ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน สิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญของมิติสังคม ซึ่งบริษัทฯ มีความมุ่งหมายให้มีการบริหารจัดการและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพภายในบริษัทฯ กิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหาร และบริษัทร่วมทุนที่ไม่มีอำนาจควบคุม โดยตั้งเป้าหมายในปี 2573 จะต้องไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจของบริษัทฯ พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำแผนงาน 5 ปี (ปี 2566-2570) เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

การประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการพัฒนานโยบายสิทธิมนุษยชน ที่ได้วางหลักการและแนวปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกับหลักกฎหมายภายในประเทศ หลักปฏิบัติที่ดีสำหรับภาคธุรกิจ และหลักการสิทธิมนุษยชนสากลที่สำคัญครอบคลุมถึงปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UDHR) หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGPs) กรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UNGC) และปฏิญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ เรื่องหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน

นโยบายสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะใช้เป็นกรอบในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนและแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน หรือแรงงาน ห่วงโซ่อุปทาน ชุมชนและสังคม และบริษัทฯ ยังจะส่งเสริมให้บริษัทร่วมทุน หุ้นส่วนธุรกิจ คู่ค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดำเนินงานบนพื้นฐานของหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยนำนโยบายฉบับนี้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ หรือประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

หลักปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
  • ปฏิเสธการจ้างแรงงานเด็ก โดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอายุในการจ้างแรงงานตามข้อบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงานของแต่ละประเทศอย่างเคร่งครัด
  • ส่งเสริมการจ้างงานอย่างเป็นธรรม โดยปฏิบัติกับพนักงานและลูกจ้างทุกคน รวมทั้งแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นธรรมและโปร่งใสในทุกสถานที่ปฏิบัติงาน การจ้างงานจะระบุข้อกําหนดและเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย มีการกำหนดอัตราค่าจ้างและสวัสดิการ ระยะเวลาการทำงาน การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด วันลา วันหยุดและสิทธิประโยชน์อื่นใดไม่น้อยกว่ากฎหมายกำหนด ตลอดจนให้การคุ้มครองสิทธิความเป็นมารดาของพนักงานหรือลูกจ้างที่ตั้งครรภ์ ให้สิทธิในการลาคลอด รวมระยะเวลาหลังคลอดบุตรและจัดให้ค่าจ้างและ/หรือผลตอบแทนในช่วงการลาคลอดไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งคุ้มครองสิทธิการกลับเข้าททำงานในตำแหน่งเดิมเมื่อสิ้นสุดการลาคลอด
  • ไม่ยอมรับการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ โดยการมอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงานแก่พนักงาน และลูกจ้างจะพิจารณาจากความสามารถของบุคคลและเห็นชอบร่วมกันทั้งสองฝ่าย บริษัทฯ ไม่ ยอมรับการบังคับใช้แรงงาน แรงงานจากนักโทษ แรงงานทาส และแรงงานในรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นการบังคับเพื่อแสวงหาประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งในการดําเนินงาน และในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการ
  • เปิดโอกาสให้พนักงานและลูกจ้างในการเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ตาม ความสมัครใจ การแสดงความคิดเห็น และแสดงออกใดๆ ที่ไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย และศีลธรรมอันดี
  • ส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในบุคคลและทรัพย์สินของบริษัทฯ และ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ กิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการ และห่วงโซ่ อุปทาน เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีความปลอดภัย มีมาตรการและระบบการป้องกันและเฝ้าระวัง ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยโดยให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัยและชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และข้อบังคับด้านความปลอดภัยของบริษัทฯ
  • ต่อต้านการค้ามนุษย์และการข่มขู่คุกคาม โดยไม่ดำเนินการใดๆ ที่ข้องเกี่ยวกับ การค้ามนุษย์ และการข่มขู่คุกคาม การล่วงละเมิด หรือการใช้ความรุนแรงใดๆ การล้อเลียนหรือการแสดง ความเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างของผู้อื่นในลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา การคุกคามทางเพศที่แสดงออกทาง พฤติกรรมและวาจา รวมถึงลักษณะที่ส่อถึงการล่วงละเมิดทางเพศ หรือทำให้บุคคลหนึ่งเกิดความอับอายทั้งทาง ร่างกายและจิตใจ อันถือเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  • เคารพสิทธิของชนพื้นเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นในทุกพื้นที่ที่ประกอบกิจการ โดยจะยอมรับ คุ้มครอง และส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชนพื้นเมือง มรดกทาง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม สิทธิดั้งเดิม รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรมของคนพื้นเมือง
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
  • พัฒนาระบบและกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ภายในบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ประเมินผลกระทบ และกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบ รวมทั้งมาตรการเยียวยาและกระบวนการบรรเทาผลกระทบที่เหมาะสม หรือมีความชอบธรรม หรือได้รับการยอมรับทั่วไป นอกจากนี้ ยังจะจัดให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน การติดตามการปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชน และการรายงานและเปิดเผยข้อมูลอย่างสม่ำเสมอด้วย
  • เปิดรับเรื่องร้องเรียนหรือการรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ทั้งที่เกิดจากกิจกรรมของบริษัทฯ กิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการ และ/หรือห่วงโซ่อุปทาน ผ่านช่องทางการร้องเรียนบนเว็บไซต์บริษัทฯ www.ratch.co.th และจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่ร้องเรียนหรือรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ตามมาตรการคุ้มครองที่ระบุในจรรยาบรรณบริษัทฯ
  • ปลูกฝังและสร้างวัฒนธรรมองค์กรการเคารพสิทธิมนุษยชนโดยดำเนินการสอดส่องดูแล ไม่เพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน อีกทั้งจะสื่อสารเผยแพร่ ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนแก่คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงานของบริษัทฯ กิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการ และห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  • ดำเนินการทบทวนนโยบายสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปีหรือเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เพื่อให้นโยบายมีความสอดคล้องกับหลักกฎหมาย หลักปฏิบัติสากล และ/หรือ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจอยู่เสมอ
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน ถือเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณของบริษัทฯ และนโยบายฉบับนี้ ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบของบริษัทฯ และหากการกระทำนั้นเข้าข่ายเป็นความผิดทางกฎหมายอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายด้วย

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำหนดหลักการพื้นฐานในการเคารพสิทธิของพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียในจรรยาบรรณบริษัทฯ และแนวปฏิบัติไว้ในนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร ดังนี้

หลักการด้านสิทธิมนุษยชน
จรรยาบรรณบริษัทฯ
แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร
  • เจตนารมณ์การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตั้งอยู่บนพื้นฐานการปฏิบัติตามกฎหมาย การให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน และคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  • ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียภายใต้สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค โดยไม่แบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานะทางสังคม และการศึกษา รวมถึงการให้สิทธิเสรีภาพทางการเมือง
  • การปกป้องสิทธิส่วนบุคคล และการเก็บรักษาข้อมูลความลับ การเข้าถึงข้อมูล การเปิดเผยข้อมูล และการใช้ประโยชน์ข้อมูล ตามความจำเป็นหรือที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
  • ปฏิบัติต่อพนักงานและลูกจ้างโดยไม่เลือกปฏิบัติ ให้โอกาสอย่างเท่าเทียม มอบหมายงานให้เพียงพอตามความสามารถและผลตอบแทนที่เหมาะสม ห้ามการจ้างแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และแรงงานผิดกฎหมาย โดยครอบคลุมถึงพนักงานและลูกจ้างของคู่ค้า และ/หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย
  • ดูแลและคุ้มครองความปลอดภัยแก่พนักงาน ลูกจ้าง และทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยไม่ให้กระทบกับสิทธิและความปลอดภัยของผู้อื่น รวมทั้งปกป้องสิทธิส่วนบุคคล การเก็บรักษาข้อมูลความลับ การเปิดเผยข้อมูลและการใช้ประโยชน์ข้อมูลส่วนบุคคล
  • เคารพสิทธิ ให้เกียรติ และปฏิบัติต่อพนักงานและลูกจ้างของบริษัทฯ และคู่ค้า ด้วยความเสมอภาคและคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ข้อมูลเพิ่มเติม: จรรยาบรรณบริษัทฯ
นโยบายสิทธิมนุษยชน
นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร
การตรวจสอบประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD)

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้เริ่มลงมือปฏิบัติตามนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยดำเนินการตรวจสอบด้วยตระหนักว่า สิทธิมนุษยชนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้สำเร็จและยั่งยืน บริษัทฯ จึงได้เริ่มพัฒนาระบบและกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) โดยเริ่มดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment: HRRA) เพื่อระบุประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง (Actual) และประเด็นที่มีโอกาสเกิด (Potential) รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ทรงสิทธิของบริษัทฯ

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment: HRRA)

บริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และกิจการที่บริษัทฯ ลงทุน และคู่ค้าในห่วงโซ่ธุรกิจ โดยได้ประเมินทั้งประเด็นที่เกิดขึ้นจริงและที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น

วิธีการประเมินความเสี่ยง

  1. การระบุประเด็น
    • ศึกษาประเด็นที่เป็นความเสี่ยงจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ ประเด็นที่เกิดขึ้นกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันแนวโน้มของโลกด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
    • ประเด็นที่มีโอกาสจะส่งผลกระทบต่อผู้ทรงสิทธิและกลุ่มเปราะบางจะถูกระบุเป็นประเด็นความเสี่ยง
    • กลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย สตรี สตรีตั้งครรภ์ เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQI+) คนพื้นถิ่น แรงงานข้ามชาติ พนักงานของบุคคลที่ 3
  2. การประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risk)
    • ประเมินและจัดลำดับความเสี่ยงที่มีอยู่ ที่ยังคงเสี่ยงต่อมาตรการและการควบคุมที่มีอยู่ของบริษัทฯ
  3. การประเมินความเสี่ยงที่เหลืออยู่ (Residual Risk)
    • ประเมินและจัดลำดับความเสี่ยงที่เหลืออยู่ โดยเป็นความเสี่ยงที่มีการควบคุมและมาตรการจัดการดำเนินการอยู่แล้ว
  4. การจัดลำดับความเสี่ยง
    • จัดลำดับประเด็นสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงสูง (Salient Issues) จากประเด็นความเสี่ยงที่เหลืออยู่ที่มีระดับความเสี่ยงสูงสุด (Extreme Residual Risk) และกำหนดแนวทางตอบสนองเพื่อลดระดับความเสี่ยงในอนาคต
กระบวนการประเมินความเสี่ยง
กลุ่มผู้ทรงสิทธิและประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยง
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับการประเมิน ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ประเมินความเสี่ยง
พนักงาน
  • สภาพการทำงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • เสรีภาพในการสมาคม การชุมชนและการเจรจาต่อรองร่วมกัน
  • การใช้แรงงานผิดกฎหมาย
คู่ค้า/ผู้รับเหมา
  • สภาพการทำงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า/ผู้รับเหมาในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
ชุมชน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • มาตรฐานการครองชีพในชุมชน
  • การครอบครองที่ดินและการโยกย้ายถิ่นฐาน
ลูกค้า
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ทรงสิทธิทั้งหมด
  • ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์/ความปลอดภัยของข้อมูล
ผลการประเมินความเสี่ยงและมาตรการจัดการ
ประเด็นความเสี่ยงของบริษัทฯ และกิจการที่มีอำนาจบริหาร มาตรการป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบ
สุขภาพและความปลอดภัยของคู่ค้า/ผู้รับเหมา
  • การบังคับใช้จรรยาบรรณคู่ค้าในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้า
  • บังคับใช้กฎและข้อบังคับด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมให้เข้มงวดมากขึ้น
  • การกำกับดูแลโดยใช้มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001
  • การประเมินความเสี่ยงของงานก่อนการเข้าทำงาน
  • ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ
  • กำหนดเงื่อนไขด้านการคุ้มครองแรงงานและมาตรการความปลอดภัยในการจ้างคู่ค้า/ผู้รับเหมาช่วง
  • อบรมความปลอดภัยแก่คู่ค้า/ผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วง
  • กำหนดเงื่อนไขให้คู่ค้า/ผู้รับเหมาประเมินความเสี่ยงของงานและกำหนดมาตรการป้องกันรวมทั้งมาตรการเยียวยาเมื่อเกิดเหตุขึ้น
  • ติดตามการทำงานและการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยของคู่ค้า/ผู้รับเหมา
  • จัดให้มีกระบวนการ/มาตรการรับเรื่องร้องเรียน และกระบวนการชดเชยและเยียวยา
สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน
  • การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติของนโยบายสิทธิมนุษยชน และจรรยาบรรณบริษัทฯ
  • จัดให้มีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน แก้ไข และชดเชยเยียวยา
  • กำหนดให้หน่วยงานชุมชนสัมพันธ์เป็นช่องทางสื่อสารกับชุมชน
  • จัดทำแผนรับมือเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤติ แผนอพยพชุมชน รวมทั้งให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการซ้อมแผนเป็นประจำ
  • ปฏิบัติตามมาตรการ/แผนพัฒนาชุมชนที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA
  • จัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี เพื่อเป็นเวทีในการปรึกษาหารือกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
  • ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
  • จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ชุมชน
  • สนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า (ในประเทศไทย)
  • กำหนดกระบวนการสานสนทนากับชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา/การชดเชยเยียวยา
คุณภาพชีวิตของชุมชน
ประเด็นความเสี่ยงของคู่ค้า/ผู้รับเหมาของบริษัทฯ และกิจการที่มีอำนาจบริหาร มาตรการป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบ
ความปลอดภัยและสุขอนามัย ของพนักงานคู่ค้า
  • ดำเนินการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า และจัดกลุ่มคู่ค้าตามระดับของความเสี่ยงและผลกระทบของการจัดหาสินค้าและบริการ
  • ใช้จรรยาบรรณคู่ค้าเป็นคู่มือให้คู่ค้านำไปใช้ในการดำเนินงาน
  • กำหนดให้มีการประเมินประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินคุณสมบัติคู่ค้า
  • ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง
  • จัดให้มีการปฐมนิเทศเรื่องความเสี่ยงให้กับพนักงานของคู่ค้าและให้คู่ค้าประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยก่อนจะเริ่มทำงาน
  • กำหนดเงื่อนไขการใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในสัญญาการจ้าง
  • กำหนดให้คู่ค้าจัดทำประกันภัยแก่พนักงานที่ต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูง
  • กำหนดให้คู่ค้าทำการตรวจสุขภาพของพนักงานที่ต้องทำงานที่มีความเสี่ยงสูง
  • กำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงของงานทุก 2 ปี
  • นำมาตรการความปลอดภัยสากลมาใช้บังคับในการทำงาน ได้แก่ Stop Work Authority, Lock-out/Tag-out: LOTO
  • นำมาตรฐาน ISO 45001 มากำกับการทำงาน
  • กำหนดให้คู่ค้าแสดงผลการตรวจสุขภาพ และใบอนุญาตการทำงานในที่อับอากาศการทำงานที่สูง การทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน หรืองานอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
  • กำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างให้คู่ค้ามีการประเมินประเด็น ESG ของผู้รับเหมาช่วง
  • ติดตามการปฏิบัติตามมาตรการ/ข้อกำหนดของบริษัทฯ
ประเด็นความเสี่ยงของกิจการที่ไม่มีอำนาจบริหาร มาตรการป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบ
การปฏิบัติต่อแรงงานและช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
  • สื่อสารนโยบาย/หลักปฏิบัติของบริษัทฯ ให้กิจการร่วมค้า เพื่อให้พิจารณานำไปปฏิบัติ
  • จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในขั้นตอนของการพัฒนาธุรกิจ/การพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุน
  • กำกับติดตามการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนของกิจการร่วมค้า ผ่านทางสายงานบริหารสินทรัพย์ และผู้แทนบริษัทฯ ที่ไปเป็นกรรมการในกิจการร่วมค้า
  • ประสานงานและร่วมมือกับกิจการร่วมค้าเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและรายงานคณะกรรมการทราบ
  • แนะนำให้กิจการร่วมค้าพัฒนากระบวนการตรวจสอบประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) และเปิดเผยการดำเนินงานตามหลักปฏิบัติของอุตสาหกรรมและมาตรฐานสากล
ข้อมูลเพิ่มเติม: ช่องทางการร้องเรียน
การเยียวยา

ภายใต้นโยบายสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ จะดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งวางมาตรการป้องกันและจัดการความเสี่ยง การติดตาม และการรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้พร้อม เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเกิดประสิทธิผลสูงสุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำหนดให้มีการทบทวนนโยบายสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปี รวมทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาร้องเรียน และการเยียวยา ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดกลไกการเยียวยาในกรณีที่การดำเนินงานของบริษัทฯ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ทรงสิทธิ ครอบคลุม ตั้งแต่ การขอโทษ การให้ความช่วยเหลือ การฟื้นฟู การชดเชยทางการเงิน และ/หรือรูปแบบอื่นๆ การลงโทษ การป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ

กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหา
แผนงาน ปี 2566
แผนการดำเนินงาน เป้าหมาย
  • ทบทวนทะเบียนความเสี่ยงประเด็นสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ ที่ดำเนินการในปี 2565
  • ดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของพนักงาน
  • 100% ของพนักงานบริษัทฯ และกิจการที่มีอำนาจควบคุมได้รับการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน