียงลงคะแนนในกิจกรรมที่มีนัยสำคัญต่าง ๆ เช่น การเพิ่มทุนหรือลดทุน การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน เป็นต้น การจดทะเบียนเป็นเจ้าของหุ้น การเปลี่ยนมือหรือการโอนสิทธิในหุ้น และการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่มีนัยสำคัญ ถูกต้อง เพียงพอ และทันเวลา คณะกรรมการบริษัทฯ จึงกำหนด และประกาศนโยบายเกี่ยวกับผู้ถือหุ้น รวมทั้งส่งเสริมและดูแลปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน

ปี 2566 ไม่มีกรณีที่บริษัทฯ ถูกเปรียบเทียบปรับ กล่าวโทษ หรือมีการดำเนินการทางแพ่งโดยหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่องการซื้อหุ้นคืนการกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นสามารถสื่อสารระหว่างกัน การไม่เปิดเผยถึงข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders Agreement) ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทฯ หรือผู้ถือหุ้นรายอื่น

  1. สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น

    บริษัทฯ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าร่วมประชุมและตัดสินใจลงมติในเรื่องสำคัญต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงรับรู้และตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายบริหาร เป็นประจำทุกปี โดยคณะกรรมการบริษัทฯ จะกำหนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัทฯ ในกรณีที่บริษัทฯ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสนอขออนุมัติผู้ถือหุ้นพิจารณาเรื่องสำคัญเป็นกรณีพิเศษ คณะกรรมการบริษัทฯ จะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป

  2. สิทธิในการมอบฉันทะให้บุคคลอื่นเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทน

    บริษัทฯ ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการมอบฉันทะให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะให้เป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดและให้ผู้รับมอบฉันทะยื่นหนังสือมอบฉันทะต่อประธานกรรมการหรือผู้ที่ประธานกรรมการกำหนดก่อนเข้าประชุม

  3. สิทธิในการได้รับเงินปันผล

    บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรตามงบการเงินรวม หลังหักเงินทุนสำรองตามกฎหมายและเงินสำรองอื่น ๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดของบริษัทฯ

    ปี 2566 บริษัทฯ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนนในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและรับเงินปันผล (Record Date) เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 และกำหนดจ่ายเงินปันผลประจำปีในวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 โดยได้ประกาศโฆษณาคำบอกกล่าวจ่ายเงินปันผลในหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาอังกฤษเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ระหว่างวันที่ 25 - 27 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับบริษัทฯ

    เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบและติดตามข้อมูลการรับเงินปันผลของผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งพบว่ายังมีเงินปันผลค้างจ่ายจำนวนหนึ่งที่ผู้ถือหุ้นยังไม่ได้ติดต่อขอรับ บริษัทฯ ได้ส่งหนังสือติดต่อผู้ถือหุ้นตามฐานข้อมูลนายทะเบียนหลักทรัพย์แจ้งรายละเอียดสถานะเงินปันผลค้างจ่าย วิธีดำเนินการเพื่อติดต่อขอรับเงินปันผล และประสานงานเพื่อการออกเช็คเงินปันผลฉบับใหม่แทนเช็คสูญหายหรือหมดอายุรวมถึงการดำเนินการเพื่อโอนกรรมสิทธิ์การถือหุ้นให้ทายาทรับเงินปันผลแทนกรณีผู้ถือหุ้นถึงแก่กรรม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เชิญชวนและส่งแบบฟอร์มสมัครใช้บริการโอนเงินปันผลเข้าบัญชีธนาคาร (e-Dividend) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการรับเงินปันผลในคราวต่อไป ซึ่งปัจจุบันพบว่าผู้ถือหุ้นมีแนวโน้มเปลี่ยนมาใช้วิธีรับเงินปันผลแบบ e-Dividend เพิ่มมากขึ้น

  4. สิทธิในการเลือกตั้ง ถอดถอน และกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ

    คณะกรรมการบริษัทฯ นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเลือกตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลงเนื่องจากครบวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และพิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการเป็นประจำทุกปี

    - การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการ: ข้อบังคับบริษัทฯ กำหนดการเลือกตั้งกรรมการให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและออกเสียงลงคะแนน และในการลงคะแนนเสียงทุกคราวผู้ถือหุ้นรายหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ตนถือ โดยถือว่าหุ้นหนึ่งมีเสียงหนึ่ง จึงไม่มีการลงคะแนนเสียงแบบสะสม (Cumulative Voting)

  5. สิทธิในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน

    คณะกรรมการบริษัทฯ นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทนในการสอบบัญชีเป็นประจำทุกปี

  6. สิทธิในการจดทะเบียนเป็นเจ้าของหุ้น เปลี่ยนมือ หรือโอนสิทธิในหุ้น

    บริษัทฯ มอบหมายให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ทำหน้าที่รับฝากหลักทรัพย์ของบริษัทฯ จัดเก็บและดูแลข้อมูลของผู้ถือหุ้นให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ถือหุ้นที่ถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เช่น การออกใบหลักทรัพย์ ฝาก/ถอนใบหลักทรัพย์ โอน/รับโอนหลักทรัพย์ และการจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถติดต่อกับ TSD ได้โดยตรง ที่ TSD Call Center โทร. 0 2009 9999 หรือสมัครใช้บริการ Investor Portal ซึ่งเป็นระบบบริการข้อมูลผู้ถือหุ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ที่ http://www.set.or.th/tsd/th/investorportal/investorportal.html

  7. สิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าวสารที่มีนัยสำคัญของบริษัทฯ อย่างถูกต้อง เพียงพอ และทันเวลา

    บริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศและการปฏิบัติการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องของบริษัทจดทะเบียนที่มีสาระสำคัญครบถ้วนถูกต้อง เพียงพอ และทันกาล

  8. สิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมของบริษัทฯ

    บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมกิจการในกลุ่มบริษัทฯ ทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยและนักลงทุนสถาบันเข้าร่วมกิจกรรมเยี่ยมชมกิจการเป็นประจำทุกปี โดยใช้ระบบRandom จากผู้ลงทุนที่สมัครเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทฯ กำหนด รวมถึงได้จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในลักษณะอื่นผ่านระบบออนไลน์ เช่น Opportunity Day, Analyst Meeting และ Press Conference เป็นต้น

บริษัทฯ ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นรายย่อยหรือผู้ถือหุ้นสถาบัน เป็นผู้ถือหุ้นชาวไทยหรือผู้ถือหุ้นต่างชาติ ซึ่งสรุปการปฏิบัติที่เป็นสาระสำคัญได้ดังนี้

  1. การเข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ

    บริษัทฯ กำหนดช่องทางเผยแพร่สารสนเทศผ่านช่องทางของ ตลท. เป็นช่องทางหลัก และกำหนดผู้ทำหน้าที่เปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ได้แก่ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ นอกจากนี้ ยังจัดให้มีช่องทางติดต่อสื่อสารเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ถือหุ้นเข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ ได้อย่างเท่าเทียมกัน ผ่านทางเว็บไซต์บริษัทฯ และ/หรือ ผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สำนักงานเลขานุการบริษัท ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่ายกิจการองค์กร และส่วนนักลงทุนสัมพันธ์

  2. การจัดทำเอกสาร 2 ภาษา

    บริษัทฯ จัดทำข้อมูลและเปิดเผยสารสนเทศทุกรายการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านระบบเผยแพร่สารสนเทศของ ตลท. และเว็บไซต์บริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ ได้อย่างเท่าเทียมกัน

  3. การส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอเรื่องเพื่อบรรจุในระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และ/หรือ เสนอชื่อบุคคล เพื่อเป็นกรรมการ

    ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทุกปี บริษัทฯ ได้เผยแพร่สารสนเทศเชิญชวนให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอเรื่องเพื่อบรรจุในระเบียบวาระการประชุมผู้ถือหุ้น และ/หรือ เสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมการผ่านระบบเผยแพร่สารสนเทศของ ตลท. และเผยแพร่รายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการในการพิจารณา และช่องทางการดำเนินการไว้อย่างชัดเจน ผ่านทางเว็บไซต์บริษัทฯ

  4. การมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทน

    บริษัทฯ จัดทำหนังสือมอบฉันทะตามที่กำหนดโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ทั้งหนังสือมอบฉันทะแบบ ก. ข. และ ค. ส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือเชิญประชุม (แนะนำให้ใช้หนังสือมอบฉันทะแบบ ข.) พร้อมคำแนะนำที่ระบุเอกสารหลักฐานที่ผู้ถือหุ้นต้องเตรียมเพื่อใช้ในการมอบฉันทะ รวมถึงเงื่อนไขในการมอบฉันทะที่ไม่มีความยุ่งยาก ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกหรือไม่สามารถเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นด้วยตนเองให้สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเข้าประชุมและออกเสียงในที่ประชุมแทนได้ โดยผู้ถือหุ้นสามารถ Download หนังสือมอบฉันทะแบบดังกล่าวได้จากเว็บไซต์บริษัทฯ ได้อีกช่องทางหนึ่ง หรือผู้ถือหุ้นจะพิจารณาใช้หนังสือมอบฉันทะแบบอื่นหรือจัดทำขึ้นเอง ตามความสะดวกและเห็นสมควรก็ได้

    ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 บริษัทฯ ได้เสนอชื่อกรรมการอิสระเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ถือหุ้นพิจารณามอบฉันทะให้เข้าประชุมและออกเสียงแทนได้จำนวน 2 คน ได้แก่ นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี และนายรัตนชัย นามวงศ์ พร้อมข้อมูลของแต่ละคน ระบุการมีหรือไม่มีส่วนได้เสียของแต่ละคนในเรื่องที่บรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุม โดยมีผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้กรรมการอิสระทั้งสองเข้าร่วมประชุมแทนรวมทั้งหมดจำนวน 435 ราย

  5. การลงคะแนนเสียงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    บริษัทฯ กำหนดให้การออกเสียงลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้นสำหรับผู้เข้าประชุมทุกรายกระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละรายสามารถลงคะแนนเสียงแบบ Real Time โดยกรอก Username และ Password เพื่อยืนยันตัวตนผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ Tablet ซึ่งมีความสะดวกกับผู้เข้าร่วมประชุมและการประมวลผลการลงคะแนนเสียงสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งมีที่ปรึกษากฎหมายเป็นคนกลางร่วมตรวจสอบความถูกต้องและความโปร่งใสด้วย

  6. การป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

    บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ และแนวทางในการเก็บรักษาและป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่นในทางมิชอบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในจรรยาบรรณระเบียบ คำสั่ง และประกาศของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้อง ให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับทราบและถือปฏิบัติ โดยได้ส่งมอบให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนลงนามรับทราบเมื่อแรกเข้าทำงานหรือวันปฐมนิเทศ มีการทบทวนและปรับปรุงแนวปฏิบัติโดยภาพรวมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามกระบวนการที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เผยแพร่และสื่อสารนโยบาย แนวปฏิบัติ และมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในที่สำคัญผ่านระบบสื่อสารภายใน และเว็บไซต์บริษัทฯ เป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ

    นโยบายป้องกันการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ในทางมิชอบ
    นโยบายการใช้งานระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์
    นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    ปี 2566 ไม่พบว่ากรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีการใช้ข้อมูลภายใน หรือมีการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงที่บริษัทฯ กำหนดให้งดการซื้อขาย รวมทั้งไม่พบว่ามีการกล่าวโทษกรรมการและผู้บริหารกรณีซื้อขายหลักทรัพย์ หรือใช้ข้อมูลภายใน เพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน

  7. การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

    บริษัทฯ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในจรรยาบรรณของบริษัทฯ ข้อบังคับบริษัทฯ และระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการชุดต่าง ๆ โดยได้ส่งมอบให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนลงนามรับทราบเมื่อแรกเข้าทำงานหรือวันปฐมนิเทศ มีการทบทวนและปรับปรุงแนวปฏิบัติโดยภาพรวมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตามกระบวนการที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด

    ทั้งนี้ คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และตัดสินใจบนพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ ภายใต้กฎหมาย และจริยธรรม กรณีบุคคลใดมีส่วนได้เสียในเรื่องใดให้แจ้งต่อที่ประชุมและออกจากห้องประชุมและไม่เข้าร่วมพิจารณาการทำธุรกรรมดังกล่าว และไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น และมีการสื่อสารให้กรรมการผู้บริหาร และพนักงานทุกคนรับทราบอย่างต่อเนื่อง ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และผ่านช่องทางการสื่อสารภายใน เช่น แอปพลิเคชันไลน์ หรืออีเมล เป็นต้น

    นอกจากนี้ กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ จะต้องจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้องครั้งแรกในวันที่เริ่มดำรงตำแหน่ง และรายงานเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการส่วนได้เสีย ตามแบบรายงานการมีส่วนได้เสียที่กำหนดส่งให้เลขานุการบริษัทจัดเก็บ และจัดส่งสำเนาให้ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ หลังจากนั้น ให้รายงานเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทุกวันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี

    สำหรับบริษัทย่อย บริษัทในเครือ และบริษัทร่วมทุน บริษัทฯ มีกระบวนการและแนวทางกำกับดูแล และติดตามการดำเนินงานผ่านผู้แทนบริษัทฯ ที่ทำหน้าที่กรรมการ หรือผู้บริหารในบริษัทนั้น ๆ ให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกัน และผู้บริหารสูงสุดของทุกสายงานมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมและรายงานการดำเนินงาน ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานของบริษัทย่อย บริษัทในเครือ และบริษัทร่วมทุนต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำหรืออย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง

    ในกรณีที่บริษัทฯ และ/หรือ บริษัทย่อย หรือบริษัทในกลุ่มบริษัทฯ จะมีการดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกัน จะมีการดำเนินงานเพื่อป้องกันการขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ เป็นสำคัญ

    ปี 2566 พบว่าไม่มีการทำธุรกรรมของบริษัทฯ กับคู่ค้ารายการใดที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัทฯ ในประเด็นที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

  1. นโยบายเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย

    คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน มีการทบทวน และปรับปรุงจรรยาบรรณบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นกรอบข้อพึงปฏิบัติสำหรับในการทำงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มตามหลักการส่งเสริมและกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าสิทธิตามกฎหมายของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ พันธมิตร คู่แข่ง ภาครัฐ และชุมชนที่บริษัทฯ ตั้งอยู่ ได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดี โดยได้ประกาศและเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบอย่างทั่วถึง ผ่านช่องทางต่าง ๆ และเว็บไซต์บริษัทฯ

    จรรยาบรรณบริษัท
    นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
  2. นโยบายสิทธิมนุษยชน

    บริษัทฯ กำหนดนโยบายและหลักปฏิบัติที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในจรรยาบรรณบริษัทฯ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและยั่งยืนในทุกสังคม โดยมีการทบทวนและปรับปรุง หลักปฏิบัติที่สำคัญเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเผยแพร่บนเว็บไซต์บริษัทฯ โดยสรุปดังนี้

    เจตนารมณ์ของบริษัทฯ: ดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด ให้ความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรในบริษัทฯ เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงาน และไม่สนับสนุนกิจการที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล เคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้บังคับในธุรกิจอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว สถานะทางสังคม และฐานะทางเศรษฐกิจ ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยการให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศภายในที่ทำงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่รอบพื้นที่กิจการของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงชักจูงให้คู่ค้าปฏิบัติต่อพนักงานและชุมชนของตนตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล

    การปฏิบัติต่อกันภายใต้สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค: ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของพนักงานที่บริษัทฯ เก็บรักษาไว้โดยไม่เปิดเผย ส่งต่อ หรือถ่ายโอนให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่อนุญาต พนักงานปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมทั้งยอมรับและเคารพความเห็นที่แตกต่าง ไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานะทางสังคม การศึกษา หรือเรื่องอื่นใดที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง ห้ามพนักงานกระทำการใด ๆ ที่เป็นการกดขี่ข่มเหงผู้อื่นทั้งทางกายและจิตใจ ห้ามใช้ความรุนแรงหรือใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใด ๆ ที่ไม่เป็นธรรมต่อบุคคลอื่น อย่างไรก็ตาม พนักงานมีสิทธิเสรีภาพในการใช้สิทธิทางการเมือง เช่น สนับสนุนหรือเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรือสิทธิทางการเมืองอื่น ๆ

    การปกป้องสิทธิส่วนบุคคล และการเก็บรักษาข้อมูลความลับ: จำแนกข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ โดยจำกัดการเข้าถึงเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตและมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการดำเนินธุรกิจไว้อย่างชัดเจน ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงเฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เท่านั้น เก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลตามความจำเป็นและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ หรือความต้องการทางธุรกิจอย่างเหมาะสม ตระหนักถึงกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลในประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลออกนอกประเทศถิ่นกำเนิดปรึกษากับที่ปรึกษาด้านสิทธิส่วนบุคคลหรือผู้ประสานงานการปกป้องข้อมูลเพื่อระบุข้อกำหนดทางกฎมายที่ต้องปฏิบัติตามไม่เปิดเผยเอกสารส่วนบุคคลและความลับของบริษัทฯทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้จัดการใหญ่หรือผู้ที่กรรมการผู้จัดการใหญ่มอบหมาย ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยความระมัดระวัง และเก็บรักษาข้อมูลที่บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์หรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ให้ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว โดยสามารถติดตามและตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า จัดเก็บและทำลายข้อมูลส่วนบุคคลและความลับของบริษัทฯ ในระยะเวลาที่เหมาะสม เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของบริษัทฯ หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

    นอกจากนี้ บริษัทฯ ยึดหลักการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงาน และใช้เป็นแนวทางในการดูแลและคุ้มครองพนักงาน การจ้างงานซึ่งครอบคลุมการจ้างงานในท้องถิ่น สำหรับชุมชน บริษัทฯ เคารพสิทธิในการรับรู้ข่าวสารและการดูแลความปลอดภัยให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการสื่อสารระหว่างกันในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ด้านคู่ค้า บริษัทฯ มุ่งเน้นความเป็นธรรมในการปฏิบัติต่อแรงงานของคู่ค้า ซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาหรือข้อกำหนดขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ชุมชน และคู่ค้า ดังที่กล่าวแล้ว โดยบริษัทฯ กำหนดแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนไว้ในจรรยาบรรณบริษัทฯ และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้แก่พนักงานได้ทราบและถือปฏิบัติ เพื่อให้พนักงานได้ตระหนักถึงความยั่งยืนของบริษัทฯ เนื่องจากการเผชิญความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียและภาพลักษณ์ของบริษัทฯ

    จรรยาบรรณบริษัท
    นโยบายสิทธิมนุษยชน
  3. นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    เพื่อให้การดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ เป็นไปและสอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บริษัทฯ กำหนดและประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านช่องทางการสื่อสารภายใน และบนเว็บไซต์บริษัทฯ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลให้เก็บรวบรวมได้เท่าที่จำเป็นเพื่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายวัตถุประสงค์ในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยชัดแจ้ง จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอเหมาะสม รวมถึงมีการทบทวนและตรวจสอบมาตรการดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ บริษัทฯ ได้แต่งตั้ง นายนวพล ดิษเสถียร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ (Data Protection Officer หรือ DPO) และมีการกำหนดช่องทางการติดต่อบริษัทฯ ไว้อย่างชัดเจน และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

    นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  4. การใช้และดูแลทรัพย์สินทางปัญญา

    คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้พนักงานทุกคนมีหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ และใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ตามที่ได้กำหนดแนวปฏิบัติไว้ในจรรยาบรรณบริษัทฯ ที่ได้ประกาศให้ทราบและถือปฏิบัติ โดยพนักงานต้องเคารพสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา หลีกเลี่ยงและไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทฯ และผู้อื่น การเข้าถึงข้อมูลหรือการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาจะสิ้นสุดลงเมื่อพ้นสภาพการเป็นพนักงานของบริษัทฯ

  5. นโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ

    บริษัทฯ กำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งครอบคลุมการกำกับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กรที่ดี การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รายละเอียดนโยบายแสดงบนเว็บไซต์บริษัทฯ เพื่อให้การใช้ระบบสารสนเทศและระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ของกลุ่มบริษัทฯ เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น มีนโยบายการกำหนดแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ตามกรอบการทำงานด้านความปลอดภัยทางด้าน Cyber Security ของหน่วยงาน National Institute of Standards and Technology ของสหรัฐอเมริการ (NIST Security Framework) และแผนการการดำเนินการในภาวะวิกฤตมีการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ เพื่อใช้งานสำหรับกิจกรรมภายในทั้งในส่วนของระบบสารสนเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน มีการตรวจสอบระบบสารสนเทศโดยหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก

    นโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    โดยในปี 2566 นอกเหนือจากการบำรุงรักษาระบบให้ทำงานได้เป็นปกติแล้ว บริษัทฯ ได้เน้นด้านการตรวจสอบ ป้องกัน และปรับปรุงด้านการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Security) รวมถึงการวัดระดับคะแนนความปลอดภัย (Security Scorecard) เป็นประจำทุกเดือน เนื่องจากบริษัทฯ มีการใช้งานบนระบบคลาวด์ (Cloud Service) อยู่หลายระบบ และมีการทำงานจากทางบ้าน (Work from Home) ประกอบกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบัน จึงมีการเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าใช้งานระบบเพิ่มขึ้น วางแผนและดำเนินการในการควบคุมและป้องกันความเสี่ยงจากการรั่วไหลของข้อมูลภายในโดยการใช้ระบบ Data Leaked Protection (DLP) นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและทดสอบการใช้งานระบบการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ (Disaster Recovery) เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมที่สำคัญของบริษัทฯ ได้อย่างต่อเนื่องในกรณีเกิดภาวะวิกฤตต่าง ๆ มีการร่วมดำเนินการจัดทำระบบจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ร่วมกับหน่วยงานอื่นให้เป็นไปตามกฎหมาย

    ทั้งนี้ หากพบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ บริษัทฯ จะพิจารณาดำเนินการทางวินัยในกรณีของพนักงาน และทางกฎหมายในกรณีทั้งพนักงานและบุคคลภายนอกต่อไป

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับคณะกรรมการ ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการ นิยามกรรมการอิสระ วาระการดำรงตำแหน่งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ การประชุมคณะกรรมการและการออกเสียงลงคะแนน รวมทั้งปี 2566 ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น รายละเอียดปรากฏในระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัท พ.ศ. 2566 ซึ่งแสดงไว้บนเว็บไซต์บริษัทฯ

ระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัท พ.ศ. 2566
  1. โครงสร้างคณะกรรมการ
    โครงสร้างองค์กร
    • องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

      - กรรมการมีจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน และไม่เกินกว่า 15 คน แต่งตั้งโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการ

      - กรรมการที่เป็นผู้บริหารมีได้ไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด

      - กรรมการอิสระมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดและอย่างน้อย 3 คน

      - กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร

      - ประธานกรรมการต้องเป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและไม่ใช่บุคคลเดียวกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุด

    • คุณสมบัติกรรมการบริษัทฯ

      - อายุไม่เกิน 72 ปีบริบูรณ์

      - ไม่ดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนเกินกว่า 3 แห่ง (นับรวมการดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ)

      - ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

      - ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต

      - ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออก หรือปลดออกจากราชการหรือองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน ฐานทุจริตต่อหน้าที่

      - ไม่เคยถูกถอดถอนจากการเป็นกรรมการ ผู้จัดการพนักงาน หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของหน่วยงานอื่น

      - ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

      - มีคุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน หรือคุณสมบัติอื่นตามที่บริษัทฯ กำหนด

    • ความเป็นอิสระของคณะกรรมการ และประธานกรรมการ

      คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย กรรมการทั้งหมดจำนวน 12 คน เป็นกรรมการอิสระจำนวน 6 คน และกรรมการผู้แทนผู้ถือหุ้น 6 คน (อยู่ระหว่างสรรหาจำนวน 2 คน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 กรรมการอยู่ในตำแหน่งทั้งหมดจำนวน 10 คน คิดเป็นกรรมการอิสระร้อยละ 60 ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่าต้องมีกรรมการอิสระ อย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงมั่นใจได้ว่ากรรมการสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นอิสระ มีการถ่วงดุล และสอบทานที่เหมาะสม

      ทั้งนี้ ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระและไม่เป็นผู้บริหารของบริษัทฯ จึงปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานได้อย่างเป็นอิสระ ไม่มีการครอบงำหรือชี้นำความคิดในระหว่างการอภิปราย มีการส่งเสริมให้กรรมการทุกคนได้มีโอกาสร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดยให้เวลาอย่างเพียงพอและเหมาะสมในการพิจารณาตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เพื่อความรอบคอบครบถ้วน เพียงพอ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ ส่งผลให้สามารถออกเสียงและลงมติประชุมได้อย่างอิสระ สมเหตุสมผล และมีประสิทธิภาพ

    • การแยกตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่

      ประธานกรรมการบริษัทฯ (กรรมการอิสระ) ไม่ใช่บุคคลเดียวกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ และไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับฝ่ายบริหารมีการแบ่งแยกตำแหน่ง บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อการถ่วงดุลอำนาจอย่างเหมาะสม ดังนี้

      คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายบริหารแยกออกจากกันอย่างชัดเจน กล่าวโดยสรุปดังนี้

    • การดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทอื่น

      ไม่มีกรรมการรายใดของบริษัทฯ ที่ดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่นเกินกว่า 2 แห่งซึ่งสอดคล้องกับระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ ที่กำหนดคุณสมบัติกรรมการไว้ว่ากรรมการต้องไม่ดำรงตำแหน่ง ในบริษัทจดทะเบียนเกินกว่า 3 แห่ง (นับรวมการดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ) รวมทั้งเป็นไปตามข้อเสนอแนะของ ตลท. ในการพิจารณาประสิทธิภาพและการอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทฯ

      สำหรับการแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารไปดำรงตำแหน่งในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทในกลุ่มบริษัทฯ จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ โดยผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน ตามกระบวนการสรรหาของบริษัทฯ ซึ่งได้พิจารณาคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ วิสัยทัศน์ การจัดสรรเวลาในการทำหน้าที่ และประโยชน์สูงสุดแก่กิจการในภาพรวมแล้ว ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลบริษัทย่อย บริษัทในเครือ และบริษัทร่วมทุนตามที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้แทนของบริษัทฯ ที่ได้รับมอบหมายให้ไปเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น ในกิจการที่บริษัทฯ เข้าลงทุนไว้อย่างชัดเจน เพื่อถ่ายทอดนโยบายของคณะกรรมการบริษัทฯ และรายงานผลการดำเนินงานของกิจการเหล่านั้น

    • การสรรหากรรมการ

      คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ กระบวนการสรรหาและการเลือกตั้งกรรมการโดยมอบหมาย ให้คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน ทำหน้าที่ในการพิจารณา สรรหา กลั่นกรอง และคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิตามที่ผู้ถือหุ้นเสนอจากกรรมการบริษัทฯ ในปัจจุบัน และผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทำเนียบกรรมการ (Director Pool) ของหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ ทำเนียบกรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจของกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอชื่อเป็นกรรมการ และ/หรือกรรมการอิสระ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถเฉพาะทางที่มีความหลากหลาย ทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่จำเป็นและยังขาดอยู่ตามองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board Skills Matrix) ซึ่งมีความสอดคล้องกับธุรกิจและบริบทของบริษัทฯ โดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ และสัญชาติไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย และเป็นไปตามข้อบังคับระเบียบ และนิยามกรรมการอิสระของบริษัทฯ รวมถึงข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาผลการปฏิบัติงานในฐานะกรรมการบริษัทฯ ในช่วงที่ผ่านมา และความพร้อมที่จะอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะส่งเสริมสนับสนุน และผลักดันการทำงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

      เพื่อเป็นการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเป็นประจำทุกปี โดยเผยแพร่รายละเอียดหลักเกณฑ์วิธีการ กระบวนการพิจารณา และระยะเวลา ที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด ผ่านระบบเผยแพร่สารสนเทศของ ตลท. และเว็บไซต์บริษัทฯ สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (กฟผ.) ได้รับสิทธิเสนอชื่อผู้แทนเป็นกรรมการบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น

      จากนั้น บริษัทฯ จะดำเนินการพิจารณาคุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการทั้งจากผู้ถือหุ้น รายย่อยและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตามกระบวนการสรรหากรรมการของบริษัทฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติแล้วแต่กรณี ดังนี้

      กรณีที่ 1: ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ เป็นอำนาจของคณะกรรมการบริษัทฯ ในการพิจารณาแต่งตั้งกรรมการแทน โดยบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างลง จะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน กรณีนี้จะต้องได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า3 ใน 4 ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่

      กรณีที่ 2: ตำแหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจากครบวาระ คณะกรรมการบริษัทฯ จะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาเลือกตั้งในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดตามข้อบังคับบริษัทฯ

    • เลขานุการคณะกรรมการและเลขานุการบริษัท

      - เลขานุการคณะกรรมการ

      กรรมการผู้จัดการใหญ่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการ โดยมีส่วนงานเลขานุการคณะกรรมการ สังกัดสำนักงานเลขานุการบริษัท รับผิดชอบงานประชุม งานอำนวยการ และการประสานงานกิจการต่างๆ ของคณะกรรมการบริษัทฯ

      - เลขานุการบริษัท

      เลขานุการบริษัท แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการจัดทำและเก็บรักษาเอกสาร เช่น ทะเบียนกรรมการ หนังสือนัดประชุมและรายงานการประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น การเก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการและผู้บริหาร และการดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการบริษัท ขึ้นตรงกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ และรับผิดชอบการจัดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ การประชุมผู้ถือหุ้น กิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ และบริษัทย่อย การประสานงานและกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การให้คำแนะนำเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องแก่กรรมการและผู้บริหาร เพื่อให้การประชุม การดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ และการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ นโยบาย หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อพึงปฏิบัติต่าง ๆ ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง โดยมีส่วนงานเลขานุการคณะกรรมการ และส่วนกำกับการปฏิบัติงานและหลักทรัพย์ (Compliance) ของบริษัทฯ ซึ่งมีหัวหน้าหน่วยงาน (ผู้จัดการส่วน) เป็นผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัทให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      เลขานุการบริษัท แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทฯ โดยมีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในการจัดทำและเก็บรักษาเอกสาร เช่น ทะเบียนกรรมการ หนังสือนัดประชุมและรายงานการประชุมคณะกรรมการและผู้ถือหุ้น แบบ 56-1 One Report การเก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการและผู้บริหาร และการดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการบริษัท ขึ้นตรงกับกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ และรับผิดชอบการจัดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ การประชุมผู้ถือหุ้น กิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ และบริษัทย่อย การประสานงานและกำกับดูแลให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การให้คำแนะนำเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องแก่กรรมการและผู้บริหาร เพื่อให้การประชุม การดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ และการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ นโยบาย หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อพึงปฏิบัติต่าง ๆ ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง โดยมีส่วนงานเลขานุการคณะกรรมการ และส่วนกำกับการปฏิบัติงานและหลักทรัพย์ (Compliance) ของบริษัทฯ ซึ่งมีหัวหน้าหน่วยงาน (ผู้จัดการส่วน) เป็นผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัทให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  2. คณะกรรมการชุดย่อย

    คณะกรรมการบริษัทฯ แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยจำนวน 5 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการทรัพยากรบุคคล และกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน คณะกรรมการกลั่นกรองการลงทุน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยพิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็น เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในการศึกษารายละเอียดและพิจารณากลั่นกรองเรื่องต่าง ๆ เป็นการเฉพาะ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

    คณะกรรมการบริษัท
  3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ
    • กำหนด ทบทวน และอนุมัติกลยุทธ์ แผนธุรกิจ นโยบาย งบประมาณ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ และการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ร่วมกับฝ่ายบริหารเป็นประจำทุกปี
    • อนุมัติกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล แผนพัฒนา ผู้บริหาร โครงสร้างองค์กร โครงสร้างค่าตอบแทน และแผนค่าตอบแทนต่างๆ อิงกับผลการปฏิบัติงาน กำกับดูแล ให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการสรรหา ถอดถอน หรือเลิกจ้างกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ด้วยความโปร่งใส รวมทั้งกำกับดูแลกระบวนการประเมินผล การปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงให้มีประสิทธิผล เปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน
    • กำหนดให้มีระบบการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ และสาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม เพื่อติดตามการปฏิบัติตามระบบ
    • ติดตามความก้าวหน้า ประสิทธิภาพ และผลสำเร็จการดำเนินงานตามกลยุทธ์ เปรียบเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว ประสิทธิภาพผลการดำเนินงานกับคู่แข่งขันอื่น และเปิดเผยผลการปฏิบัติและการกำกับดูแลกิจการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีไว้ในแบบ 56-1 One Report และให้ฝ่ายบริหารนำเสนอรายงานผลงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำ
    • คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุม ผู้ถือหุ้น และ/หรืออาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคน หรือบุคคลอื่นใดปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด แทนคณะกรรมการก็ได้ เว้นแต่เรื่องดังต่อไปนี้ คณะกรรมการจะดำเนินการได้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน

      (1) เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
      (2) การตกลงเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไป ซึ่งสินทรัพย์ ที่สำคัญของบริษัทฯหรือบริษัทย่อยตามความหมายที่กำหนดตามประกาศ ตลท. ที่ใช้บังคับกับการทำรายการของบริษัทจดทะเบียนแล้วแต่กรณี

    ทั้งนี้ คณะกรรมการต้องตระหนักในบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะคณะกรรมการบริษัทฯ โดยยึดถือความเป็นอิสระในการตัดสินใจและคำนึงถึงเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม กล่าวคือกรรมการทุกคนให้ความสำคัญและตระหนักในหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของกิจการและเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการเพื่อทำหน้าที่และรับผิดชอบในการกำกับดูแลการบริหารกิจการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น (Fiduciary Duty) ครอบคลุมหน้าที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่

    • - การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง (Duty of Care)
    • - การปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty)
    • - การปฏิบัติตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น (Duty of Obedience)
    • - การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ โปร่งใส และทันกาล (Duty of Disclosure)

    ปี 2566 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนและอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ ปี 2567 - ปี 2570 เพื่อขับเคลื่อนและสร้างการเติบโตให้กับกลุ่มบริษัทฯ ไปสู่เป้าหมายและความหลากหลายทางธุรกิจให้เท่าทันสภาวะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน สอดรับกับแนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และให้มีการติดตามดูแลการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยยังคงวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์และเป้าหมายหลักตามแผน Triple S Strategy ดังนี้

    • - Strength Strategy: ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสร้างรายได้และผลตอบแทนที่คุ้มค่า เพื่อรากฐานอนาคตที่แข็งแกร่งและมุ่งพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
    • - Synergy Strategy: ดำเนินธุรกิจเชิงบูรณาการ ขยายความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืนในธุรกิจพลังงาน (Power Business) และธุรกิจอื่น (Non-Power Business) ที่มีศักยภาพของห่วงโซ่ธุรกิจ รวมถึงมุ่งเน้นนวัตกรรมเพื่อต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มในอนาคต
    • - Sustainability Strategy: สนับสนุนพลังงานทดแทน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน
    • ดูแลความครบถ้วนสมบูรณ์ในเรื่องสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ ดูแลสัดส่วนกรรมการอิสระให้มีความเหมาะสมเพื่อถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร และ/หรือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ทบทวน และอนุมัติวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ภารกิจ จรรยาบรรณ และสื่อสาร ให้บุคลากรทุกระดับได้ทราบและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอผ่านช่องทางการสื่อสารภายในต่าง ๆ เช่น อีเมล แอปพลิเคชันไลน์ จดหมายข่าว เป็นต้น ตรวจสอบและอนุมัติรายงานทางการเงินประจำปี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้น ดูแลกระบวนการตรวจสอบภายใน ระบบการควบคุมภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยง การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทำรายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวโยงกัน การปกป้องชื่อเสียงของบริษัทฯ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ควบคู่ไปกับการกำกับและติดตามให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ข้อบังคับ จรรยาบรรณและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องจริงจัง
    • จัดตั้งและอนุมัติการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อยของบริษัทฯ ตามความเหมาะสมและจำเป็น
    • กำหนดหลักเกณฑ์และประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ทั้งคณะและรายบุคคลเป็นประจำทุกปี และเปิดเผยผลการปฏิบัติงานไว้ในแบบ 56-1 One Report
  4. การประชุมและการออกเสียงของคณะกรรมการ
    • กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยเดือนละครั้ง และกำหนดวันประชุมคณะกรรมการล่วงหน้าทั้งปี เพื่อให้คณะกรรมการสามารถจัดสรรเวลาในการเข้าร่วมประชุมได้อย่างครบถ้วนนอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้กรรมการได้พิจารณาและทบทวน การปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ฝ่ายบริหาร และการดำเนินงานของบริษัทฯ รวมถึงการอภิปรายปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการที่สำคัญโดยไม่มีกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมด้วย และประธานกรรมการจะแจ้งให้กรรมการผู้จัดการใหญ่รับทราบผลการประชุม เพื่อนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิผลและบรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ ให้มากยิ่งขึ้น
    • การงดเว้นการเข้าร่วมการประชุมและงดออกเสียงในระเบียบวาระที่ตนเองมีส่วนได้เสีย
    • กำหนดให้กรรมการมีหนึ่งเสียงต่อหนึ่งคนในการลงคะแนน กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใดไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น กรณีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมออกเสียงอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
  5. การประชุมคณะกรรมการ
    • หลักการและแนวทางการประชุมคณะกรรมการ

      บริษัทฯ ให้ความสำคัญเรื่องความเป็นอิสระในการตัดสินใจของกรรมการ เพื่อให้กรรมการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวัง รักษาผลประโยชน์ของบริษัทฯ และตระหนักเสมอว่าเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้น และมีบทบาทในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยทำหน้าที่เป็นผู้วางกลยุทธ์และนโยบายที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งหมายถึงความเจริญเติบโตขององค์กร การเพิ่มมูลค่าในระยะยาวให้แก่ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย นอกจากนี้ ยังต้องมีวิสัยทัศน์ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านธุรกิจ และมีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของกลุ่มบริษัทฯ ให้อยู่ภายใต้กฎหมาย วัตถุประสงค์ มติที่ประชุม ผู้ถิอหุ้น ข้อบังคับ ระเบียบ และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

    • กำหนดการประชุม การจัดทำระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบการประชุม

      คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดการประชุมล่วงหน้าประมาณเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคมของทุกปี ปี 2565 คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมเดือนพฤศจิกายนกำหนดวันประชุมล่วงหน้าทั้งปีของปี 2566 เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันอังคารสัปดาห์ที่สามของเดือน เวลา 13.30 น. และปี 2566 คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมเดือนตุลาคมกำหนดการประชุมล่วงหน้าทั้งปีของปี 2567 เดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่สี่ของเดือนเวลา 13.30 น. สำหรับคณะกรรมการชุดย่อยทุกคณะกำหนดการประชุมล่วงหน้าทั้งปีตามภารกิจของแต่ละคณะเช่นกัน เพื่อให้กรรมการ และฝ่ายบริหาร วางแผนการประชุมล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ อาจพิจารณากำหนดประชุมเพิ่มเติมได้หากมีภารกิจสำคัญ และ/หรือ ความจำเป็นเร่งด่วนนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ดังกล่าว

      เพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องสำคัญได้นำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะร่วมกันพิจารณาเรื่องที่จะบรรจุไว้ในระเบียบวาระการประชุม และแจ้งให้กรรมการทราบล่วงหน้าพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม ในเวลาที่เหมาะสมตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม กรรมการมีความเป็นอิสระที่จะเสนอเรื่อง เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมเพิ่มเติมได้ โดยแจ้งล่วงหน้า 10 วันก่อนถึงวันประชุมตามที่แจ้งให้ทราบในหนังสือเชิญประชุมกรรมการรายบุคคลทุกครั้ง ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทฯ ไม่ว่าทางตรงและทางอ้อม กรรมการ และ/หรือกรรมการมีอิสระ สามารถที่จะเสนอเรื่องพิจารณาหรือแจ้งเพื่อทราบ ในการพิจารณาเรื่องอื่น ๆ ได้ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ

      ระเบียบวาระการประชุมกำหนดเป็นหมวดหมู่และดำเนินการประชุมตามลำดับอย่างเหมาะสม ได้แก่ เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน เรื่องสืบเนื่องจากการประชุม เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา เรื่องเสนอเพื่อทราบและเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) นอกจากนี้ ยังกำหนดเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นการประจำ ในแต่ละช่วงเวลาเช่น ระเบียบวาระประจำเดือน ประจำไตรมาส และประจำปีเป็นการล่วงหน้า รวมถึงการกำหนดให้ฝ่ายบริหารรายงานการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งรายงานทางการเงิน รายงานการดำเนินงานด้านบริหารสินทรัพย์ และรายงานความก้าวหน้าของโครงการที่สำคัญที่บริษัทฯ เข้าลงทุน รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์และการแจ้งการซื้อขายหลักทรัพย์ล่วงหน้า ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ ติดตามและ/หรือ แก้ไขปัญหาอุปสรรค เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ ทันกาล เป็นประจำทุกเดือน

      หนังสือเชิญประชุมและระเบียบวาระการประชุมจัดส่งให้กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และจัดส่งเอกสารประกอบระเบียบวาระการประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ เพื่อให้มีเวลาเพียงพอ ในการศึกษาข้อมูลก่อนการประชุม และกรรมการสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ และสำนักงานเลขานุการบริษัทได้ สำหรับคณะกรรมการชุดย่อย สามารถสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภารกิจเพิ่มเติมได้จากกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละคณะ

    • บทบาทของประธานกรรมการ กรรมการ ฝ่ายบริหาร และบรรยากาศในการประชุม

      - ประธานกรรมการ (กรรมการอิสระ) เป็นผู้นำประชุมและกำกับดูแลให้มีองค์ประชุมในขณะลงมติ ครบทั้งจำนวน (ยกเว้นกรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น ๆ) หรือร้อยละ 100 จัดสรรเวลา ส่งเสริมและกระตุ้นให้กรรมการทุกคน มีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและทั่วถึง เท่าเทียม เหมาะสม ครบถ้วนและเพียงพอรวมทั้งสรุปมติที่ประชุมทุกครั้ง

      สำหรับการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับจำนวนองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติ ในที่ประชุมต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดนั้น ปัจจุบันบริษัทฯ ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ จึงทำให้ยังไม่สามารถกำหนดนโยบายดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ประธานกรรมการ และ/หรือประธานที่ประชุม ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ ณ ขณะที่จะลงมติ ต้องมีกรรมการครบทั้งหมด (ไม่นับรวมกรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น ๆ) อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายดังกล่าว ในอนาคต หากมีการเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ โดยการเพิ่มจำนวนกรรมการอิสระ ให้ฝ่ายบริหารทบทวนและนำเสนอประเด็นนี้เพื่อพิจารณาต่อไป

      - กรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมอภิปรายอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของข้อมูลที่ฝ่ายบริหารนำเสนอและข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องและจำเป็นอื่น ๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์ ผลกระทบ และปัจจัยเสี่ยงในทุกมิติ ทั้งต่อบริษัทฯ และต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบคอบ เพื่อให้มติที่ประชุมมีความเหมาะสม สมเหตุสมผล และครบถ้วน อุทิศเวลาและความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ให้กับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทจดทะเบียน

      - ฝ่ายบริหาร ผู้บริหารระดับสูงทุกสายงานมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ เชิญผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งที่ปรึกษาต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมชี้แจงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง เพื่อให้ข้อมูลและชี้แจงประเด็น ข้อซักถามในที่ประชุม โดยการนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำเป็นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ และทันกาล เป็นการล่วงหน้า เพื่อให้กรรมการมีเวลาเพียงพอในการศึกษาและพิจารณาได้อย่างรอบคอบ รัดกุมและเหมาะสม

      - บรรยากาศในการประชุมและการแสดงความคิดเห็น บริษัทฯ จัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมอย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีการส่งเสริมบรรยากาศในการประชุมและเปิดโอกาสให้กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์ และคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างรอบคอบ ระยะเวลาในการประชุมมีความเหมาะสมเฉลี่ยครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมงถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง

      - การดำเนินการประชุม โดยทั่วไปในการพิจารณาเรื่องแต่ละระเบียบวาระ ฝ่ายบริหารจะนำเสนอความเป็นมาหลักการและเหตุผล กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ความจำเป็น ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาของคณะกรรมการชุดย่อย (ถ้ามี) และข้อเสนอของฝ่ายบริหาร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัทฯ หลังจากนั้น ประธานกรรมการจะให้เวลาที่ประชุมอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนและทั่วถึง โดยมีการกระตุ้นให้กรรมการทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถามประเด็นสำคัญ เพื่อให้ฝ่ายบริหารชี้แจงเพิ่มเติมก่อนสรุปมติที่ประชุม

      - กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทุกครั้ง ก่อนเริ่มการประชุมประธานกรรมการจะแจ้งต่อที่ประชุมว่าในกรณีกรรมการที่มีส่วนได้เสีย ให้แจ้งต่อที่ประชุมและออกจากการประชุมในระเบียบวาระนั้น ๆ รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องดังกล่าว และก่อนเริ่มพิจารณาระเบียบวาระที่กรรมการมีส่วนได้เสียกรรมการจะแจ้งที่ประชุมและออกจากที่ประชุม ซึ่งบริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด

      - การพิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันและรายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ คณะกรรมการบริษัทฯ จะพิจารณาตามความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งพิจารณาโดยคำนึงถึงความจำเป็น ความสมเหตุสมผลและประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทเป็นสำคัญ โดยเปรียบเทียบได้กับการเข้าทำรายการในลักษณะเดียวกันโดยทั่วไป รวมถึงให้ความสำคัญกับขั้นตอนการดำเนินการ และการเปิดเผยสารสนเทศอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

    • การจัดทำและจัดเก็บรายงานการประชุม

      - เลขานุการบริษัท รับผิดชอบการจัดทำและเก็บรักษาหนังสือเชิญประชุม รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และการประชุมผู้ถือหุ้น ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ

      - รายงานการประชุม จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีสาระสำคัญครบถ้วน อาทิ วันเวลา เริ่มและเลิกประชมุ สถานที่ประชุม ชื่อกรรมการและผู้บริหารที่เข้าประชุม ชื่อกรรมการที่ไม่มาประชุม สรุปสาระสำคัญของเรื่องที่เสนอต่อที่ประชุม สรุปประเด็นสำคัญที่มีการอภิปราย ความเห็นและข้อสังเกตของกรรมการและมติที่ประชุม พร้อมทั้งมีการลงชื่อผู้บันทึกและประธานที่ประชุม การจัดทำร่างรายงานการประชุมแล้วเสร็จ และผ่านการตรวจสอบโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ภายในเวลาประมาณ 3 วันทำการ หลังวันประชุม และนำเสนอกรรมการทุกคนพิจารณาแก้ไขภายในระยะเวลา 7 วัน และ/หรือ ตามความจำเป็นเร่งด่วน หลังจากนั้น ให้ถือว่าร่างรายงานการประชุมฉบับดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในเบื้องต้น และให้ดำเนินการตามมติที่ประชุม จากนั้นให้เสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณารับรองรายงานอย่างเป็นทางการอีกครั้งในการประชุมคราวถัดไป

      สำหรับระบบการบริหารจัดการและการจัดเก็บเอกสารสำคัญของบริษัทฯ เช่น เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ใช้ระบบการจัดเก็บทั้งในรูปแบบเอกสาร และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการใช้งานและลดโลกร้อน ทั้งนี้ บริษัทฯ รายงานสถานที่จัดเก็บเอกสารสำคัญตามข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีระบบป้องกันความปลอดภัยของเอกสารทั้งสองรูปแบบอย่างรัดกุม เช่น จำกัดผู้เข้าร่วมการประชุมกำหนดผู้รับผิดชอบในการเข้าถึงเอกสารสำคัญแต่ละประเภทตามนโยบายการจัดการข้อมูลลับ กำหนดรหัสผู้ใช้งานตามระบบการป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) รวมทั้งมีระบบสำรองข้อมูลกลางอัตโนมัติไว้ที่สำนักงานกลาง และสำนักงานย่อย เพื่อรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและป้องกันผลกระทบต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ

      - การถ่ายทอดมติที่ประชุม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯ แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้บริหารสูงสุดของทุกสายงานเพื่อรับทราบ และ/หรือ พิจารณาดำเนินการ และ/หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ ยังมีการติดตามและรายงานความก้าวหน้าการปฏิบัติต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ตามความเหมาะสมและเร่งด่วน

  6. การประเมินผลการปฏิบัติงาน
    • การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ

      ปี 2566 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ทั้งคณะและรายบุคคล ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน ตามที่ได้อนุมัติไว้ ซึ่งยังมีความเป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับบริบทการทำหน้าที่และการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และได้ทำการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเอง (Self Assessment) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการประเมิน ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปพิจารณาทบทวนและปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยทั้งคณะตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน และระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ ที่เสนอแนะและกำหนดให้คณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยของบริษัทจดทะเบียนมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในเดือนธันวาคม โดยให้มีการประเมินทั้งแบบรายคณะและรายบุคคล เพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาผลงานและเสนอแนะการปรับปรุงเพิ่มเติม และเปิดเผยไว้ในแบบ 56-1 One Report ของบริษัทฯ นอกจากนี้ ยังนำผลการประเมินเพื่อใช้สำหรับส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถเฉพาะด้านให้แก่กรรมการรายบุคคลเพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง

      การประเมินผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยการประเมินภาพรวมในมิติต่าง ๆ ของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยทั้งคณะ และการประเมินตนเองเป็นรายบุคคล ปัจจัยในการประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการบริษัทฯ “ทั้งคณะ” และ “รายบุคคล” ครอบคลุมประเด็นสำคัญต่าง ๆ สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน ประกอบด้วย

      1. ความพร้อมของคณะกรรมการ
      2. การกำหนดกลยุทธ์ แผนธุรกิจ และงบประมาณ
      3. การแบ่งแยกบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และการมอบอำนาจหน้าที่
      4. การกำกับดูแลและติดตามงาน
      5. การบริหารทรัพยากรบุคคล
      6. การจัดการความเสี่ยง การควบคุมภายใน และความขัดแย้งทางผลประโยชน์
      7. การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ และสาธารณชน
      8. ประชุมคณะกรรมการ

      การประเมินผลการปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยทุกคณะ เป็นการประเมินในภาพรวม “ทั้งคณะ” และ “รายบุคคล” โดยปัจจัยการประเมินประกอบด้วย

      • ความพร้อมของคณะกรรมการชุดย่อย
      • การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย
      • บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย

      ผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย บริษัทฯ จะนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการส่งเสริมและจัดสรรหลักสูตรสำหรับพัฒนาความรู้ความสามารถของกรรมการรายบุคคล เพื่อไปสู่เป้าหมายการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นทั้งของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยต่อไป

    • การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสูงสุด (กรรมการผู้จัดการใหญ่)

      กำหนดให้มีการประเมินผลปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน และธันวาคม โดยกรรมการรายบุคคลเป็นผู้ประเมินตามแบบและเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แบ่งเกณฑ์ประเมินผลออกเป็น 2 ด้านคือ การประเมินตามเกณฑ์ชี้วัด ผลการดำเนินงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ (กำหนดน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 70) และการประเมินสมรรถนะความสามารถ (กำหนดน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 30)

  7. การปฐมนิเทศกรรมการใหม่และการพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
    • กรรมการที่เข้ารับตำแหน่งใหม่

      จะได้รับการปฐมนิเทศ โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทฯ และด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี พร้อมได้รับมอบเอกสารสำคัญในการเตรียมความพร้อมในการทำหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ระเบียบข้อบังคับบริษัทฯ จรรยาบรรณบริษัทฯ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการชุดย่อย ค่าตอบแทน และนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ เช่น การกำกับดูแลกิจการ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การป้องกันการขัดแย้งทางผลประโยชน์ การป้องกันการนำข้อมูลภายในไปใช้ในทางมิชอบ คู่มือกรรมการบริษัทจดทะเบียน และข้อมูลการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน

    • การพัฒนากรรมการ

      บริษัทฯ ได้นำเสนอหลักสูตรเกี่ยวกับกรรมการและสนับสนุนอบรมสัมมนาที่สำคัญที่จัดโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น IOD ตลท. สถาบันวิทยาการ พลังงาน รวมทั้งการจัดสัมมนา และ/หรือ ศึกษาดูงานสำหรับคณะกรรมการทั้งคณะ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นประจำทุกปี เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ ส่งเสริมทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทจดทะเบียน รวมถึงส่งเสริม และพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่สำคัญให้แก่คณะกรรมการบริษัทฯ นำไปต่อยอดและพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติที่สำคัญด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี เช่น การนำข้อมูลภายในไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ การขัดแย้งทางผลประโยชน์ การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และแนวปฏิบัติของหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในในรูปแบบต่าง ๆ เช่น อีเมล แอปพลิเคชันไลน์ และ/หรือ กิจกรรมภายในของบริษัทฯ อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

  8. แผนสืบทอดตำแหน่งสำหรับผู้บริหารระดับสูง

    การสืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ กฟผ. ที่จะพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารของ กฟผ. ที่มีคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถเหมาะสมและเอื้อประโยชน์ต่อการประกอบกิจการของบริษัทฯเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ผ่านคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน พิจารณา และแต่งตั้งตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายให้คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดค่าตอบแทน มีหน้าที่ในการกำหนดและจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ

    สำหรับแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารในระดับอื่นๆ บริษัทฯ ได้จัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ในทุกตำแหน่งงาน ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาระบบสมรรถนะความสามารถ (Competency Model) โดยได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์สมรรถนะ (Competency) และคุณสมบัติที่คาดหวังสำหรับตำแหน่งต่างๆ เพื่อทำการพัฒนาบุคลากรและสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและสอดคล้องกับการพิจารณาเลื่อน ลดปลด ย้าย และเตรียมบุคลากรให้พร้อมรองรับการขยายงานของบริษัทฯ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจของบริษัทฯ

  9. การรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร

    คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ต้องจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้องครั้งแรกในวันที่เริ่มดำรงตำแหน่งตามรายละเอียดใน "แบบรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร" ส่งให้เลขานุการบริษัทจัดเก็บ และจัดส่งสำเนาให้ประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ หลังจากนั้นให้มีการรายงานเป็นประจำทุกปีและรายงานเพิ่มเติมทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ข้อมูลการมีส่วนได้เสียเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ สำหรับเป็นข้อมูลแก่คณะกรรมการบริษัทฯ ในการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสียซึ่งไม่มีสิทธิออกเสียงในการทำธุรกรรมของบริษัทฯ ที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และสามารถช่วยให้ตัดสินเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ โดยรวมได้อย่างเหมาะสมและโปร่งใส

  10. การทำรายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์

    คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางในการจัดการเรื่องการมีส่วนได้เสียอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ไว้ในระเบียบบริษัทฯ ว่าด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ ว่า ในการออกเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ “กรรมการที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใดไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น” โดยได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเสมอมา ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการกำหนดมาตรการในการจัดการและป้องกันความขัดแย้งของผลประโยชน์ รวมถึงการกำกับดูแลการดำเนินการต่างๆเป็นไปด้วยความสมเหตุสมผล รวมทั้งการปฏิบัติและการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์โดยรวมของบริษัทฯคณะกรรมการบริษัทฯ โดยการพิจารณากลั่นกรองและเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบได้กำกับดูแลการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ และบริษัทย่อยให้เป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย โดยให้มีการเปิดเผยการเข้าทำรายการอย่างถูกต้องและครบถ้วนตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

  11. การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร

    คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้ฝ่ายบริหารเสนอ การทำประกันความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร (Directors and Officers Liability Insurance หรือ D&O) ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเงื่อนไขการรับประกัน วงเงินประกัน และค่าเบี้ยประกันเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ความคุ้มครองกรรมการและผู้บริหารกรณีมีการฟ้องร้องเรียก ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารตามตำแหน่งนั้น ๆ ภายใต้อำนาจหน้าที่โดยชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางธุรกิจของบริษัทที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทมีการเข้าทำธุรกรรม ทางธุรกิจจำนวนมากและมีความเกี่ยวพันกับการพิจารณา อนุมัติ การให้ความเห็น การเข้ารับรองและผูกพันแทนบริษัทตามภาระหน้าที่ของกรรมการและเจ้าหน้าที่บริหาร ในธุรกรรมต่าง ๆ โดยบางกรณีอาจมีความเสี่ยงต่อการเรียกร้องจากบุคคลภายนอก รวมทั้ง ผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เกี่ยวกับความรับผิดของกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหาร อันสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ยกเว้นการกระทำที่เป็นการฉ้อฉลหรือทุจริตบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบความสูญเสีย และให้เรียกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งหมดในการต่อสู้คดีคืนจากกรรมการหรือเจ้าหน้าที่บริหารที่ฉ้อฉลหรือทุจริต

บริษัทฯ ยึดมั่นในหลักจริยธรรม คุณธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณบริษัทฯ ที่ได้กำหนดและรวบรวมข้อพึงปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบของบริษัทฯ สำหรับกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นบรรทัดฐานและแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจที่ครอบคลุมหลักการที่มีนัยสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน และได้เผยแพร่ สื่อสาร และสร้างความตระหนักด้านจรรยาบรรณธุรกิจ โดยได้ส่งมอบให้แก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนลงนามรับทราบแล้ว

จรรยาบรรณบริษัทฯ มีเนื้อหาครอบคลุมถึง วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ปณิธานการดำเนินธุรกิจ การปฏิบัติตามจรรยาบรรณ มาตรการการร้องเรียนและแจ้งเบาะแส มาตรการคุ้มครองการตอบโต้และบรรเทาความเสียหายแก่ผู้รายงาน ผู้ร้องเรียน หรือผู้ให้ความร่วมมือในการรายงานการฝ่าฝืนหรือละเมิดจรรยาบรรณ แนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจ การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน การปกป้องข้อมูลและดูแลสินทรัพย์และการเงิน ของบริษัทฯ สิทธิมนุษยชน การเปิดเผยข้อมูล และการดูแลสิ่งแวดล้อม รายละเอียดแสดงไว้บนเว็บไซต์บริษัทฯ

จรรยาบรรณบริษัท

ปี 2566 คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายบริหาร ยังได้มีการทบทวนจรรยาบรรณ เพื่อให้มั่นใจว่าหลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่ใช้อยู่ยังมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ และบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน นอกจากนี้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนได้ประเมินความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณของบริษัทฯ ทั้งนี้ พบว่าไม่มีการทำผิดเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณบริษัทฯ แต่อย่างใด โดยหากมีการฝ่าฝืนหรือละเมิดจรรยาบรรณบริษัทฯ จะได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบบริษัทฯ หรืออาจได้รับโทษตามกฎหมายด้วยหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย

บริษัทฯ มีการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ทุกคนให้ทราบเกี่ยวกับภาพรวมการประกอบธุรกิจ โครงสร้างและการลงทุนโครงสร้างองค์กร ผลการดำเนินงาน หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบ นโยบายจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทฯ ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์สวัสดิการ พร้อมเอกสารประกอบ อาทิ จรรยาบรรณ และเอกสารอื่นๆ ที่จะใช้เป็นคู่มือและเอกสารอ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ และมีการลงชื่อรับทราบ และมีการสื่อสารนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีอื่นๆ โดยถ่ายทอดแนวนโยบายจากคณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงสู่พนักงานทุกระดับอย่างทั่วถึงอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางในการสื่อสารได้แก่ ระบบอินทราเน็ต และระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่พนักงานสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและทั่วถึง รวมทั้งการสื่อสารในการประชุมภายในระดับต่างๆของบริษัทฯ ทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการเพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกและความผูกพันที่จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และรายงานการปฏิบัติให้คณะกรรมการชุดย่อย และคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบตามลำดับ

นอกจากนี้ ในปี 2566 บริษัทฯ ได้มีการปลูกฝังแนวคิดการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน (ESG) ให้แก่บุคลากรในทุกหน่วยงานรวมทั้งมีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารให้ความรู้กับผู้บริหารและพนักงานในรูปแบบของจดหมายข่าวส่งผ่านทางช่องทางอีเมล เช่น การให้ความรู้ทางกฎหมาย (Legal Update) การให้ความรู้เกี่ยวกับ การปฏิบัติตามแนวทางบัญชีการเงิน (AP Newsletter) การกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Newsletter) ความรู้ด้านภาษี (Tax Newsletter) การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน (CAC Newsletter) การสื่อสารกิจกรรมสร้างความผูกพัน ในบริษัทฯ (Engagement Newsletter) เป็นต้น

บริษัทฯ มอบหมายให้ "ฝ่ายตรวจสอบภายใน" มีหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติภายใต้แผนการตรวจสอบประจำปี และรายงานคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทฯ ตามลำดับ เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบพร้อมข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำทุกไตรมาส นอกเหนือจากการหารือร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

บริษัทฯ ได้จัดทำ “ข้อมูลการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนด” (Compliance Database) จัดส่งให้กรรมการและจัดเก็บในระบบข้อมูลภายใน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. เช่น การเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศ การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ข้อมูลได้ โดยมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันตามการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดอยู่ตลอดเวลา

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนด “แบบแจ้งรายงานการมีส่วนได้เสียของกรรมการและผู้บริหาร” และให้กรรมการและผู้บริหารจัดทำรายงานการมีส่วนได้เสียของตนและบุคคลที่เกี่ยวข้องส่งให้เลขานุการบริษัทจัดเก็บและส่งสำเนาให้ประธานกรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และที่ประชุมผู้ถือหุ้น

นอกจากนี้ ยังมีคณะทำงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารจากทุกสายงาน ทำหน้าที่ในการสื่อสาร ติดตาม ทบทวน เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานและเสนอแนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณของบริษัทฯ รวมทั้งรายงานการปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการดำเนินงาน ตามแผนจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตต่อคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหาร และคณะกรรมการ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท โดยที่ได้มีการทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาต่อยอด เพื่อมุ่งสู่ระดับมาตรฐานสากลให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งครอบคลุม CG Code 2017 เกณฑ์การประเมิน Corporate Good Governance Report (CGR) เกณฑ์ ASEAN Corporate Governance Scorecard: ASEAN CG Scorecard แนวปฏิบัติที่ดีที่เกี่ยวข้องต่างๆ และการให้ความสำคัญและคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างรอบคอบและรอบด้านในทุกมิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล

  • ประเภทการเปิดเผย

    บริษัทฯ เปิดเผยข้อมูลทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเปิดเผยตามรอบระยะเวลาบัญชี (Periodic Report) และตามเหตุการณ์ (Non-Periodic Report) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับสารได้รับข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ และทันกาล และเป็นประโยชน์ในการพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน

  • คุณภาพของข้อมูล

    คุณภาพของข้อมูล หมายถึง ความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน เพียงพอ เป็นปัจจุบัน ทันเวลา โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญของบริษัทฯ ที่ทำการเปิดเผยมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ลักษณะข้อมูลไม่ใช่ข้อมูลด้านเดียว แต่มีทั้งข้อมูลเชิงบวกและเชิงลบ การเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญให้ทราบโดยทันที การเผยแพร่สารสนเทศต่อประชาชนโดยทั่วถึง การชี้แจงกรณีที่มีข่าวลือหรือข่าวสารต่าง ๆ การดำเนินการเมื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ผิดจากภาวะปกติ ไม่ทำการเปิดเผยในเชิงส่งเสริมโดยไม่มีเหตุอันควร และการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ โดยบุคคลภายใน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน การเปิดเผยข้อมูลต้องไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่บริษัทฯ จนเกินไป และไม่ทำให้บริษัทฯ สูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้วยเช่นกัน ในส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ได้กล่าวไว้ในหัวข้อสิทธิของผู้ถือหุ้นและรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินที่คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดทำและแสดงไว้ควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชีในแบบ 56-1 One Report และความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพรายงานทางการเงินของคณะกรรมการตรวจสอบ แสดงไว้ในหัวข้อรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบในรอบปีที่ผ่านมา

    นอกจากการเปิดเผยสารสนเทศที่มีคุณภาพต่อบุคคลภายนอกจะสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสในการดำเนินงานของบริษัทฯ แล้วยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมความเชื่อมั่นและความมั่นใจของผู้ลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้ทำหน้าที่กำกับดูแล ติดตาม และทบทวนให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามที่กำหนดไม่เพียงแต่การเปิดเผยสารสนเทศในระดับขั้นต่ำที่กฎหมายหรือข้อบังคับกำหนดเท่านั้น แต่ยังให้เน้นความสำคัญและความเสมอภาคของผู้ลงทุนในการรับรู้สารสนเทศอีกด้วย

  • ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล

    บริษัทฯ ใช้ช่องทางการเปิดเผยข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ ตลท. เป็นช่องทางหลัก และช่องทางอื่น ๆ อย่างเหมาะสม เช่น การเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์บริษัทฯ การแถลงข่าวผลประกอบการ การประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ การส่งข่าวแก่สื่อมวลชน การพบนักลงทุนในประเทศและในต่างประเทศ การจัดกิจกรรม Opportunity day และการจัดกิจกรรมอื่น ๆ คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายบริหารได้ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญ โดยมีการตรวจสอบติดตามให้มีการปฏิบัติตามหลักการและกฎเกณฑ์ที่กำหนด และบังคับใช้อย่างเคร่งครัด มีการกำหนดหน่วยงานและผู้รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งพัฒนาช่องทางการสื่อสาร เพื่อให้ข้อมูลที่เปิดเผยมีคุณภาพและทั่วถึง ดังนี้

    - ผู้รับผิดชอบการเปิดเผยข้อมูล บริษัทฯ กำหนดผู้มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศของบริษัทฯ ได้แก่ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบ การจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้ฝ่ายกิจการองค์กรรับผิดชอบการจัดทำข้อมูลและประเด็นสำคัญ สำหรับการสื่อสารกับผู้สื่อข่าว และรายงานความยั่งยืน สำนักงานเลขานุการบริษัทรับผิดชอบดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูล และสารสนเทศตามข้อกำหนดและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนและสายงานการเงินและส่วนนักลงทุนสัมพันธ์รับผิดชอบ การจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้อง การจัดทำข้อมูล และประเด็นสำคัญสำหรับการสื่อสารกับผู้สื่อข่าว นักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ และการจัดทำแบบ 56-1 One Report เพื่อเปิดเผยตามข้อกำหนดและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

    - ช่องทางการสื่อสาร บริษัทฯ ยึดหลักการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญของบริษัทฯ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีลักษณะครอบคลุมทั้งการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง โดยข้อมูลที่ทำการเผยแพร่จัดทำเป็นสองภาษา คือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และทำการเผยแพร่ออกไปพร้อมกันผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ ตลท. เป็นช่องทางหลัก และเพื่อขยายโอกาส เพิ่มความสะดวกในการเผยแพร่ข้อมูล และสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้สนใจทั่วไป และสาธารณชน บริษัทฯ ยังได้มีการเปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไซต์บริษัทฯ (www.ratch.co.th) การจัดการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ การพบนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ การแถลงข่าวผลประกอบการประจำไตรมาสและประจำปี การจัดส่งข่าวและภาพข่าวกิจกรรมของบริษัทฯ ให้แก่ สื่อมวลชน การสัมภาษณ์ผู้บริหาร การจัดนิทรรศการ การจัดกิจกรรมสัมพันธ์กับสื่อมวลชน การจัดกิจกรรม Opportunity Day และในสถานการณ์ปกติจะมีการนำผู้ถือหุ้น นักลงทุนสถาบัน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์เข้าเยี่ยมชมกิจการ เป็นต้น

คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้มีการพิจารณาทบทวนนโยบายเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ได้กำหนดและประกาศใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การให้ความสำคัญในการสื่อสาร การสนับสนุนการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และสนับสนุนการอนุรักษ์และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการดำเนินการในทุกกระบวนการและช่วงเวลาของการพัฒนาและดำเนินโครงการของบริษัทฯ กล่าวคือ ในช่วงการพัฒนาโครงการได้มีการศึกษารายละเอียดข้อมูลเบื้องต้นทางด้านเทคนิคควบคู่ไปกับการศึกษาข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ สังคม ขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อจัดทำแผนงานการมีส่วนร่วมของชุมชน และข้อมูลหลักในการสื่อสารของโครงการการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจโครงการและการประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในเรื่องต่าง ๆ ภายใต้ข้อกำหนดของหน่วยงานราชการ และหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องในระหว่างงานก่อสร้างโครงการมีการสื่อสาร ทำความเข้าใจให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน และนโยบายการดำเนินงานของบริษัทฯ กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง จนถึงช่วงที่โครงการมีการดำเนินงานแล้วก็ยังคงมีการติดต่อสื่อสารอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอกับชุมชน มีการรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดให้มี “คณะกรรมการผู้ตรวจการสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าราชบุรี” ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากชุมชนและผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ทำหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการของโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าราชบุรี ตามที่ระบุในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเป็นองค์กรกลางในการติดต่อประสานงานกับโรงไฟฟ้า รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริง ปัญหาหรือประเด็นที่อาจเป็นปัญหาข้อเสนอแนะจากชุมชน ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญอีกทางหนึ่ง ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างมีระบบและต่อเนื่อง

บริษัทฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรายละเอียดเพิ่มเติมแสดงไว้ในรายงานความยั่งยืน ประจำปี 2566

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ระเบียบ คำสั่ง และจรรยาบรรณของบริษัทฯ พร้อมทั้งส่งเสริมการปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

นโยบายการกํากับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการพิจารณาทบทวนการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ผ่านการพิจารณากลั่นกรองและกำกับดูแลของคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน คณะกรรมการชุดย่อยที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานกำกับดูแลกิจการที่ดีและฝ่ายบริหารอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้สื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าวไปยังบุคลากรของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อทราบและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้ติดตามการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณบริษัทฯ ผ่านคณะกรรมการชุดย่อยและคณะทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ โดยสรุปสาระสำคัญดังนี้