แนวทางการบริหารจัดการลูกค้า

ลูกค้า ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญที่สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตและดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง การมุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ด้วยการตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า รักษาประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการให้บริการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส และสร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้ารวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นสิ่งที่บริษัทฯ พึงยึดถือปฏิบัติพร้อมกำหนดเป็นแนวทางในการบริหารจัดการลูกค้า ดังนี้

จรรยาบรรณบริษัทฯ ด้านแนวปฏิบัติต่อลูกค้า
  • ผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและความรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยมุ่งมั่นจะยกระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • จัดให้มีระบบกระบวนการเพื่อให้ลูกค้าสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด หากไม่สามารถปฏิบัติได้ให้แจ้งลูกค้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
  • ผลิตสินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
  • รักษาความลับของลูกค้า และไม่นำความลับของลูกค้าไปใช้ประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
  • เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
  • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับลูกค้า
แนวทางการดำเนินงาน
  • ควบคุมการผลิตและการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน และมีการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานเป็นประจำ
  • หารือแนวทางและแผนงานการผลิตพลังงาน รวมทั้งความต้องการของลูกค้าเป็นประจำและต่อเนื่อง
  • ดูแลความพร้อมจ่ายและความเชื่อถือได้ของโรงไฟฟ้า รวมถึงอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ให้ได้ตามสัญญา
  • เตรียมความพร้อมของโรงไฟฟ้าด้วยการบำรุงรักษาที่มีคุณภาพตามแผนงาน เพื่อให้ผลิตพลังงานให้ได้ตามที่ลูกค้าสั่งการ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
  • ผลิตสินค้าและให้บริการด้วยกระบวนการที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมาย มาตรการ EIA ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกเพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และจัดทำเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินธุรกิจ
  • ดำเนินธุรกิจร่วมกับลูกค้า ด้วยการรักษาความลับ ไม่นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ กรณีจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลหรือดำเนินการตามข้อกฎหมาย จะแจ้งและขออนุญาตจากลูกค้าเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
  • จัดให้มีการสื่อสารและช่องทางที่เปิดโอกาสให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ แจ้งให้ทราบประเด็นปัญหา รวมทั้งร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ
  • สำรวจระดับความพึงพอใจของลูกค้า และนำข้อเสนอแนะไปดำเนินการปรับปรุงให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงาน
กลุ่มลูกค้า
  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • รัฐวิสาหกิจน้ำประปานครหลวงเวียงจันทน์
  • หน่วยงานของรัฐ
  • โรงงานอุตสาหกรรม (พลังงาน)
  • ผู้ประกอบการ/ธุรกิจทั่วไป
เป้าหมาย ผลการดำเนินงานปี 2565
ด้านเศรษฐกิจ
  • การส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพให้ลูกค้าครบถ้วนตามเงื่อนไขสัญญา
  • ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการ
  • ค่าความพร้อมจ่าย (EAF) และอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ของโรงไฟฟ้า เป็นไปตามข้อกำหนดของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
  • กำหนดเพดานค่าปรับกรณีไม่สามารถส่งมอบไฟฟ้าได้ตามสัญญา
  • พัฒนางานวิจัยด้านนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของอุตสาหกรรมพลังงาน
  • สินค้าและบริการถูกส่งมอบให้ลูกค้า เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา
  • โรงไฟฟ้าสามารถส่งมอบพลังงานไฟฟ้าให้ลูกค้าได้ตามจำนวนชั่วโมงความพร้อมจ่ายที่กำหนดไว้ในสัญญา (Contracted Availability Hour: CAH)
  • ค่าความพร้อมจ่าย (EAF) และอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ของโรงไฟฟ้าดีกว่าเป้าหมายที่กำหนด
  • อัตราค่าปรับเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าดีกว่าเป้าหมายรายปีที่กำหนดไว้
  • มีงานวิจัยด้านนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ของอุตสาหกรรมพลังงานที่ถูกพัฒนา
  • มีการลงทุนในนวัตกรรมด้านไฟฟ้าและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ค่าการปล่อยมลสารจากการผลิตอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
  • ค่าการปล่อยน้ำทิ้งอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
  • ไม่มีประเด็นพิพาทด้านสิ่งแวดล้อม
  • ปริมาณการปล่อยมลสารมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายและข้อกำหนดของ EIA ทั้งหมด
  • ปริมาณการปล่อยน้ำทิ้งมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายและข้อกำหนดของ EIA ทั้งหมด
  • ไม่มีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ด้านสังคม
  • ไม่มีข้อร้องเรียนจากชุมชนเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต
  • ไม่เกิดข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดข้อตกลงการรักษาข้อมูลความลับ
  • ไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากชุมชนโดยรอบโครงการ
  • ไม่มีข้อร้องเรียนการละเมิดข้อตกลงการรักษาข้อมูลความลับจากลูกค้า

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้อย่างครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะภาคธุรกิจไฟฟ้าที่เป็นธุรกิจหลัก ซึ่งบริษัทฯ ได้จำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำให้กับลูกค้า ดังนี้

ปริมาณพลังงานไฟฟ้า (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) ปริมาณพลังงานไอน้ำ (ตัน)
ปริมาณทั้งหมด 46,084,098.14 630,914.16
ปริมาณตามสัดส่วนการถือหุ้น 46,084,098.14 269,950.26
โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจำหน่ายจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจำหน่ายจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
รวม ตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม ตามสัดส่วนการถือหุ้น
31,410,004.18 21,831,129.81 3,898,369.15 959,255.04
โรงไฟฟ้า กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์)
ระยะเวลาสัญญา ซื้อขายไฟฟ้า (ปี) จำนวนรวมปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่าย
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายคิดตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP)
โรงไฟฟ้าราชบุรี 3,645.00 2543-2570 14,717,637.55 14,717,637.55
โรงไฟฟ้าราชบุรีพาวเวอร์ 372.50 2551-2576 1,074,517.70 268,629.42
โรงไฟฟ้าหงสา 751.20 2558-2583 11,678,264.46 4,671,305.78
โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP)
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น 119.75 2556-2581 629,083.90 629,083.90
โรงไฟฟ้าราชบุรีเวอลด์
โคเจนเนอเรชั่น
94.00 2557-2582 1,237,288.25 494,915.30
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร 80.63 2559-2584 584,074.23 233,629.69
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น 34.81 2562-2587 583,561.74 204,246.61
โรงไฟฟ้าเน็กส์ซิฟ ราช เอ็นเนอร์จี ระยอง 98.00 2565-2590 297,476.23 297,476.23
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) 214.00 2542-2567 608,100.12 314,205.33
โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ-น้ำงึม 2 153.75 2554-2581 1,732,335.47 433,083.87
โรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย 102.50 2562-2589 1,859,288.68 464,822.17
โรงไฟฟ้าพลังงานลมห้วยบง 3 20.70 2555-2560
(Non-Firm 5 ปี)
167,047.00 33,409.40
โรงไฟฟ้าพลังงานลมห้วยบง 2 20.70 2556-2561
(Non-Firm 5 ปี)
139,698.00 27,939.60

โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจำหน่ายจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
รวม ตามสัดส่วนการถือหุ้น
295,051.29 138,229.33
โรงไฟฟ้า กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น (เมกะวัตต์) ระยะเวลาสัญญา ซื้อขายไฟฟ้า (ปี) จำนวนรวมปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่าย
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายคิดตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โซล่าเพาเวอร์ (รวม 3 โครงการ) 8.64 5 ปี
(ต่ออายุอัตโนมัติ)
32,017.60 12,807.04
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ต้า (รวม 8 โครงการ) 20.73 5 ปี
(ต่ออายุอัตโนมัติ)
64,080.86 31,399.62
โรงไฟฟ้าสงขลาชีวมวล 3.96 5 ปี
(ต่ออายุอัตโนมัติ)
75,203.61 30,081.44
โรงไฟฟ้าสหโคเจน กรีน 4.96 2554-2570 66,240.07 34,226.25
โรงไฟฟ้าสหกรีน ฟอเรสท์ 2.91 2555-2572 57,509.15 29,714.98
โรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจำหน่ายจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจำหน่ายจากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน (เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
รวม ตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม ตามสัดส่วนการถือหุ้น
1,156,852.87 561,341.82 630,914.16 269,950.25
โรงไฟฟ้า กำลังการผลิต ตามสัดส่วน การถือหุ้น (เมกะวัตต์) ระยะเวลาสัญญา ซื้อขายไฟฟ้า (ปี) จำนวนลูกค้า (ราย) ปริมาณไฟฟ้า รวมที่จำหน่าย (เมกะวัตต์- ชั่วโมง) ปริมาณรวม ปริมาณไอน้ำ ที่จำหน่าย (ตัน) ปริมาณไอน้ำ ที่จำหน่าย คิดตามสัดส่วน การถือหุ้น (ตัน)
โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP)
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น 119.75 26 88,107.22 88,107.22 23,628.98 23,628.98
โรงไฟฟ้าราชบุรีเวอลด์ โคเจนเนอเรชั่น 94.00 9 89,150.22 35,660.09 61,631.21 24,652.48
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร 80.63 45 565,260.50 226,104.20 122,364.34 48,945.73
โรงไฟฟ้าเบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น 34.81 1 15,696.12 5,493.64 12,413.04 4,344.56
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) 214.00 50 398,638.81 205,976.67 316,845.91 163,714.28
โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
โรงไฟฟ้าสหโคเจน กรีน 4.96 2 - - 94,030.68 4,664.22
ลูกค้าต่างประเทศ
ออสเตรเลีย
  • ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายรวม 2,185,151.58 เมกะวัตต์-ชั่วโมง คิดตามปริมาณสัดส่วนการถือหุ้น 1,940,603.92 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
โรงไฟฟ้า ประเภทเชื้อเพลิง กำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์)
ระยะเวลาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (ปี) จำนวนรวมปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่าย
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายคิดตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
เคอเมอร์ตัน ก๊าซธรรมชาติ 315.20 2548-2573 654,224.97 654,224.97
ทาวน์สวิลล์ ก๊าซธรรมชาติ 234.00 2548-2568 137,475.00 137,475.00
สตาร์ฟิช ฮิลล์ พลังงานลม 33.00 2560-2563 83,921.50 83,921.50
เมาท์เอเมอรัลด์ พลังงานลม 180.45 2561-2573 407,322.69 407,322.69
คอลลินส์วิลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ 42.50 2562-2573 87,048.55 87,048.55
วินดี้ ฮิลล์ พลังงานลม 12.00 จำหน่ายในตลาดกลางรับซื้อไฟฟ้า 17,503.74 17,503.74
ทูร่า พลังงานลม 21.00 48,258.45 48,258.45
คอลเล็กเตอร์ พลังงานลม 226.80 538,570.04 538,570.04
ยานดิน พลังงานลม 149.94 2564-2578 815,158.87 570,611.21
รวม - 1,214.89 - 2,789,483.81 2,544,936.15
สปป.ลาว
  • ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายรวม 1,083,814.05เมกะวัตต์-ชั่วโมง คิดตามปริมาณสัดส่วนการถือหุ้น 402,625.55 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายในปี 2565 จำแนกตามตามโรงไฟฟ้าที่ผลิต

โรงไฟฟ้า ประเภทเชื้อเพลิง กำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์)
ระยะเวลาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (ปี) จำนวนรวมปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่าย
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายคิดตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา ถ่านหิน 751.20 2558-2583 877,813.60 351,125.44
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เซเปียน-เซน้ำน้อย พลังน้ำ 102.50 2562-2589 206,000.45 51,500.11
เวียดนาม
  • ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายรวม 3,178,109.56 เมกะวัตต์-ชั่วโมง คิดตามปริมาณสัดส่วนการถือหุ้น 700,773.16 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายในปี 2565 จำแนกตามตามโรงไฟฟ้าที่ผลิต

โรงไฟฟ้า ประเภทเชื้อเพลิง กำลังผลิตตาม สัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์)
ระยะเวลาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (ปี) จำนวนรวมปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่าย (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายคิดตามสัดส่วนการถือหุ้น (เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
ธางลอง ถ่านหิน 136.71 2564-2586 3,178,109.56 700,773.16
อินโดนีเซีย
  • ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จำหน่ายรวม 2,272,413.22 เมกะวัตต์-ชั่วโมง คิดตามปริมาณสัดส่วนการถือหุ้น 1,100,079.13 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่ายในปี 2565 จำแนกตามตามโรงไฟฟ้าที่ผลิต

โรงไฟฟ้า ประเภทเชื้อเพลิง กำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น
(เมกะวัตต์)
ระยะเวลาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (ปี) ปริมาณไฟฟ้ารวมที่ผลิตจำหน่าย
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
ปริมาณไฟฟ้า ที่ผลิตจำหน่าย คิดตามสัดส่วน การถือหุ้น
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
อาซาฮาน-1 พลังงานน้ำ 47.90* 2554-2583 1,313,314 349,473

กลุ่มโรงไฟฟ้าของบริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกับลูกค้าเพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะที่มีต่อการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อร่วมกันหาข้อสรุปและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมและยังคงตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน โดยในปี 2565 กลุ่มโรงไฟฟ้าได้ดำเนินการดังนี้

วิธี/รูปแบบ ลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสีย ความถี่ ประเด็นสำคัญ/เป้าหมาย
โรงไฟฟ้าราชบุรี
ประชุม ระดับบริหารของ กฟผ. 12 ครั้ง/ปี ปรึกษาหารือประเด็นในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าปรึกษาหารือประเด็นทางด้านสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และแนวทางการสั่งเดินเครื่องให้มีความชัดเจน รวมถึงมีความเข้าใจตรงกัน
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. 12 ครั้ง/ปี
การสัมมนา ระดับบริหารของ กฟผ. 2 ครั้ง/ปี แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดูแลและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรและการวางแผนการผลิต
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. 2 ครั้ง/ปี
กิจกรรมเพื่อสังคม ระดับบริหารของ กฟผ. 1 ครั้ง/ปี สร้างความสัมพันธ์ที่ดี ด้วยการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกัน
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. 1 ครั้ง/ปี
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น
ประชุม ระดับบริหารของลูกค้า อุตสาหกรรม 1 ครั้ง/ปี ศึกษาความคาดหวังของลูกค้าอุตสาหกรรมที่มีต่อการบริหารจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ และสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ในการใส่ใจปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ระดับปฏิบัติการของลูกค้า อุตสาหกรรม 2 ครั้ง/ปี ประสานงานในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องตัดระบบจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ เช่น โรงไฟฟ้าหรือโรงงานต้องดำเนินการบำรุงรักษาประจำปี เป็นต้น
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร
ประชุม ระดับบริหารของ กฟผ. 1 ครั้ง/ปี ปรึกษาหารือประเด็นปัญหาต่าง ๆ และแนวทางปรับปรุงพัฒนาการผลิตให้ดียิ่งขึ้น
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. เดือนละ 1 ครั้ง ขึ้นไป (ขึ้นกับประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี) ปรึกษาหารือเพื่อทำความเข้าใจข้อตกลงในการปฏิบัติตามสัญญา
ประชุม ระดับบริหารของลูกค้า อุตสาหกรรม ทุก 3 เดือน/ครั้ง/ ลูกค้าทุกราย เพื่อรับทราบแนวโน้มการผลิตของลูกค้าและรับฟังปัญหาของลูกค้า 2565
ระดับปฏิบัติการของลูกค้า อุตสาหกรรม ทุก 3 เดือน/ครั้ง/ ลูกค้าทุกราย
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น
ประชุม ระดับบริหารของ กฟผ. 1 ครั้ง/ปี
  • หารือเกี่ยวกับแผนการผลิตและส่งไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ปี 2565 เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการนำไปใช้วางแผนและปฏิบัติการด้านการผลิตและส่งไฟฟ้า
  • ฟังบรรยายแผนการผลิตและส่งไฟฟ้าปี 2566
  • หารือเกี่ยวกับมาตรการลแรงดันไฟฟ้าในระบบส่งช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ 2566
ระดับบริหารของลูกค้า อุตสาหกรรม หารือและประสานงานเกี่ยวกับการจ่ายไฟฟ้าขนาด 22 kV
ระดับปฏิบัติการของลูกค้า อุตสาหกรรม
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี)
ประชุม ระดับบริหารของ กฟผ. ปีละ 1 ครั้ง หรือตามการนัดหมาย เพื่อทราบถึงความพึงพอใจในการให้บริการ รับทราบความต้องการและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ กฟผ.
ระดับปฏิบัติการของ กฟผ. ทุก 3 เดือน หรือตามการนัดหมาย
ระดับบริหารของลูกค้า อุตสาหกรรม ปีละ 2 ครั้ง หรือตามการนัดหมาย เพื่อทราบถึงความพึงพอใจในการให้บริการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและรับทราบความต้องการของลูกค้า
ระดับปฏิบัติการของลูกค้า อุตสาหกรรม ทุก 3 เดือน หรือตามการนัดหมาย

ความพึงพอใจและการตอบสนองความต้องการลูกค้า

ภาพรวมความพึงพอใจของลูกค้า

การวัดระดับความพึงพอใจของลูกค้าจะดำเนินการโดยแต่ละบริษัท เพื่อสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าที่จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม

โรงไฟฟ้า จำนวนลูกค้า อุตสาหกรรม ทั้งหมด จำนวนลูกค้าที่ได้ ทำแบบประเมิน ความพึงพอใจ จำนวนลูกค้าที่พึง พอใจตามเป้า หมายที่กำหนด เป้าหมายระดับ ความพึงพอใจ ปี 2565
(ร้อยละ)
ผลค่าเฉลี่ยระดับ ความพึงพอใจ ปี 2565
(ร้อยละ)
ราช โคเจนเนอเรชั่น 26 25 18 80.00 94.77
ผลิตไฟฟ้านวนคร 45 44 31 85.00 92.68
เบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น 1 1 1 75.00 95.83
สหโคเจน (ชลบุรี) 50 50 50 90.00 90.87
เฉลี่ยรวม 92.96
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้า
ประเด็น การดำเนินงาน
โรงไฟฟ้าราชบุรี
แนวทางการบริหารเชื้อเพลิงสำรอง ประชุมหารือ เพื่อหาแนวทางในการจัดซื้อน้ำมันเตา (เชื้อเพลิงสำรองของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน) ให้เพียงพอต่อความต้องการของระบบ
โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น
ลูกค้า กฟผ. การส่งมอบปริมาณไฟฟ้าได้ตรงตามสัญญาและมีคุณภาพ มีการดำเนินการจ่ายไฟฟ้าตามแผนสั่งการและดำเนินการภายใต้เงื่อนไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตลอดทั้งปี
ลูกค้าอุตสาหกรรม การส่งจำหน่ายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพและมีคุณภาพการจ่ายพลังงานไฟฟ้าและไอน้ำตามที่สัญญาระบุ
ความพึงพอใจ การตอบสนองความพึงพอใจลูกค้า (ความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 94.77) • กลุ่มลูกค้าประเภทพลังงานไฟฟ้า มีความพึงพอใจ ร้อยละ 95.70 • กลุ่มลูกค้าประเภทพลังงานไอน้ำ มีความพึงพอใจ ร้อยละ 77.00
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร
ลูกค้า กฟผ. การส่งมอบปริมาณไฟฟ้าได้ตรงตามสัญญาและมีคุณภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าให้สามารถผลิตและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้า เป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและแผนการรับซื้อไฟฟ้าตลอดช่วงเวลา
ลูกค้าอุตสาหกรรม การส่งจำหน่ายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ นโยบาย Solar Rooftop และการปรับปรุงระบบส่งจำหน่ายไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น
ลูกค้า กฟผ. ลดแรงดันไฟฟ้าในระบบส่งช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 ลดกำลังการผลิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ เป็นเวลา 80 ชั่วโมง ตามที่ กฟผ. ขอความร่วมมือ เนื่องจากความต้องการของระบบไฟฟ้าที่ลดลง
ลูกค้าอุตสาหกรรม การบริหารความเสี่ยงการส่งมอบไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมในช่วโรงไฟฟ้าหยุดบำรุงรักษา (Planned Outage)
  • ประสานงานแจ้งลูกค้า กรณีโรงไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่ สามารถจำหน่ายไฟฟ้าให้กับลูกค้าได้ รวมถึงกรณีโรงไฟฟ้าหยุดการผลิตเพื่อ ทำงานบำรุงรักษาประจำปี (Planned Outage)
  • ประสานงานวางแผนการจัดหาไฟฟ้าและการบริหารความเสี่ยงด้านไฟฟ้าให้กับลูกค้าให้พร้อมก่อนการหยุดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี)
ลูกค้าอุตสาหกรรม ความมั่นคงต่อเนื่องในการส่งและจำหน่ายไฟฟ้า/ไอน้ำ จัดทำแผนและดำเนินการตามแผนงานเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มความมั่นคงในระบบจำหน่ายไฟฟ้า/ไอน้ำ

การจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำ

- ลูกค้าในประเทศ

กลุ่มลูกค้าในประเทศที่รับซื้อไฟฟ้าและไอน้ำ ประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก

ลูกค้าที่รับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทฯ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลูกค้าอุตสาหกรรม
โรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทฯ • โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) • โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) • โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน • โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากจากพลังงานทดแทน • โรงไฟฟ้าขนาดเล็กประเภทโคเจนเนอเรชั่นในเขตอุตสาหกรรม • โรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากจากพลังงานทดแทน
ประเภทสินค้า/ผลิตภัณฑ์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำ
กำลังการผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้น (เมกะวัตต์) 5,626.91 36.24 467.52
ปริมาณไฟฟ้าที่จำหน่าย (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) รวม ตามสัดส่วน การถือหุ้น รวม ตามสัดส่วน การถือหุ้น รวม ตามสัดส่วน การถือหุ้น
35,308,373.33 22,790,384.85 295,051.29 138,229.33 1,156,852.87 561,341.82
ปริมาณไอน้ำที่จำหน่าย (ตัน) ไม่มี ไม่มี รวม ตามสัดส่วน การถือหุ้น
630,914.16 269,950.27

- ออสเตรเลีย การจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าในประเทศออสเตรเลียมี 3 รูปแบบหลัก คือ

  1. ลูกค้าเป็นบริษัทที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิ์จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ตลาดรับซื้อไฟฟ้า (Market Participant)
  2. โรงไฟฟ้าจะได้รับค่าไฟฟ้าตามราคาตลาด (Pool Price) ณ ช่วงเวลาที่จำหน่ายไฟฟ้า
  3. โรงไฟฟ้ามีสัญญาซื้อขายไฟฟฟ้าล่วงหน้า (Hedge Agreement) กับบริษัทผู้ค้าไฟฟ้ารายย่อย (Retailers)