จากแนวปฏิบัติการดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ สู่การกำหนดนโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงาน ประเด็นสำคัญทั้ง 7 ด้าน ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงธรรมาภิบาลมาอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้บริษัทฯ จึงได้ประมวลผลการสะท้อนข้อมูลและมุมมองจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องและขับเคลื่อนกลยุทธ์สำคัญ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายระยะยาวให้สำเร็จที่สามารถตอบสนองทั้งต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และทิศทางการดำเนินงานขององค์กรไปพร้อมกัน

ประเด็นสำคัญ จากมุมมองและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย

กรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

เป้าหมายหลักประเด็นสำคัญของกลยุทธ์ความยั่งยืน

คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมาย

ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050

  • ปี 2030 การลดความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก 15% (Carbon Intensity)
  • ปี 2025 กำลังการผลิตพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 25%
  • ปี 2026 พิจารณาเป้าหมาย Carbon Neutrality

แนวคิด

  • การแสดงความมุ่งมั่นในการจัดการ/ ลดก๊าซเรือนกระจกจะช่วยลดความกดดันในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เนื่องจากอยู่ในธุรกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
  • การแสดงความมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจกยังช่วยเพิ่มโอกาส/ช่องทางในการทำธุรกิจ/การระดมทุนของบริษัทฯ อีกทางหนึ่งด้วย

คุณค่าด้านสังคม

ความผูกพันกับชุมชน

เป้าหมาย

พัฒนาโครงการด้านสังคมของกลุ่มบริษัทฯ ที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในระดับประเทศ และตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในปี 2030

แนวคิด

  • เป็นโครงการที่วัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและสามารถตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
  • เป็นโครงการที่ช่วยสนับสนุนชุมชนในท้องถิ่นที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจและสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต
สิทธิมนุษยชน

เป้าหมาย

การละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องเป็นศูนย์

  • ปี 2025 มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในกิจการที่บริษัทฯ
    ลงทุนและซัพพลายเออร์ครบทั้งหมด (100%)
  • ปี 2026 มีการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนครบทุกกลุ่มผู้ทรงสิทธิ (Right Holders)
  • ปี 2026 มีช่องทางการร้องเรียนที่สามารถรองรับทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและติดตามการร้องเรียนและรายงานผลต่อคณะกรรมการทุกปี

แนวคิด

  • เพื่อให้มีการกำหนดมาตรการป้องกันการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในสถานประกอบการ และในกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบ/ สร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ
  • เพื่อให้มีการกำกับดูแลประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความสำคัญกับภาคธุรกิจพลังงาน ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ประเด็นด้านความปลอดภัย จนถึงด้านแรงงาน

คุณค่าด้านเศรษฐกิจ

การบริหารซัพพลายเชน

เป้าหมาย

คู่ค้าความเสี่ยงสูงได้รับการตรวจสอบ (Audit) ด้าน ESG ครบ ทั้งหมด (100%) และวัดผลการปรับปรุงการดำเนินงานดีขึ้น

แนวคิด

  • การมีระบบการติดตามและประเมินความเสี่ยงคู่ค้า เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่บริษัทฯ จะได้รับจากคู่ค้า และนำข้อมูลความเสี่ยงจากการประเมินมาใช้ในการกำหนดเป้าหมายด้าน ESG ให้กับคู่ค้าปฏิบัติ
  • พัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและระบบการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า
การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

เป้าหมาย

ระดับความพึงพอใจของลูกค้าทุกกลุ่มอยู่ที่ 90% ในปี 2026

  • ปี 2026 คะแนนความพึงพอใจของลูกค้าอยู่ที่ 90%
  • ปี 2026 กลุ่มลูกค้าที่ประเมินความพึงพอใจครอบคลุมทุกกลุ่ม (100%)

แนวคิด

  • การขยายธุรกิจนอกภาคพลังงาน นอกจากจะช่วยเสริมความมั่นคงทางธุรกิจแล้ว ยังเป็นการขยายฐานลูกค้าของบริษัทฯ ไปสู่รายย่อยซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ต้องบริหารจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าที่หลากหลายกลุ่มมากขึ้น ดังนั้นการสร้างและรักษาความพึงพอใจของลูกค้าจะเป็นเกราะที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถรักษาฐานลูกค้าและความเชื่อมั่นไว้ได้
ข้อมูลเพิ่มเติม: จรรยาบรรณบริษัท
นโยบายการพัฒนาความยั่งยืนองค์กร
ความก้าวหน้าการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
ดาวน์โหลด