ปัจจุบันบริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจไฟฟ้า ภาคระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานรวมไปถึงภาคธุรกิจการให้บริการต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจนั้น จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมุ่งไปสู่ความสำเร็จและส่งผลให้องค์กรมีการเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงและให้ความสำคัญกับการบริหารห่วงโซ่อุปทาน โดยได้กำหนดเป็นแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียไว้ในจรรยาบรรณของบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงาน เจ้าหนี้ พันธมิตรธุรกิจ คู่ค้าหรือผู้จัดหาสินค้า คู่แข่งทางธุรกิจ ภาครัฐ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

ห่วงโซ่อุปทานตามกระบวนการดำเนินธุรกิจประกอบด้วย 4 กระบวนการหลัก คือ 1) การพัฒนาโครงการ 2) การก่อสร้างโครงการ 3) การผลิตและให้บริการ 4) การหยุดกิจการ โดยมีปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวแปรความสำเร็จทางธุรกิจ คือ พันธมิตรธุรกิจ คู่ค้า ลูกค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางการบริหารผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มดังกล่าวไว้ดังนี้

การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
การบริหารความสัมพันธ์กับพันธมิตรธุรกิจ
แนวทางการบริหาร
  • ผสานความเชี่ยวชาญเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจ
  • สร้างความร่วมมือระยะยาวด้วยการดำเนินงานที่โปร่งใสและยุติธรรม
  • กำหนดเงื่อนไขสัญญาที่เป็นธรรมและเท่าเทียม
  • ปฏิบัติตามข้อตกลงและพันธสัญญา รวมถึงรักษาความลับระหว่างกัน
การจัดการ/การดำเนินการ
  • กำหนดหลักเกณฑ์ความคาดหวังและแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและการตัดสินใจที่ชัดเจน
  • จัดทำเอกสารข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร
  • วางแนวทางบริหารด้านการเงินและการลงทุนให้สอดคล้องกัน
  • กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างให้ชัดเจน
  • หารือในระดับบริหารเพื่อกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมให้กับทุกฝ่าย
  • กำหนดแนวทางการออกจากการร่วมทุนไว้อย่างชัดเจน (กรณีที่จำเป็น)
การสร้างคุณค่าร่วมกับคู่ธุรกิจ
แนวทางการบริหาร
  • สื่อสารการปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้า
  • จัดซื้อจัดจ้างด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส
  • ประเมินความเสี่ยงคู่ค้าไม่มีการล่วงละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน
  • ควบคุมและจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามกฎหมายและมาตรฐานสากล
  • แสวงหาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระยะยาว
  • กำกับและติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย
การจัดการ/การดำเนินการ
  • มีหลักเกณฑ์การประเมิน/คัดเลือก/รูปแบบสัญญาที่เหมาะสม เป็นสากล
  • การคัดเลือกอย่างเหมาะสมเป็นธรรม และให้โอกาสการแข่งขันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
  • มีระบบการจัดการ/ติดตามการปฏิบัติตามสัญญาเพื่อป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบทุกขั้นตอน
  • พัฒนาและรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้าที่มีคุณภาพ
  • ผู้บริหาร/พนักงานไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ที่ไม่สุจริตกับคู่ค้า
  • กรณีบริษัทฯ ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขได้จะรีบแจ้งให้คู่ค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
  • จัดทำข้อตกลงหรือสัญญาการดำเนินงานของคู่ค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดียวกับของบริษัทฯ พร้อมกำหนดบทปรับ
การสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า
แนวทางการบริหาร
  • ผลิตและส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า พร้อมยกระดับให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • การส่งมอบสินค้าและให้บริการที่เป็นธรรมและโปร่งใส
  • สร้างระบบ/กระบวนการรับฟังความคิดเห็นและข้อร้องเรียนจากลูกค้าเกี่ยวกับสินค้าและบริการเพื่อให้ลูกค้าได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด
  • การรักษาความลับของลูกค้า
การจัดการ/การดำเนินการ
  • ประกันสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขในเวลาอันเหมาะสม
  • กรณีบริษัทฯ ไม่อาจปฏิบัติตามเงื่อนไขได้จะรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
  • ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการค้ากับลูกค้า
  • เปิดเผยข้อมูล/ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างครบถ้วนถูกต้องไม่บิดเบือน
  • รักษาความลับของลูกค้าและไม่นำความลับของลูกค้าไปใช้ประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
  • หารือแนวทางและแผนงานการผลิตสินค้าและให้บริการ รวมทั้งความต้องการของลูกค้าเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  • สำรวจระดับความพึงพอใจของลูกค้า และนำข้อเสนอแนะไปดำเนินการปรับปรุงสินค้าและบริการ
การรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
แนวทางการบริหาร
  • ควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมาย
  • สื่อสารและสร้างความเข้าใจต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
  • สร้างกระบวนการ/ช่องทางรับฟังข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องจากชุมชน
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมแบบไตรภาคีและช่องทางการสื่อสารกับชุมชนและสังคม
  • จ้างผู้ปฏิบัติงาน/แรงงานในท้องถิ่น
การจัดการ/การดำเนินการ
  • สื่อสาร สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานกับชุมชน
  • เปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังข้อร้องเรียน/ข้อเสนอแนะจากชุมชนและวิธีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างชัดเจน
  • ควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่อาจมีผลต่อชุมชนทั้งในส่วนที่เกิดจากบริษัทฯ คู่ค้า และพันธมิตร
  • พิจารณารับสมัครผู้ปฏิบัติงาน/แรงงานในท้องถิ่นเพื่อเข้าปฏิบัติงานเป็นลำดับแรก
การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
แนวทางการบริหาร
  • บริหารประสิทธิภาพการผลิตและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด
  • ควบคุมและติดตามการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ
  • ติดตามการป้องกันผลกระทบจากการดำเนินงานต่อชุมชน สิ่งแวดล้อมรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพโดยรอบ
  • กำกับการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน
การจัดการ/การดำเนินการ
  • คัดเลือกเทคโนโลยีการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • มีระบบการควบคุมและติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
  • พิจารณานำหลัก 3Rsมาใช้ในกระบวนการผลิตและสำนักงาน
  • มีการประชุมหารือเพื่อติดตามผลการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลเพิ่มเติม: จรรยาบรรณบริษัทฯ
การบริหารความสัมพันธ์กับพันธมิตรธุรกิจ

การแสวงหาพันธมิตรธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) เป็นไปตามกลยุทธ์ S2-Synergy Strategy เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจบริษัทฯ รวมถึงการขยายฐานธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรและพันธมิตรที่ร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายด้วย

การสร้างคุณค่าร่วมกับคู่ธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทชั้นนำด้านพลังงานและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน คู่ค้าถือเป็นคู่ธุรกิจสำคัญในห่วงโซ่อุปทานที่จะเป็นส่วนสนับสนุนและเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น การจัดหาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้สำเร็จตามแผนและเป้าหมาย แต่ในขณะเดียวกัน คู่ค้ายังสามารถสร้างผลกระทบเชิงลบ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน การส่งมอบสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพ ไปจนถึงการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องดำเนินการร่วมกับคู่ค้าที่หลากหลายเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมทั้งธุรกิจหลักด้านพลังงานไฟฟ้า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานและธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ การตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารและสร้างคุณค่าร่วมกับคู่ธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

คู่ค้าธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน
คู่ค้าที่มีนัยสำคัญในห่วงโซ่อุปทานตลอดขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมธุรกิจหลักด้านพลังงานไฟฟ้า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ประกอบด้วย

คู่ค้า พัฒนาธุรกิจ ก่อสร้างโครงการ เดินเครื่องเชิงพาณิชย์ รื้อถอน / หยุดกิจการ
ผู้ให้บริการด้านเทคนิคและการลงทุน
- - -
ผู้ให้บริการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคมและสุขภาพ
- - -
ผู้ให้บริการคำปรึกษาด้านกฎหมายและเทคนิค
ผู้ให้บริการด้านประกันภัย
ผู้รับเหมา/EPC/ผู้ให้บริการด้านวิศวกรรม -
-
ผู้ให้บริการเดินเครื่องและบำรุงรักษาประจำปี - -
-
ผู้ผลิตและจัดหาเทคโนโลยี เครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ -
-
ผู้จัดหาเชื้อเพลิงและทรัพยากร - -
-
ผู้รับกำจัดของเสีย -
ผู้ให้บริการสนับสนุนการอำนวยความสะดวกในสถานที่ปฏิบัติงาน
(การรักษาความปลอดภัย/ความสะอาด)
- -
-

แนวทางการบริหารจัดการตามจรรยาบรรณคู่ค้า
บริษัทฯ มีความตระหนักดีว่าคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดแนวปฏิบัติของคู่ค้าเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมาย จรรยาบรรณของบริษัทฯ ตลอดจนมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง เช่น กรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization’s Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) เป็นต้น เพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่ดีที่จะกำหนดให้คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานยึดถือปฏิบัติและขยายผลไปยังคู่ค้าของตนต่อไป

หลักปฏิบัติของจรรยาบรรณคู่ค้า
1. จรรยาบรรณทางธุรกิจ 1.1 การปฏิบัติตามกฎหมาย
1.2 การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ
1.3 การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และการให้หรือรับสินบนทุกรูปแบบ
1.4 การให้ของขวัญ ของกำนัล และการเลี้ยงรับรอง
1.5 การต่อต้านการแข่งขันทางการค้า
1.6 การเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น
1.7 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
1.8 การปกป้องคุ้มครองข้อมูลความลับและข้อมูลส่วนบุคคล
2. การปฏิบัติต่อแรงงานและเคารพสิทธิมนุษยชน 2.1 การเคารพสิทธิมนุษยชน
2.2 เคารพสิทธิแรงงานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
2.3 ปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการใช้แรงงานเด็ก
2.4 การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน และแรงงานต่างด้าว
2.5 การปฏิบัติต่อแรงงานหญิง
2.6 การให้อิสระในการเลือกการจ้างงาน
2.7 ค่าจ้างและสิทธิประโยชน์
3. เงื่อนไขการทำงาน 3.1 ระยะเวลาการทำงาน
3.2 การเลิกจ้าง หรือบอกเลิกสัญญา
4. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4.1 การดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย
4.2 การจัดการความปลอดภัย
4.3 การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
5. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 5.1 การปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
5.2 การจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อม
5.3 การใช้ทรัพยากร การควบคุมมลสารทางอากาศ และการจัดการของเสีย
5.4 การจัดการวัตถุอันตรายและความปลอดภัยของสินค้า
6. ความรับผิดชอบต่อสังคม 6.1 การป้องกันผลกระทบต่อชุมชนและสังคม
6.2 การบริหารคู่ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานของคู่ค้า
7. การจัดการจรรยาบรรณสู่การปฏิบัติ 7.1 ระบบการบริหารจัดการ
7.2 กลไกการรับเรื่องร้องทุกข์และร้องเรียน
7.3 กระบวนการตรวจสอบและการแก้ไขปัญหา
7.4 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลเพิ่มเติม: จรรยาบรรณคู่ค้า

แนวทางบริหารความเสี่ยงคู่ค้า
เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจร่วมกันกับคู่ค้าต่างๆ บริษัทฯ จึงได้จัดทำจรรยาบรรณคู่ค้าเพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่ดีที่จะกำหนดให้คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานยึดถือปฏิบัติตาม นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ลักษณะของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานของคู่ค้า พร้อมกำหนดวิธีการป้องกัน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดผลกระทบขึ้นไว้ ดังนี้

ประเด็น ปัจจัยเสี่ยงของคู่ค้า วิธีการป้องกัน ผลการดำเนินงานปี 2565
การกำกับดูแล สถานะและความมั่นคง ทางการเงินของคู่ค้า
  • กำหนดหลักทรัพย์ค้ำประกัน/Bank Guarantee
  • ตรวจสอบงบการเงินย้อนหลัง 2 ปี
  • ประเมินคุณสมบัติด้านธรรมาภิบาล เพื่อตรวจสอบประวัติการทิ้งงาน/อยู่ในบัญชีดำ
  • คู่ค้ามีความสามารถในการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันตามข้อกำหนดของบริษัทฯ
  • คู่ค้าไม่มีประวัติการทิ้งงาน
การบริหารผู้รับเหมาช่วงของคู่ค้า
  • มีการประเมินความเสี่ยงของงาน
  • กำหนดเงื่อนไขด้าน ESG ของผู้รับเหมาช่วงในสัญญาของคู่ค้าหลัก
  • ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย
คู่ค้าที่เป็นผู้รับเหมาช่วง จำนวน 4 ราย และปฏิบัติตามข้อกำหนดของบริษัทฯ ทั้งหมด
แนวปฏิบัติดำเนินงานอย่างเป็นธรรม การฮั้วราคา และความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติคู่ค้า
  • ตรวจสอบประวัติจากบริษัทที่เคยจ้างงานมาก่อน
  • ตรวจสอบหนังสือรับรองทางการค้า
  • ขึ้นบัญชีคู่ค้าต้องห้าม กรณีพบความผิดปกติ
ไม่มีกรณีการฮั้วราคา หรือบริษัทที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
การละทิ้งงาน/การผิดนัด ส่งมอบสินค้าและบริการ/ สินค้าหรือบริการไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
  • กำหนดบทปรับ
  • ยึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  • การยกเลิกสัญญา
  • การฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
  • ขึ้นบัญชีคู่ค้าต้องห้าม กรณีไม่เป็นไปตามที่กำหนด
ไม่มีคู่ค้าที่ละทิ้งงานหรือส่งมอบงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด/ส่งงานล่าช้า
คู่ค้าที่มีมูลค่างานมากกว่า 10 ล้านบาท ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญา
  • กำหนดหลักทรัพย์ค้ำประกัน
  • ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามสัญญาและการส่งมอบงาน
  • กำหนดเงื่อนไขการชำระเงินเป็นงวดตามความก้าวหน้าของงาน
  • ตรวจเยี่ยมกิจการคู่ค้า
ไม่มีคู่ค้าที่มีมูลค่างานมากกว่า 10 ล้านบาทที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา
สิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิมนุษยชน(การใช้แรงงานเด็ก/แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย/การเลือกปฏิบัติ/การปฏิบัติต่อกลุ่มเปราะบาง)
  • กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติคู่ค้า
  • เยี่ยมชมกิจการคู่ค้า
  • กำหนดให้แจ้งข้อมูลแรงงานที่จะเข้าทำงาน
  • กำหนดให้แสดงใบขึ้นทะเบียนกรณีเป็นแรงงานต่างด้าว
  • ขึ้นบัญชีคู่ค้าต้องห้าม กรณีพบการละเมิด
ไม่มีการร้องเรียนในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
แนวปฏิบัติด้านแรงงาน การจ้างงาน/การจ่ายผลตอบแทน/เงื่อนไขการทำงาน
  • กำหนดเป็นหลักเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติคู่ค้า
  • ตรวจสอบประวัติจากบริษัทที่เคยจ้างงานมาก่อน
  • เยี่ยมชมกิจการคู่ค้า
  • ขึ้นบัญชีคู่ค้าต้องห้าม กรณีพบความผิดปกติ
ไม่มีการร้องเรียนในประเด็นด้านการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทน และเงื่อนไขการทำงาน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน
  • กำหนดให้มีการปฐมนิเทศ และประเมินความเสี่ยงของงานทุกครั้ง
  • กำหนดและจัดให้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับแรงงานในสัญญาจ้าง
  • กำหนดให้คู่ค้าประกันความเสี่ยงแก่แรงงานที่ทำงานความเสี่ยงสูง
  • คู่ค้ามีการประเมินความเสี่ยงตามที่กำหนด
  • เกิดอุบัติเหตุกับผู้รับเหมาช่วงจนถึงขั้นสูญเสียชีวิต ซึ่งได้ดำเนินการเยียวยาและสอบสวนหาสาเหตุ พร้อมกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ
สิ่งแวดล้อม การดูแลสิ่งแวดล้อมและ การจัดการของเสียของคู่ค้า
  • กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการประเมินคุณสมบัติคู่ค้า
  • กำหนดเป็นเงื่อนไขในสัญญาจ้างและตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด
  • เยี่ยมชมกิจการคู่ค้า
กำหนดเงื่อนไขการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในสัญญาการจ้าง สำหรับคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมทุกราย และมีคู่ค้าที่ได้รับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมหรือปฏิบัติตาม ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001/EIA) จำนวน 12 ราย
ผู้บริโภค การส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ/การบริโภคอย่างยั่งยืน
  • กำหนดเป็นเงื่อนไขในสัญญาจ้างและตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด
  • เยี่ยมชมกิจการคู่ค้า
ไม่มีคู่ค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานของบริษัทฯ
การป้องกันข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้บริโภค
  • ตรวจสอบประวัติจากบริษัทที่เคยจ้างงานมาก่อน
  • ตรวจสอบหนังสือรับรองทางการค้า
  • กำหนดเป็นเงื่อนไขในสัญญาจ้างและตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด
  • กำหนดบทปรับ
  • การยกเลิกสัญญา
  • การฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
ไม่มีประเด็นการรั่วไหลของข้อมูลความลับของผู้บริโภค รวมไปถึงคู่ค้าของบริษัทฯ
การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน การดำเนินธุรกิจที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน
  • กำหนดเป็นหลักเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติคู่ค้า
  • กำหนดเป็นเงื่อนไขในสัญญาจ้างและตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด
  • เยี่ยมชมกิจการคู่ค้า
ไม่มีคู่ค้าที่ได้รับการร้องเรียนถึงการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

การคัดเลือกคู่ค้า
การสรรหาคู่ค้าที่บริษัทฯ จะทำการจัดซื้อ-จัดจ้างเพื่อซื้อสินค้าและบริการ จะพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าที่มีคุณสมบัติสอดคล้องและเป็นไปตามหลักปฏิบัติของจรรยาบรรณคู่ค้าที่บริษัทฯ ได้กำหนดไว้ พร้อมทั้งได้จัดทำเป็นหลักเกณฑ์ในการประเมินคุณสมบัติเพื่อใช้ในการคัดกรองและคัดเลือกคู่ค้าที่พึงประสงค์ไว้ ดังนี้

หลักเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติคู่ค้า
ด้านธรรมาภิบาล ความซื่อสัตย์/โปร่งใส/รับผิดชอบต่องาน
  • ไม่มีประวัติคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
  • ไม่มีประวัติการละทิ้งงาน
ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
  • ผู้บริหาร/กรรมการไม่มีตำแหน่งในบริษัทที่เสนอราคาแข่งขัน
  • ไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้บริหาร/พนักงานของบริษัทฯ
ด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ได้รับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมหรือปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14000/EIA)
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย/ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม และกระบวนการจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านสังคม แรงงานและการดูแลชุมชน/สังคม
  • ไม่มีการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานผิดกฎหมาย
  • เคารพสิทธิมนุษยชนของลูกจ้าง แรงงาน/ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
  • การดำเนินธุรกิจที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง

ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง
บริษัทฯ ได้กำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อ-จัดจ้างจากผู้ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ พร้อมกำหนดอำนาจในการอนุมัติจัดซื้อ-จัดจ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีแนวทางที่ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้

วิธีตกลงราคา วิธีสอบราคา วิธีประกวดราคา วิธีพิเศษ
มูลค่างาน ≤ 1 แสนบาท มูลค่างาน ≤ 5 ล้านบาท มูลค่างาน > 5 ล้านบาท
  • กรณีเร่งด่วน
  • สินค้าและบริการที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง/เป็นงานหรือบริการที่ต้องอาศัยความชำนาญพิเศษ
  • มูลค่างาน > 1 แสนบาท
ผู้มีอำนาจอนุมัติ: ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป ผู้มีอำนาจอนุมัติ: ระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป ผู้มีอำนาจอนุมัติ: กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้มีอำนาจอนุมัติ: กรรมการผู้จัดการใหญ่

การประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้า
การประเมินผลการดำเนินงานของคู่ค้า หน่วยงานจัดซื้อและเจ้าของงานเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการภายหลังจากที่คู่ค้าได้มีการส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว โดยประเมินทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณงาน การส่งมอบงาน และวิธีปฏิบัติงานของคู่ค้าหรือผู้รับเหมาว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อกำหนด และมีทิศทางเดียวกันกับจรรยาบรรณคู่ค้าของบริษัทฯ หรือไม่ ซึ่งคู่ค้าที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะนำมาขึ้นทะเบียนคู่ค้าของบริษัทฯ เพื่อใช้ในการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้างในครั้งต่อไป สำหรับคู่ค้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์บริษัทฯ จะให้ข้อเสนอแนะต่อคู่ค้าเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข โดยปี 2565 ที่ผ่านมามีคู่ค้าจำนวน 3 ราย ที่มีผลงานต้องปรับปรุงแก้ไข ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อคู่ค้าเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่คู่ค้าไม่ยอมรับต่อข้อเสนอแนะจะทำการบันทึกในทะเบียนคู่ค้าต้องห้ามของบริษัทฯ

การบริหารความร่วมมือในระยะยาว
ในปี 2565 บริษัทฯ ได้จัดทำ จรรยาบรรณคู่ค้าขึ้น เพื่อเป็นการยกระดับแนวทางการบริหารจัดการค่คู้าให้มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะเป็นแนวทางที่คู่ค้าทุกรายของบริษัทฯ พึงนำไปยึดถือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและขยายผลไปสู่คู่ค้าในลำดับขั้นต่อไป อันจะเป็นผลตลอดห่วงโซ่ของสินค้าและบริการที่บริษัทฯ ใช้ประโยชน์ เป็นสินค้าและบริการที่มีความเหมาะสม สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป