นวัตกรรมใหม่เพื่อการลดใช้เชื้อเพลิง
ของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP)

โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP: Small Power Plant) ที่มีกําลังการผลิต 99.46 เมกะวัตต์ มีอายุสัญญาการเดินเครื่อง 25 ปี ตั้งอยู่ตําบลเบิกไพร อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 35 ได้พัฒนานวัตกรรมและติดตั้ง “ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำร่วม 3 ระบบ” ซึ่งบริษัทฯ คิดค้นขึ้นให้การผลิตพลังงานไฟฟ้า มีประสิทธิภาพมากกว่าโรงไฟฟ้า SPP ทั่วไป กล่าวคือ โรงไฟฟ้าใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าน้อยกว่าโรงไฟฟ้าประเภทเดียวกัน จากการบริหารอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ตอบสนองต่อการเดินเครื่องทั้งในช่วงที่ลูกค้ามีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (On-Peak) และความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำสุด (Off-Peak) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี ผลที่ได้รับคือช่วยลดต้นทุนการผลิต และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้อย่างมีนัยสําคัญ

นวัตกรรมระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำร่วม 3 ระบบนี้ ประกอบด้วย เครื่องกังหันแก๊ส (Gas Turbine) เครื่องกังหันไอน้ำ (Steam Turbine) และเครื่องยนต์แก๊ส (Gas Engine) เป็นระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่นํามาใช้ทดแทนโมเดลเครื่องจักรการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าประเภทโคเจนเนอเรชั่นที่ใช้กันทั่วไป โดยระบบนี้ใช้เครื่องยนต์แก๊ส 3 เครื่องแทนการใช้เครื่องกังหันแก๊ส 1 ชุด ทําให้โรงไฟฟ้าเดินเครื่องผลิตตามคําสั่งของลูกค้าได้ยึดหยุ่นมากขึ้น สามารถรองรับการสั่งเดินเครื่องและหยุดเดินเครื่องได้ทุกวัน (Daily Start/Stop : DSS) ตามความต้องการของลูกค้า (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าและไอน้ําร่วม 3 ระบบของโรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น

หน่วยย่อยสําหรับผลิตไฟฟ้าและไอน้ําจากเครื่องกังหันแก๊ส

หมายเลข 1 เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor)
หมายเลข 2 ห้องเผาไหม้
หมายเลข 3 เครื่องกังหันแก๊ส (Gas Turbine)
หมายเลข 4 เครื่องผลิตไอน้ํา แบบนําความร้อนกลับมาใช้ใหม่ (HRSG: Heat Recovery Steam Generator) ของ Gas Turbine

หน่วยย่อยสําหรับผลิตไฟฟ้าและไอน้ําจากเครื่องยนต์แก๊ส

หมายเลข 6, 7 และ 8 เครื่องยนต์แก๊ส (Gas Engine)
หมายเลข 9, 10 และ 11 หน่วยผลิตไอน้ํา แบบนําความร้อน กลับมาใช้ใหม่ (HRSG) ของ Gas Engine

หน่วยย่อยสําหรับผลิตไฟฟ้าด้วยไอน้ำ

หมายเลข 5 เครื่องกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)

นวัตกรรมนี้สามารถลดปริมาณอัตราการใช้ความร้อน หรือปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณ 300 บีทียู/ กิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นการประหยัดการใช้เชื้อเพลิงประมาณร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าประเภท SSP ทั่วไป ขณะที่ประสิทธิภาพการผลิตทั้งในช่วงที่ความต้องการไฟฟ้าสูง (Peak) และความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off-Peak) อยู่ที่ร้อยละ 47.05 สูงกว่าค่าเฉลี่ยไฟฟ้าประเภทเดียวกันอยู่ที่ร้อยละ 42.92 และปัจจัยค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Equivalent Availability Factor) อยู่ที่ร้อยละ 98.75 เทียบค่าเฉลี่ยโรงไฟฟ้าประเภทเดียวกันที่ร้อยละ 89.97 ปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างขอจดอนุสิทธิบัตรนวัตกรรมการผลิตในรูปแบบใหม่นี้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งได้ขยายผลนวัตกรรมดังกล่าวไปติดตั้งในโครงการส่วนขยายของโรงไฟฟ้าราชโคเจนเนอเรชั่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีอัตราการใช้ความร้อนน้อยที่สุด และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตให้ได้น้อยที่สุดด้วย


The Air Inlet Filter

ในการพัฒนานวัตกรรม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องกังหันก๊าซ (Gas Turbine) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรี เพื่อลดผลกระทบจากอุณหภูมิอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรีได้ศึกษาวิธีการและทำการปรับลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้า Air Inlet Filter ช่วยเพิ่มสมรรถนะกำลังการผลิตของเครื่องกังหันแก๊ส เพื่อให้โรงไฟฟ้าสามารถผลิต ไฟฟ้าตอบสนองการสั่งการของลูกค้าได้ และลดการใช้เชื้อเพลิง

1

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมราชบุรีสามารถเพิ่มกำลังผลิตของเครื่องกังหันแก๊สได้ตาม Contracted Capacity ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ในกรณีที่อุณหภูมิสูงขึ้น 1-5 องศาเซลเซียส

2

ปรับปรุง Heat Rate ของโรงไฟฟ้าให้ดีขึ้น สามารถช่วยลดการใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

3

ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยผลิตที่ลดลง สามารถบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกได้