เป้าหมายและการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

บริษัทฯ มีความแน่วแน่ที่จะพัฒนาองค์กรให้มีความปลอดภัย โดยปราศจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บจากการทำงาน และปลอดโรค โดยได้เน้นย้ำการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด และมาตรฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ได้รับการยอมรับอย่างเข้มงวดและถือเป็นประเด็นสำคัญที่ได้กำหนดเป็นหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในจรรยาบรรณบริษัทฯ พร้อมทั้งนโยบายด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จรรยาบรรณคู่ค้า และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความปลอดภัยและอาชีวอนามัย อีกทั้งจรรยาบรรณและนโยบายต่างๆ ได้ถูกสื่อสารไปยังผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วง เพื่อให้เกิดความตระหนักและใส่ใจกับความปลอดภัยในการทำงานทั่วทั้งองค์กร

โครงสร้างการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ข้อมูลเพิ่มเติม: จรรยาบรรณบริษัทฯ
นโยบายด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร

การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของกลุ่มบริษัทฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งมีคณะกรรมการชุดย่อย ได้แก่ คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่ติดตามการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบ ฝ่ายบริหาร ซึ่งประกอบด้วย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุดของทุกสายงาน มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ ลงทุน และถ่ายทอดลงไปยังระดับปฏิบัติการ ซึ่งมีหน่วยงานด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และการบริหารความเสี่ยงที่รับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และคณะทำงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะทำงานปลอดโรค ปลอดภัย ปลอดยาเสพติด กายจิตเป็นสุข และคลินิกความปลอดภัย เป็นต้น นำนโยบายและหลักปฏิบัติมาใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และติดตามผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไข ป้องกัน พร้อมจัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยข้อมูลให้ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าในสถานประกอบการแต่ละแห่งจะบรรลุตามวัตถุประสงค์และความมุ่งมั่นขององค์กร

สถิติสำคัญด้านความปลอดภัย ปี 2565
โรงไฟฟ้า/สำนักงาน จำนวน (คน) จำนวนชั่วโมงการทำงาน (ชั่วโมง) อัตราการเกิดอุบัติเหตุ
ต่อ 200,000 ชั่วโมงการทำงาน
พนักงานทั้งหมด ผู้รับเหมาทั้งหมด รวมผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด พนักงาน ผู้รับเหมา รวมทั้งหมด อัตราการเสียชีวิตจากการทำงาน อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน อัตราการเกิดโรคจากการทำงาน
RATCH 222 56 278 405,096 171,560 576,656 0 0 0
RGCO 47 381 428 85,630 1,285,343 1,370,973 0 0 0
RAC 24 0 24 36,864 0 36,864 0 0 0
RL 214 0 214 524,019 0 524,019 0 0 0
RCO 13 436 449 17,944 608,356 626,300 0.32 0 0
SCG Group 181 755 936 394,483 889,057 1,283,539 0 0 0
Asahan-1 20 95 115 39,984 215,961 255,945 0 0 0
NRER 31 23 54 58,188 754,410 812,598 0 0 0
NNEG 30 970 1,000 57,264 245,564 302,828 0 0 0
BPC 19 50 69 25,544 129,846 155,390 0 0 0
รวมกลุ่ม บริษัทฯ 801 2,766 3,567 1,645,015 4,300,096 5,945,112 0.03 0 0
โรงไฟฟ้า/สำนักงาน RATCH RGCO RAC RL RCO SCG Group Asahan-1 NRER NNEG BPC
LTIFR ของพนักงาน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
TIFR ของพนักงาน 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
LTIFR ของผู้รับเหมา 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
TIFR ของผู้รับเหมา 0 0 0 0 0 0 0 0 0.81 0
หมายเหตุ : LTIFR = อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานต่อ 200,000 ชั่วโมงการทำงาน
  TIFR = อัตราความถี่ของการเกิดอุบัติเหตุด้านบุคคลทั้งหมดต่อ 200,000 ชั่วโมงการทำงาน
การดำเนินงานด้านความปลอดภัย
การบริหารความเสี่ยงในการทำงาน

งานที่มีความเสี่ยงสูงทุกงาน เช่น งานในที่อับอากาศ งานที่ก่อให้เกิดความร้อนและประกายไฟ งานในที่สูง งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี เป็นต้น ต้องได้รับการประเมินระดับความเสี่ยง พร้อมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และตรวจสอบการทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะทำงานอย่างปลอดภัย หรือหากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นจะสามารถช่วยลดความรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินลงได้

ในการประเมินความเสี่ยงจะพิจารณาวิธีการควบคุมหรือจัดการความเสี่ยงที่สามารถลดโอกาสการเกิดอันตรายให้อยู่ในระดับต่ำหรือยอมรับได้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมีความเสี่ยงจากการทำงานน้อยที่สุด

หลักการควบคุมความเสี่ยง
การประเมินระดับความเสี่ยงของงาน ปี 2565
ความเสี่ยง (งาน) RATCH RGCO RCO SCG Group NRER NNEG BPC Asahan-1
ระดับสูง 0 0 0 3 2 0 0 0
ระดับปานกลาง 0 420 578 256 12 28 200 0
ระดับยอมรับได้ 5 217 703 222 7 16 30 299
ระดับต่ำ 26 317 0 912 0 6 311 180
รวม (งาน) 31 954 1,281 1,393 21 50 541 479
จำนวนมาตรการ/วิธีการปฏิบัติงานที่นำมาใช้ควบคุมความเสี่ยง 12 420 149 910 21 189 10 0
หมายเหตุ : RATCH = บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) RGCO = โรงไฟฟ้าราชบุรี
  RCO = โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น SCG GROUP = บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน)/บริษัท สหโคเจน กรีน จำกัด และบริษัท สหกรีน ฟอเรสท์ จำกัด
  NRER = โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง NNEG = โรงผลิตไฟฟ้านวนคร
  BPC = โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น Asahan-1 = โรงไฟฟ้าพลังน้ำอาซาฮาน-1

การทำงานที่มีระดับความเสี่ยงสูงและปานกลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะตรวจสอบพื้นที่การทำงานอย่างเข้มงวด โดยกำหนดความถี่ของการตรวจสอบตามระดับความเสี่ยงของงาน ดังนี้

ระดับความเสี่ยง ความถี่ในการตรวจสอบพื้นที่การทำงาน
ผู้ควบคุมงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย คณะกรรมการความปลอดภัยฯ
ระดับหัวหน้างาน ระดับวิชาชีพ
งานที่มีความเสี่ยงสูง ตลอดเวลา ทุกวัน ทุกวัน ทุกเดือน หรือตามวาระงาน
งานที่มีความเสี่ยงปานกลาง ทุก 1 ชั่วโมง ทุกวัน ทุกวัน ทุกเดือน หรือตามวาระงาน
การควบคุมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติหุส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่พร้อมของผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือ/ เครื่องจักร / อุปกรณ์ และสภาพแวดล้อม วิธีการควบคุมให้การปฏิบัติงานมีความปลอดภัยที่ดำเนินการ ได้แก่ การให้อำนาจผู้ปฏิบัติงานสั่งหยุดงานที่มีความไม่ปลอดภัย การให้สิทธิผู้ปฏิบัติงานปฏิเสธการเข้าทำงานในกรณีที่พบว่าร่างกาย สภาพแวดล้อมในการทำงาน เครื่องจักร/อุปกรณ์อยู่ในสภาพที่ไม่พร้อม ซึ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ได้

ปัจจัย การดำเนินงาน ผลลัพธ์
ผู้ปฏิบัติงาน
  • กำหนดคุณสมบัติบุคลากรของแต่ละงาน
  • อบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน การสอนงานและการฝึกอบรมเฉพาะงาน
  • การตรวจสอบความพร้อมของร่างกายก่อนการเข้าปฏิบัติงาน
  • การสังเกตการทำงาน
  • การปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยเฉพาะงาน/เฉพาะพื้นที่
  • ผู้ปฏิบัติงานมีคุณสมบัติ/ความพร้อมในการปฏิบัติงานตามที่กำหนด
  • ผู้ปฏิบัติงานผ่านการอบรมและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยครบถ้วน
เครื่องมือ/อุปกรณ์
  • การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนใช้งานหรือตามวาระ
  • การตรวจสอบ หรือทดสอบความปลอดภัยตามกฎหมาย
  • การบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ตามแผนที่กำหนด
  • เครื่องมือ/เครื่องจักร และอุปกรณ์ได้มาตรฐานและมีความพร้อมใช้งาน
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • การประเมิน/ ตรวจสอบสภาพแวดล้อมก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และปรับปรุงให้เหมาะสมกับการทำงานก่อนให้มีการเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับงานที่มีความเสี่ยงปานกลาง-สูง
  • การจัดการสถานที่ปฏิบัติงาน/สภาพแวดล้อมภายหลังเสร็จสิ้นงาน
  • ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นไปตามข้อกำหนดและกฎหมาย
  • ปรับปรุง/แก้ไขสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานก่อนอนุญาตให้เข้าปฏิบัติงาน

มาตรการการสั่งหยุดงาน (Stop Work Authority) สามารถสั่งหยุดงานได้ทันทีขณะปฏิบัติงาน เมื่อพบว่าการปฏิบัติงานมีความเสี่ยงสูงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต โดยให้อำนาจผู้ปฏิบัติงานทุกคน หรือผู้พบเห็นสามารถขอหยุดงานด้วยการแจ้งหัวหน้างาน หรือผู้ควบคุมงานให้ทราบ

การจัดการเหตุฉุกเฉิน

บริษัทฯ และโรงไฟฟ้าทุกแห่ง ได้จัดทำแผนรองรับเหตุฉุกเฉินที่สอดคล้องกับบริบทความเสี่ยงการดำเนินงานและโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น ทุกปีแผนดังกล่าวจะนำมาฝึกซ้อม โดยจำลองสถานการณ์ที่ระบุอยู่ในแผนและความรุนแรงในระดับต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทุกคนเข้าใจขั้นตอนและบทบาทหน้าที่ของตนเองในการจัดการเหตุฉุกเฉินอย่างเป็นระบบ ตลอดจนคุ้นเคยกับการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้

การฝึกซ้อมแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน ปี 2565
สถานการณ์ฉุกเฉินที่ฝึกซ้อม จำนวนครั้งในการฝึกซ้อม
RATCH RGCO RCO SCG Group NRER NNEG BPC Asahan-1 RAC
ไฟไหม้และระเบิด ระดับที่ 1 12 29 1 8 1 6 4 1 1
ไฟไหม้และระเบิด ระดับที่ 2 - 1 1 4 - 1 1 1 -
ไฟไหม้และระเบิด ระดับที่ 3 1 1 1 - - - - 1 -
ก๊าซรั่วไหล - 4 - 2 - 2 1 - 1
น้ำมันรั่วไหล - 2 - 5 - 2 - 1 -
สารเคมีรั่วไหล - 3 - 4 - 3 2 - 1
รังสีรั่วไหล - 1 - - - - - - -
การขนย้ายของเสีย/ สิ่งปฏิกูล - - - 4 - - - - -
หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด - - - 3 - - - - -
หม้อน้ำระเบิด - - - 1 - - - - -
ภัยธรรมชาติ (พายุ/ น้ำท่วม/ แผ่นดินไหว/ไฟป่า) - 1 - - - - - 1 3
โรคระบาด - 1 - - - - - - -
เหตุงูกัด - - - - - - - - 1
ลิฟต์ค้าง 12 1 - - - - - - -
ท่อแรงดันแตก - 1 - - - - - - -
ที่อับอากาศ - - - - - - - 1 -
สถิติการเกิดเหตุฉุกเฉิน

ในปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทฯ และโรงไฟฟ้าในขอบเขตการรายงาน มีเหตุการณ์ไฟไหม้ และสารเคมีรั่วไหลขนาดเล็ก ที่สามารถจัดการควบคุมได้ตามขั้นตอนของแผนฉุกเฉิน ไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน และกระบวนการผลิตแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนและปรับปรุงขั้นตอนและวิธีปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น

ไฟไหม้ เชื้อเพลิง/สารเคมีรั่วไหล
โรงไฟฟ้าสหกรีน ฟอเรสท์ จำนวน 1 ครั้ง
  • โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟฯ จำนวน 1 ครั้ง
  • โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) จำนวน 1 ครั้ง
การจัดการภาวะวิกฤติ

บริษัทฯ ได้จัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนจัดการภาวะวิกฤติ เพื่อควบคุมผลกระทบจากเหตุวิกฤติที่ยากต่อการควบคุมได้อย่างรวดเร็ว และไม่อาจคาดการณ์เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้โดยไม่หยุดชะงัก ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เชื่อมโยงแผนทั้งสองเข้ากับแผนรับมือเหตุฉุกเฉินของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทร่วมทุนทุกแห่ง เพื่อให้การดำเนินงานสอดประสานกันและการจัดการเหตุการณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ทุกแผนยังมีการทบทวนความเหมาะสมของขั้นตอนและวิธีการ รวมทั้งสถานการณ์ที่เป็นความเสี่ยงต่างๆ เป็นประจำทุกปี

ในปี 2565 โรงไฟฟ้าราชบุรี จัดให้มีการอบรมเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) รวมทั้งแนวทางในการจัดทำแผนการจัดการภาวะวิกฤติ และแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจเฉพาะของโรงไฟฟ้าให้กับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ คณะทำงานระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จะทำหน้าที่รับผิดชอบจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan : BCP) ในสภาวะการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำเดิม โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ เพื่อวางแผนและแนวทางบริหารบุคลากรงานเดินเครื่องและบำรุงรักษาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจของโรงไฟฟ้าราชบุรี คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 และจะดำเนินการฝึกซ้อมต่อไป

แผนปฏิบัติการควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำในโรงไฟฟ้าราชบุรี
การเสริมสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย

การสร้างความตระหนักด้วยการเสริมความรู้และความเข้าใจถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความประมาทหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย จนสามารถทำให้ทุกคนใส่ใจและถือปฏิบัติจนเป็นกิจวัตร จะช่วยสนับสนุนให้เป้าหมายอุบัติเหตุเป็นศูนย์สัมฤทธิ์ผลได้ ส่งผลให้ทุกคนทำงานอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

การอบรมเพื่อสร้างความตระหนักด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยปี 2565
หัวข้ออบรม จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม (คน) ผู้ปฏิบัติงาน (ร้อยละ) คู่ค้า/ผู้รับเหมา (ร้อยละ)
RGCO RCO NNEG BPC SCG Group NRER RL Asahan-1 RATCH รวม ทั้งหมด
บทบาทและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (ระดับหัวหน้างาน /ระดับบริหาร) 8 9 10 8 8 0 0 4 9 56 42.86 57.14
ผู้ควบคุม/ทบทวนความรู้ผู้ควบคุม (ประจำหม้อน้ำ/การใช้ปั้นจั่น) 84 9 17 9 72 1 0 3 0 195 26.15 73.85
ด้านสุขภาพ เช่น การอนุรักษ์การได้ยิน โรคจากการประกอบอาชีพและโภชนาการ เป็นต้น 94 60 20 60 157 21 0 2 64 477 49.27 50.73
ความปลอดภัยในการทำงาน เช่น งานไฟฟ้า ที่อับอากาศ เสียง สารเคมี งานบนที่สูง 158 124 23 35 140 1 0 6 0 487 29.98 70.02
ผู้ควบคุมระบบ (น้ำ/อากาศ/กากอุตสาหกรรม) 17 0 0 1 0 0 0 0 0 18 5.56 94.44
ความปลอดภัยในการขับขี่ (ยานพาหนะทั่วไป/ฟอล์คลิฟต์) 7 0 0 3 58 17 0 3 0 88 75.00 25.00
การใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ เช่น ปั้นจั่นอยู่กับที่และเคลื่อนที่ เป็นต้น 48 0 1 2 0 0 0 0 0 51 21.57 78.43
การดับเพลิง เช่น การดับเพลิงขั้นต้น/ ขั้นก้าวหน้า และภายในอาคาร รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ป้องกัน เป็นต้น 207 36 42 50 76 21 0 13 207 652 62.88 37.12
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ผู้ปฏิบัติงานที่เป็นคณะกรรมการฯ ลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้างานใหม่ เป็นต้น 2,179 1,317 1,422 586 1,363 58 218 15 173 7,331 6.71 93.29
งานที่มีการใช้และเก็บก๊าซ และสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ และงานคลังน้ำมันและระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ 8 0 0 0 0 2 0 0 0 10 20.00 80.00
Internal Auditor ISO 14001 & 45001 31 0 0 0 0 0 0 0 0 31 3.23 96.77
Deluge Valve และ Deluge System และ Impairment Work Permit 0 0 0 0 0 0 28 0 0 28 100.00 0
Knowledge for Coal Fired Power Plant Operation #1 0 0 0 0 0 0 189 0 0 189 100.00 0
Operation BAR/AAR/KM and PPA Case Study #1 0 0 0 0 0 0 113 0 0 113 100.00 0
Nirsoft Program และ MMS Program 0 0 0 0 0 0 30 0 0 30 100.00 0
Training of Monthly 0 0 0 0 0 0 33 0 0 33 100.00 0