นโยบายการบริหารความเสี่ยง

บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) จัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐานในระดับสากล ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยมีการบริหารงานตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ จึงกําหนดนโยบายบริหารความเสี่ยง ดังนี้

1. ปรัชญา

“บริษัทมีความเชื่อมั่นและตระหนักในความสําคัญของการบริหารและการควบคุมความเสี่ยงที่ มีประสิทธิภาพในอันที่จะทําให้บริษัทสามารถดําเนินธุรกิจอย่าง มั่นคงและต่อเนื่อง มีความเสี่ยงที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยใช้เป็นเครื่องมือทางการบริหารที่ช่วยเพิ่มโอกาสแห่งความสําเร็จให้แก่บริษัทมากที่สุด ลดโอกาสของการล้มเหลวและความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งลดความไม่แน่นอนในผลการดําเนินงานโดยรวมของบริษัท อันจะนําไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท”

2. นโยบาย
  1. ส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความเข้าใจ จิตสํานึก และความรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องความเสี่ยง การควบคุม และผลกระทบของความเสี่ยงต่อบริษัท ในกระบวนการบริหารและปฏิบัติงานทั่วทั้งบริษัท
  2. ให้มีกระบวนการ แนวทาง และมาตรการในการบริหารความเสี่ยง ที่มีคุณภาพเหมาะสมในระดับสากลและเพียงพอ รวมถึงการบ่งชี้ วิเคราะห์ ประเมิน จัดลําดับ จัดการ ควบคุม ติดตาม รายงาน ประเมินผล และสื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และปฏิบัติทั่วทั้งบริษัท
  3. ให้มีการวัดผลความเสี่ยงทั้งในเชิงคุณภาพ เช่น ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของบริษัท และเชิงปริมาณ เช่น ผลขาดทุน การลดลงของรายได้ การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่าย โดยพิจารณาจากโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบ
  4. ให้มีการกําหนดเพดานความเสี่ยง (Risk Limit) เพื่อจํากัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ภายในระดับที่บริษัทสามารถยอมรับได้ รวมทั้งกําหนดเหตุการณ์หรือระดับความเสี่ยงที่เป็นสัญญาณเตือนภัย (Warning Sign) ให้ผู้ปฏิบัติงานดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อไม่ให้ความเสี่ยงเกินกว่าระดับเพดานความเสี่ยงที่กําหนด
  5. ให้มีระเบียบการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานถือปฏิบัติ อันเป็นการควบคุมความเสี่ยงจากการดําเนินงาน
3. การดําเนินงาน

แนวทางในการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

  1. กําหนดวัตถุประสงค์ในการดําเนินงานของบริษัท
  2. ระบุบ่งชี้ี้ความเสี่ยงและเหตุแห่งความเสี่ยง
  3. วิเคราะห์ ประเมิน และจัดลําดับความเสี่ยง
  4. กําหนดเกณฑ์และวิธีการควบคุมความเสี่ยง
  5. กําหนดวิธีการจัดการความเสี่ยง
  6. ติดตามผล จัดทํารายงานและประเมินผล
นโยบายบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ดาวน์โหลด
การบริหารความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ดาวน์โหลด
การประเมินประเด็นสำคัญ (Material Disclosure)
ดาวน์โหลด
การประเมินประเด็นสำคัญ (Material Issues)
ดาวน์โหลด
การประเมินประเด็นสำคัญ
ดาวน์โหลด
การบริหารความเสี่ยงใหม่
ดาวน์โหลด
การประเมินผลกระทบความเสี่ยง
ดาวน์โหลด
ระบบบริหารความเสี่ยง
ดาวน์โหลด
การบริหารจัดการความเสี่ยง
ดาวน์โหลด
การบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน
ดาวน์โหลด