น้ำดิบถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯ มีกระบวนการผลิตแบบการใช้พลังงานความร้อนและความร้อนร่วม คิดเป็นร้อยละ 41.78 จึงมีความต้องการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยการผลิต โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ พร้อมทั้งลดปริมาณการใช้น้ำ ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดแคลนน้ำ และความขัดแย้งกับชุมชนในการใช้น้ำ

การใช้น้ำจะแปรผันตรงตามกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้า กล่าวคือ ความจำเป็นของการใช้น้ำดิบจะมากขึ้นตามการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มากขึ้น ดังนั้น โรงไฟฟ้าที่บริษัทฯ มีอำนาจควบคุมการบริหารทั้ง 6 แห่งในประเทศไทย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรายได้ร้อยละ 83.81 ของรายได้ รวมปี 2565 มีการใช้น้ำดิบจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่มแม่น้ำบางปะกง ซึ่งการใช้ประโยชน์หลักๆ ของทั้ง 3 แหล่ง คือ เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การชลประทาน และอุปโภคและบริโภค

การวิเคราะห์ความตึงเครียดของน้ำ

จากผลการวิเคราะห์และจัดอันดับความตึงเครียดน้ำของสถาบันทรัพยากรโลก (World Resource Institute: WRI, Aqueduct Water Risk Atlas and the WWF: Water Risk Filter) พบว่า ระดับความตึงเครียดของน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองจะมีค่าอยู่ในระดับต่ำ ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำบางปะกงความตึงเครียดอยู่ในระดับสูง

ปริมาณการใช้น้ำและสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าแบ่งตามระดับความตึงเครียดของน้ำ ปี 2565
แหล่งน้ำ ระดับความตึงเตรียดของน้ำ ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อหน่วยการผลิต
(ลบ.ม./ เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าตามระดับความตึงเครียดของน้ำ
ต่ำ (10-20%) ปานกลาง (21-40%) สูง (41-80%)
แม่น้ำแม่กลอง โรงไฟฟ้าราชบุรี - - 1.13 79.60
แม่น้ำแม่กลอง โรงไฟฟ้าเบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น - - 1.49 3.24
น้ำประปา ที่ผลิตจากแม่น้ำเจ้าพระยา - - โรงผลิตไฟฟ้า
นวนคร
1.55 6.22
น้ำประปา ที่ผลิตจากแม่น้ำเจ้าพระยา - - โรงไฟฟ้าราช
โคเจนเนอเรชั่น
1.36 3.88
น้ำประปา ที่ผลิตจากแม่น้ำบางประกง - - โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง 1.33 1.62
น้ำประปา ที่ผลิตจากแม่น้ำบางประกง - - โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) 1.78 5.45
มาตรการการจัดการความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำ

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ บริษัทฯ และโรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทฯ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำบางปะกงจึงได้มีมาตรการในการติดตามและประเมินระดับของแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใชน้้ำดิบในแหล่งดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ เพื่อเป็นการติดตาม เฝ้าระวังประเด็นด้านการขาดแคลนน้ำและการแย่งชิงน้ำกับชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมที่จะส่งผลต่อเนื่องไปสู่ระบบเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน นอกจากนี้ ยังมีการประชุมหารือ และติดตามแผนการบริหารจัดการแหล่งน้ำกับผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำดิบให้กับโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

สำหรับโรงผลิตไฟฟ้านวนคร และโรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น ใช้น้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และโรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) และโรงไฟฟ้า เน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง ใช้น้ำประปาจากแหล่งน้ำดิบในลุ่มน้ำบางปะกง ผ่านสัญญาซื้อขายน้ำประปาในระยะยาว ทั้งสองลุ่มน้ำนี้ จัดเป็นพื้นที่ที่มีความตึงเครียดอยู่ในระดับสูง (41-80%) และโรงไฟฟ้าดังกล่าวได้บริหารจัดการความเสี่ยงด้วยการกำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำประปาต้องจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และแหล่งน้ำฉุกเฉินสำหรับรองรับกรณีที่เกิดภัยแล้งหรือขาดแคลนน้ำในแหล่งน้ำหลัก เพื่อให้โรงไฟฟ้ามีปริมาณน้ำดิบเพียงพอสำหรับใช้ในกระบวนการผลิต นอกจากนั้นโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งยังมีมาตรการเพื่อเสริมความมั่นคงของการใช้น้ำเพิ่มเติมอีก ดังนี้

  1. จัดให้มีบ่อหรือระบบเก็บน้ำสำรองเพื่อให้ใช้ภายในโครงการได้อย่างน้อย 10 วัน
  2. ติดตั้งระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบเพื่อใช้น้ำที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงของการสูญเสียน้ำใช้ในโครงการ
  3. หมุนเวียนน้ำใช้ในระบบหล่อเย็นของกระบวนการให้ได้จำนวนรอบมากที่สุด
  4. พิจารณาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำหรือหมุนเวียนการใช้น้ำภายในโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นนำน้ำฝนกลับมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิต หรือน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ล้างเครื่องจักรอุปกรณ์ รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
  5. มีการตรวจสอบสภาพท่อน้ำอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งซ่อมแซมท่อน้ำที่รั่วในทันที เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ
  6. จัดให้มีโครงการสร้างจิตสำนึกและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเสี่ยงของปริมาณและคุณภาพน้ำ
ดาวน์โหลด