การติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์

กลุ่มบริษัทฯ ได้แก่ บริษัทฯ โรงไฟฟ้าราชบุรี โรงไฟฟ้าราช โคเจนเนอเรชั่น โรงไฟฟ้านวนคร และในปี 2565 โรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) ที่บริษัทฯ มีอำนาจบริหารจัดการ ได้ติดตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายใต้ข้อกำหนดการคำนวณและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และปรับใช้ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนี้เป็นปีฐาน เนื่องจากข้อมูลครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) ด้วย ทั้งนี้ ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ปี 2565 ที่ได้ยื่นขอการรับรองจาก อบก. ในปี 2566 และได้รับการรับรองแล้ว ดังนี้

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (tCO2e) จากการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (CFO)
โรงไฟฟ้า ทางตรง (ขอบเขตที่ 1)
  • การใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซล
  • การใช้เชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ
  • การใช้หินปูนในระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  • การรั่วไหลของก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และสารทำความเย็น
ทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2)
  • การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • การใช้กระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง
ทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขตที่ 3)
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งต้นน้ำ
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งปลายน้ำ
ปี (ปีฐาน) 2563 2564 2565* (ปีฐาน) 2563 2564 2565* 2563 2564 2565*
ราชบุรี 7,128,375
(2558)
4,997,704 4,950,948 6,302,398 27,702
(2558)
18,837 28,131 22,270 - 2,413,616 2,729,674
ราชโคเจนฯ - 313,927 300,854 307,544 - 25 1,069 149 91,804 88,628 88,316
นวนคร - - 515,185 485,947 - - 50 31 - 159,912 153,777
สหโคเจน (ชลบุรี) - - - 525,399 - - - 16 - - 139,785
อาคาร ราช กรุ๊ป 73
(2561)
664 43 58 1,110
(2561)
888 813 846 - 36 46
การรับรองปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยกลไก T-VER
ภาพรวมผลการดำเนินงานโครงการ T-VER
ลำดับที่ขึ้นทะเบียน โครงการ ประเภทโครงการ สถานะ ปีที่คิดเครดิต ปริมาณคาร์บอนเครดิต
(tCO2e)
แผนการ ขอรับรอง เครดิตในครั้งถัดไป
ขึ้นทะเบียน รับรองเครดิต คาดการณ์ ตลอด โครงการ ที่ได้รับ การรับรอง แล้ว
105
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างเป็นหลอด LED โดยบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด
เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (EE)
7 ปี
5,397 3,064
(4 ปี)
ปี 2567
131 โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนผิวน้ำ โดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด พลังงานทดแทน (RE)
7 ปี
12,418 1,513
(1 ปี)
ปี 2567
185
โครงการปลูกป่าอย่างยั่งยืนโรงไฟฟ้าราชบุรี โดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด
ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว (FOR)
20 ปี
1,140 390
(3 ปี)
ปี 2570
รวม 18,955 4,967
การขอรับรองคาร์บอนเครดิตโครงการปลูกป่าอย่างยั่งยืนขนาด 48 ไร่ ในโรงไฟฟ้าราชบุรี

โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ประเภทป่าไม้และพื้นที่สีเขียวเป็นอีกหนึ่งโครงการที่กลุ่มบริษัทฯ โดยโรงไฟฟ้าราชบุรีเป็นผู้ดำเนินการ นอกเหนือจากโครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและพลังงานทดแทน ซึ่งในปี 2565 โรงไฟฟ้าราชบุรีได้ติดตามประเมินผลโครงการปลูกป่าอย่างยั่งยืนขนาด 48 ไร่ ในโรงไฟฟ้าราชบุรีครั้งที่ 1 ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562 ในลำดับโครงการที่ 185 กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

ผลการติดตามประเมินผลโครงการ พบว่า การกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่โครงการที่ปลูกต้นสักและต้นมะฮอกกานีใบใหญ่ ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2562 - 23 กันยายน 2565 (รวม 3 ปี 23 วัน) มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีฐาน 390 tCO2e คิดเป็นปริมาณที่เพิ่มเฉลี่ย 130 tCO2e ต่อปี ซึ่งมากกว่าค่าที่คาดการณ์ไว้ในการขอขึ้นทะเบียนโครงการที่ประมาณ 57 tCO2e ต่อปี หรือคิดเป็น 2.3 เท่า เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทั้งไม้สักและมะฮอกกานีใบใหญ่ รวมทั้งมีกิจกรรมการดูแลและจัดการอย่างถูกต้อง ได้แก่ การกำจัดวัชพืช การลิดกิ่ง และการจัดการความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งการดำเนินโครงการนี้เป็นไปเพื่อรองรับการขับเคลื่อนระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme: ETS) ของประเทศในอนาคต

การกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
(tCO2e)
(1) ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนทั้งหมดของพื้นที่โครงการจากการดำเนิน โครงการ ระหว่างปี 2562 ถึง 2565 1,409.83
(2) ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนทั้งหมดของพื้นที่โครงการในกรณีฐาน ปี พ.ศ. 2562 1,019.38
ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนที่ได้จากโครงการ = (1) – (2) 390.45

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

โรงไฟฟ้ากลุ่มบริษัทฯ รวม 7 แห่ง และอาคารสำนักงานใหญ่ ดำเนินกิจกรรมเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้าได้รวม 22 กิจกรรม โดยสามารถลดอัตราการใช้ความร้อนของเชื้อเพลิงได้รวม 23,620 ล้านบีทียู และพลังงานไฟฟ้าได้รวม 5,775 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เทียบเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้รวม 6,347 tCO2e และคิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลงได้ราว 2.1 ล้านบาท

โรงไฟฟ้า / สำนักงาน เป้าหมายการลดใช้พลังงาน จำนวนกิจกรรม / โครงการ ลดการใช้พลังงานความร้อน (ล้านบีทียู /ปี) ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า (กิโลวัตต์- ชั่วโมง/ปี) ลดค่าใช้จ่าย (บาท/ปี) เงินลงทุน (บาท) ลดการปล่อย GHG (tCO2e)
โรงไฟฟ้าราชบุรี ไฟฟ้า 3,257,000 kWh 4 - 3,210,687 9,634,395 128,000 1,605
โรงผลิตไฟฟ้านวนคร ความร้อน 11,659 MMBTU 3 2,793 - 1,448,270 - 409
โรงไฟฟ้าเบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น ไฟฟ้า 156,363 kWh 5 1,565 169,989 824,123 - 314
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ราช โคเจนเนอเรชั่น ไฟฟ้า 725,810 kWh 3 - 974,484 3,897,936 1,077,440 487
กลุ่มโรงไฟฟ้าสหโคเจน (ชลบุรี) พลังงาน 26,336,936 MJ 5 19,261 1,153,927 3,817,335 396,574 3,399
อาคารสำนักงาน RATCH Group ไฟฟ้า 19,523 kWh 2 - 265,954 180,959 543,610 133
การลดก๊าซเรือนกระจกด้วยพลังงานทดแทน

ปี 2565 บริษัทฯ มีกำลังการผลิตพลังงานทดแทนตามสัดส่วนการถือหุ้นที่เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์รวม 1,551.2 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 15.8 ของกำลังการผลิตรวม 9,787 เมกะวัตต์ สำหรับปริมาณพลังงานไฟฟ้าสุทธิที่ผลิตจำหน่ายจากแหล่งพลังงานทดแทนรวม 3,480,497 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากปี 2564 และคิดเป็นร้อยละ 12 ของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้รวมในปี 2565 และสามารถคำนวณเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 2,574,709 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

แหล่งพลังงานทดแทน ปริมาณพลังงานไฟฟ้าสุทธิที่จำหน่าย
(เมกะวัตต์-ชั่วโมง)
ปริมาณที่เพิ่มขึ้น (เมกะวัตต์-ชั่วโมง) จากปี 2564 เพิ่มขึ้น ร้อยละ
ทั้งหมด ตามสัดส่วนการถือหุ้น ทั้งหมด ตามสัดส่วนการถือหุ้น
1. พลังงานแสงอาทิตย์ 183,147 131,255 1,261 2,501 1.9
2. พลังงานลม 2,217,480 1,727,537 56,549 85,859 5.2
3. พลังงานน้ำ 5,005,134 1,527,682 171,347 298,091 24.2
4. พลังงานชีวมวล 198,953 94,023 127,936 65,616 231
หมายเหตุ : ไม่รวมกำลังการผลิตจากการถือหุ้นใน EDL-Gen, บริษัท เชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายนอกองค์กร

โครงการพลังงานชุมชนระยะที่ 3 (ปี 2563-2565) ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

ก้าวสู่ปีที่ 3 ของโครงการพลังงานชุมชนตำบลยางหัก บริษัทฯ ได้ติดตามประเมินผลการลดใช้เชื้อเพลิงในระบบสูบน้ำที่เปลี่ยนจากเครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันเบนซิน เป็นระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์จากที่บริษัทฯ ได้สนับสนุนให้กับครัวเรือนนำร่อง 6 ครัวเรือน และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 8 เครื่อง ให้ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรร่วมกัน 100 ครัวเรือน รวมทั้งการติดตั้งที่ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของตำบลยางหัก จำนวน 2 แห่ง เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น พบว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการในปีนี้ รวม 40.8 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคิดเป็น ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ ราว 330,777 บาท โดยครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มีทั้งหมด 500 ครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 15.53 ของจำนวนครัวเรือนของตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

การประเมินผลกระทบของกิจกรรม
กิจกรรม มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (3,400 วัตต์) ให้ครัวเรือนนำร่อง 6 ครัวเรือน
  • อุปกรณ์ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ 6 ชุด และแผง Solar Cell ขนาด 340 วัตต์ 60 แผง (ติดตั้งครัวเรือนละ 10 แผง)
  • อุปกรณ์ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์อินเวอร์เตอร์ พร้อมตู้ควบคุม
ครัวเรือนนำร่อง 6 ครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 210,870 บาท/ปี ลด CO2 ได้ประมาณ 26 tCO2e/ปี
  • เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 600 วัตต์ จำนวน 8 เครื่อง ที่สนับสนุนแก่ชุมชน
100 ครัวเรือน (การเกษตร 98 ครัวเรือน/ อุปโภคบริโภค 17 ครัวเรือน) ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 49,617 บาท/ปี ลด CO2 ได้ประมาณ 6.12 tCO2e/ปี
  • ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่สนับสนุนแก่ศูนย์เรียนรู้ 2 แห่ง
ศูนย์เรียนรู้ 2 แห่ง ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 70,290 บาท/ปี ลด CO2 ได้ประมาณ 8.67 tCO2e/ปี
* คำนวณจากระเบียบวิธีของ อบก. - ปริมาณการเผาไหม้น้ำมันเบนซินในเครื่องยนต์ไม่เคลื่อนที่จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณลิตรละ 2.1896 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2e)
โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS: Low Emission Subport Scheme)

ในปี 2565 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้ให้การรับรองผลการประเมินการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวม 11.527 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ให้กับโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Subport Scheme: LESS) ของบริษัทฯ ที่สนับสนุนชุมชนในกิจกรรมประเภทการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้เอง 2 โครงการ ได้แก่

โครงการ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้
(tCO2e)
โครงการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ ชุมชนหย่อมบ้านหัวฮะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 4.859
โครงการพลังงานชุมชน ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี 6.668
รวม 11.527
การปลูกป่าเพื่อสร้างแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต

บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ด้วยการปลูกป่า เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยดำเนินการร่วมกับกรมป่าไม้บนพื้นที่ป่าบก 500 ไร่ และร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบนพื้นที่ป่าชายเลนที่ได้รับจัดสรร 113.47 ไร่ ซึ่งทั้งสองกิจกรรมดำเนินการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีทั้งหมด และมีเป้าหมายในการนำทั้งสองกิจกรรมขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิต ของโครงการตลอดอายุ 20 ปี เพื่อรวมพื้นที่เป้าหมายด้านการกักเก็บคาร์บอนจากพื้นที่ป่าที่จะดำเนินการให้ได้ประมาณ 50,100 ไร่

ความก้าวหน้าการดำเนินงานในปี 2565

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดำเนินงาน “การจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนที่อยู่ร่วมกับป่าชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างสมดุลและยั่งยืน ด้วยการนำพื้นที่ป่าชุมชนเข้าร่วมและพัฒนาเป็นโครงการ T-VER อันจะทำให้ชุมชนมีกลไกที่เข้มแข็งในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม เกิดองค์ความรู้ในการประเมินและติดตามผลการเจริญเติบโตของป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างโอกาสการจ้างงานให้แก่ชุมชน ให้เติบโตและยั่งยืนไปพร้อมกัน โดยในปีนี้ บริษัทฯ ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานพื้นที่ป่าชุมชนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นพื้นที่ 11,000 ไร่ ซึ่งจะได้ศึกษาและจัดทำรายงานข้อเสนอโครงการ (PDD) เพื่อขอขึ้นทะเบียนกับ อบก. ภายในปี 2570

กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแสดงเจตนารมณ์และยืนยันความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการอนุรักษ์ป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เพื่อสนับสนุนแนวทางและเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ ด้วยการเพิ่มพื้นที่ป่าสำหรับกักเก็บคาร์บอนและเสริมคาร์บอนเครดิต
  • เพื่อส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่า รวมทั้งการประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน และความหลากหลายทางชีวภาพของป่า
เป้าหมาย
  • ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน กำหนดเป้าหมายและจัดทำแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวของบริษัทฯ
  • เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ (Deforestation and Biodiversity Commitment)
  • รองรับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการป้องกันภัยจากอุทกภัยและภัยแล้ง ความมั่นคงทางอาหาร
  • เพิ่มประสิทธิผลในการอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ชุมชน การปลูกฟื้นฟูหรือเสริมความสมบูรณ์ให้แก่ป่า
ประโยชน์ทางตรง
  • การเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกโดยการปลูกป่า
  • การเพิ่มและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางชีวภาพ
ผลประโยชน์ร่วม (Co-Benefits)
  • การมีส่วนร่วมของชุมชนกับโครงการ โดยการร่วมศึกษาและเก็บข้อมูลในพื้นที่ป่าของตนเอง รวมทั้งยังมีการจ้างงานเพื่อปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ในพื้นที่โครงการด้วย
  • การเติมเต็มความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ และพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดทำข้อมูลและประเมินคาร์บอนในต้นไม้ได้ด้วยตนเอง
การส่งเสริมการดูแลรักษาป่าชุมชนเพื่อเป็นแหล่งดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมป่าชุมชนทั่วประเทศผ่านโครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 15 ปี บริษัทฯ สามารถส่งเสริมชุมชนให้ดูแลป่าชุมชนอย่างเข้มแข็ง จนเกิดเป็นผลลัพธ์ทั้งในด้านการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก การกักเก็บน้ำในดิน และคุณค่าต่อระบบนิเวศ ดังนี้

การเปิดเผยข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
ช่องทางการเปิดเผยข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์
การจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้สนใจทั่วไป บริษัทฯ ได้รับความเชื่อมั่น (Assurance Statement) ต่อรายงานความยั่งยืนประจำปี 2565 และตัวชี้วัดสำคัญในมิติด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมตามกรอบการรายงาน GRI Standards 2021
การประเมินความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้สนใจทั่วไป บริษัทฯ เป็น 1 ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน (THSI : Thailand Sustainability Investment) ในกลุ่ม 2 ตามมูลค่าหลักทรัพย์ 30,000 - 100,000 ล้านบาท ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
การเข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืนของ S&P ESG Indices นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมตอบแบบประเมินของ S&P ESG Indices ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมีคะแนนการประเมินรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 5
การเข้าร่วมตอบแบบสอบถาม Carbon Disclosure Project ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานด้าน Climate Change และ Water Security ปี 2565 กับ CDP (Carbon Disclosure Project) โดยเปิดเผยข้อมูลหลักในด้านการประเมินความเสี่ยงผลกระทบ การกำหนดเป้าหมายในเรื่องการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้น้ำ

บริษัทฯ ได้รับรางวัลเกียรติคุณ “Sustainability Disclosure Award” ประจำปี 2565 จากสถาบันไทยพัฒน์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ในการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของรายงานความยั่งยืนปี 2564 ที่เป็นไปตามเกณฑ์อ้างอิงจาก Ceres-ACCA ในด้านความสมบูรณ์ (Completeness) ด้านความเชื่อถือได้ (Credibility) และด้านการสื่อสารและนำเสนอ (Communication) ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ